เรื่อง: การพัฒนาข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหาร
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนางานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหาร
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลอากาศตรี พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
เอกสารวิจัยเรื่อง การพัฒนางานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหาร จัดท าขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของงานข่าวกรองที่สนับสนุนมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ทางไซเบอร์ ตลอดจนการด าเนินงานด้านการข่าวกรองไซเบอร์ของกองทัพไทย เพื่อวิเคราะห์หน้าที่และ
ขีดความสามารถที่จ าเป็นของงานข่าวกรองทางไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหาร พร้อมน าเสนอ
ตัวแบบของงานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหารที่สอดรับกับยุทธศาสตร์และนโยบายระดับชาติ
โดยก าหนดขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหาร
ตามยุทธศาสตร์และนโยบายระดับชาติโดยเฉพาะการสัมภาษณ์กลุ่มประชากรที่เป็นผู้บริหารและ
ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์และด้านการข่าวกรองของกองทัพไทย ใช้ระยะเวลาในการวิจัยรวมทั้งสิ้น ๕ เดือน
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ๒๕๖๑
การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิจากบทความ
ต าราวิชาการงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารและ
ผู้เชี่ยวชาญน ามาวิเคราะห์ตามแนวทางวิพากษ์วิธีผลการวิจัยพบว่างานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของ
การข่าวทหารมีหลักการเหมือนกันกับงานข่าวกรองในมิติอื่น ๆ โดยใช้รูปแบบและวงรอบข่าวกรอง
เดียวกันและการด าเนินการต้องมีเอกภาพโดยอาศัยการบูรณาการความร่วมมือ ส่วนหน้าที่และ
ขีดความสามารถที่จ าเป็นของข่าวกรองไซเบอร์ คือ การระบุถึงภัยคุกคามและหนทางปฏิบัติของฝ่ายตรงข้าม
การจัดท าฐานข้อมูลทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์การเตรียมข่าวกรองของสภาพแวดล้อมทางไซเบอร์
และการจัดท าเป้าหมายทางไซเบอร์สนับสนุนมาตรการตอบโต้เชิงรุก ทั้งนี้ผู้วิจัยได้น าเสนอตัวแบบ
การเตรียมข่าวกรองของสภาพแวดล้อมทางไซเบอร์ (Intelligence Preparation of the Cyber
Environment: IPCE) ของนาย Rob Dartnall เป็นตัวแบบของงานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของ
การข่าวทหารที่เหมาะสมกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนางานข่าวกรองไซเบอร์ในบริบทของการข่าวทหาร
คือการพัฒนางานข่าวกรองไซเบอร์เป็นเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ความส าคัญโดยหน่วยงานด้านการข่าว
ควรมีบทบาทน าในการปฏิบัติและกองทัพไทยควรมีการปรับโครงสร้างหน่วยข่าวให้สามารถรองรับ
การปฏิบัติการดังกล่าว โดยพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานข่าวกรองไซเบอร์ในระดับยุทธการ
และยุทธวิธี ให้มีทักษะทั้งด้านการข่าวกรองและการปฏิบัติการไซเบอร์ควบคู่กันและควรมีการผนึกก าลัง
ระหว่างหน่วยข่าวกรองไซเบอร์ภายในกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานภายนอกรวมทั้งมิตรประเทศ
โดยก าหนดให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลบนมาตรฐานเดียวกันในทุกภาคส่วนให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่เกิดสถานการณ์วิกฤตทางไซเบอร์ได้
abstract:
ข
ABSTRACT
Title Developmentof Cyber Intelligenceinthe Aspectof MilitaryIntelligence
Field Military
Name Air Vice Marshal Pongsawat Jantasarn Course NDC Class 60
Theobjectivesof this research weretostudy theroleof intelligenceinsupporting
cyber security measuresand the practiceof cyber intelligenceof theRoyalThai Armed Forces,
to analyze roles and necessary capabilities of the cyber intelligence in the aspect of
military intelligence, and to present a model of cyber intelligence in the aspect of
military intelligence that is in accordance with national strategies and policies.
The research was framed with the cyber intelligence in the aspect of military intelligence
according to the national strategies and policies. The process of interviewing
executive officers and cyber and intelligence experts of the Royal Thai Armed Forces
was five months, from January to May 2018.
The research conducted the qualitative approach, using secondary data, i.e.,
articles from textbooks, research papers and related documents; and primary data,
i.e., interviews of the executive officers and experts. The data was analyzed with
the critical approach. The research found that cyber intelligence in the aspect of
military intelligence had the same principles with intelligence in other aspects: using
the same pattern and intelligence cycle and requiring integrity in practice. Such
practice needs integration in cooperation and necessary capabilities of cyber intelligence.
The necessary capabilities were identifying threats and practice, building cyber security
database, preparing cyber environment, and cyber targeting to support proactive measures.
This research presented Rob Dartnell’s IntelligencePreparationof the Cyber Environment (IPCE).
TheIPCE is the cyber intelligence model inthe aspectof military that is inaccordance with
the cyber security of Thailand.
The research suggested that the executive officers should focus on
cyber intelligence. The intelligence units should play an important role in
implementation and the Royal Thai Armed Forces should improve the structure of
the intelligence units and improve the cyber intelligence officers in the operational and
strategic levels. Theofficers should be skillful inintelligence and cyber practice. Furthermore,
there should be collaboration among the cyber intelligence units of the Ministry of
Defence, other units, and other countries. This could be done by linking database to
every unit in order to exchange intelligence and assist each other in case of
cyber emergency situation.