Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการป้องกันและมาตรการการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จในเฟสบุ๊ก

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย พาณิชย์ สดสี
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการป้องกันและมาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จในเฟซบุ๊ก ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายพาณิชย์ สดสี หลักสูตรวปอ. รุ่นที่ 60 การศึกษาเรื่อง “แนวทางการป้องกันและมาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวเท็จใน เฟซบุ๊ก” การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หรือแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จากประชาชนผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อยู่ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเป็นประจ าทุกวัน จ านวน 10 คน กลุ่มผู้ดูแลแฟนเพจที่มีผู้ติดตามไม่ ต่ ากว่า 1 ล้านคน จ านวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคม ด้านกฎหมาย ด้านธุรกิจออนไลน์และ เจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผลจากการศึกษา แบ่งเป็น 3 ส่วน พบว่า 1. ปัจจัย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงความเห็นและเผยแพร่ข่าวเท็จของประชาชนผู้ใช้เฟซบุ๊กผู้ใช้เฟซบุ๊ก มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ติดตามข่าวสารหรือความรู้ต่าง ๆ เป็นช่องทางหนึ่งของ การรับรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสาร ทันต่อเหตุการณ์ ท าให้สามารถแสดงความคิดเห็นและส่งต่อได้อย่าง รวดเร็ว จนบางครั้งขาดการไตร่ตรองในสิ่งที่น าเสนอ โดยมีปัจจัยด้านผู้เผยแพร่ข้อมูล เนื้อหาข่าวสาร ที่น่าเชื่อถือเป็นปัจจัยที่ส าคัญ 2. รูปแบบและวงจรชีวิตของข่าวเท็จในเฟซบุ๊กในสังคมไทย วงจร ข่าวเท็จเริ่มจากกระบวนการสร้างข่าวเท็จที่มีลักษณะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเผยแพร่ผ่าน สังคมออนไลน์ไป จะมีผู้เข้าชมสร้างยอดไลก์และยอดแชร์ หากข่าวเท็จนั้นมียอดให้ความสนใจระดับ น้อย ข่าวนั้นจะหายไปในที่สุด แต่หากว่าข่าวเท็จนั้นมีความนิยมในระดับมาก จะเข้าสู่ขั้นตอนการ ถูกตรวจสอบผ่านความคิดเห็นของสังคม จากผู้รับสาร ผู้ดูแลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าว ในการถูก ตรวจสอบหากมีผู้แจ้งเตือนผ่านความคิดเห็นของสังคม ว่ามีลักษณะเป็นข่าวเท็จ ข่าวนั้นอาจจะหายไป ในทันที และหากผู้มีเสียหายจากการเผยแพร่ข่าวเท็จนั้น จะต้องเข้าสู่การด าเนินคดีตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระท าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์3. แนวทางการป้องกันและมาตรการการควบคุมข่าวเท็จ พบว่า ทุกฝ่ายที่มีความเกี่ยวข้องควรร่วมมือกัน โดยก าหนดทิศทางการปฏิบัติ มีจัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อก ากับและดูแลการใช้สื่อออนไลน์ จริยธรรมส่วนบุคคลของผู้รับสารรวมถึงผู้ส่งสารต้องมีจริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นส าคัญ และรูปธรรมของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

abstract:

Abstract Title Approaches for the Prevention and Measures to Control the Dissemination of False News in Facebook Subject Social - Psychology Researcher Mr. Phanich Sodsee, Course NDC Class 60 The research of “Approaches for the Prevention and Measures to Control the Dissemination of False News in Facebook” using both qualitative and quantitative methodologies or mixed method. The data was collected from the questionnaires surveyed on the Facebook users residing in the Bangkok and metropolitan areas and the interview on 3 target groups; 10 Facebook users who regularly use Facebook, 3 admins Fan page with more than 1 million followers, experts in social psychology, law, online business, and the official of Ministry of Digital Economy and Society. The results are divided into 3 parts revealing that 1. The factors affecting the behaviors in commenting and disseminating the false news of Facebook users are that the Facebook users have the objectives in communicating with their friends, updating the news or knowledge, monitoring the news to keep up with the situations. This enable them to comment and share quickly without consideration sometimes. The important factors are the disseminators and reliable information. 2. The pattern and life cycle of the false news starts from the process of false news generation having the features suitable for the target groups. When it is disseminated via social network, there will be the viewers to create the total like and share. If such false news has less interest, that news will eventually disappear. However, if such news is popular, it will enter the process of inspection through the social comments from the viewers and the admins related to the news. In the inspection, if there are someone notifying about the false news, such news will disappear instantly. Besides, if there are someone being destroyed from the false news, it will enter the litigation follow the Computer Act. 3. The approaches of prevention and measures to control the false news, it is found that all relevant parties should collaborate altogether, setting the directions of practices, establishing the independent organizations to supervise the use of online media, individual ethics of the recipients. Moreover, the senders must also have ethics in the mass media profession significantly and the concrete of the Act on the Offense in relation with the Computer.