เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการศึกษาภาษาไทยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ดร. ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาการศึกษาภาษาไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย ดร. ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาการศึกษา
ภาษาไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
การศึกษาภาษาไทยในพื้นที่ดังกล่าว โดยเป็นการศึกษาจากร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติ
ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจากการสัมภาษณ์
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ านวน ๙๔ คน โดยใช้ระเบียบวิธี
วิจัยเชิงคุณภาพแล้วสรุปผลการวิจัยแบบพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของปัญหาการศึกษาภาษาไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นั้นเกิดจากหลักสูตรการศึกษาและเนื้อหาแบบเรียนภาษาไทยที่ไม่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและ
วัฒนธรรมในพื้นที่ การขาดแคลนครูที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และการที่ผู้บริหารสถานศึกษา
นักเรียนและผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักถึงความส าคัญของการเรียนภาษาไทย ส าหรับข้อเสนอแนะเพื่อ
เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการศึกษาภาษาไทยในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนาครู
ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนมีทักษะการสอนที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและอยู่บน
พื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ ศาสนา วิถีชีวิต ภาษา และวัฒนธรรมที่เป็น
อัตลักษณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้การส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน
ภาษาไทยให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ และการสื่อสารกับประชาชน
ในพื้นที่ให้เข้าใจและตระหนักถึงความส าคัญของการศึกษาภาษาไทย ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะในเชิง
ปฏิบัติการ
ส าหรับข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการ
ปรับปรุงแบบเรียนให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม บริบททางสังคม และวิถีชีวิตของ
ชาวมุสลิม และสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนแบบพหุภาษา แต่อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไข
และพัฒนาการศึกษาภาษาไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จ าเป็นต้องยึดหลักการสร้าง
สมานฉันท์และต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนในพื้นที่ โดยน้อมน ายุทธศาสตร์พระราชทาน
“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง อันจะ
น าไปสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน
abstract:
Abstract
Title The Development of Thai language learning in Southern Bordered
Provinces of Thailand
Field Social – Phylochology
Name Piyachat Wanchalerm, Ph.D. Course NDC Class 60
The objectives of this research are to study and analyze the root causes of
the problem in learning Thai language in Southern Bordered Provinces of Thailand and
to propose the possible solutions to the problem and the development plan for
learning Thai language in those aforesaid bordered provinces. This research concealed
the studies of National trategy, National Economic and Social Development plan,
National Education Plan, Educational Strategic Plan for Southern Bordered Provinces,
and related researches in addition to interviews with 94 personnel related to the
education institutions in those provinces. Qualitative method was used in this research
before summarizing the results in description method.
The findings of this research revealed the root causes of the problem in
learning Thai language in Southern Bordered Provinces. First, the curriculum and
content of Thai language subject do not align with the existing social context and
cultures of people such provinces. Second, there is a shortage of knowledgeable and
skilled teachers in Thai language. Third, school administrators, students and their
guardians do not see the importance of learning Thai language. The suggestions are
proposed herewith to provide the practical directions to resolve the challenges and to
develop the plan for Thai language study in the area. Specifically, there is a need to
develop teachers’ skills and knowledges including teaching ability that makes parallel
to existing cultures and social context base on the understanding of differences in race,
religion, lifestyle, language and traditions. There is also a need to innovate learning and
teaching tools. Lastly, it is very important to communicate with people in the provinces
how essential learning Thai language is.
Regarding the suggestions from the policy facet, there is also a need to
develop the curriculum and improve the content to align with social and culture
context, Islamic lifestyle, and their existing curriculums. However, any amendment and
development plan must be on the principle of the conformity and creating strengths for
the people living in the provinces via conveying the Royal Strategies of “Understand,
Accessibility, Development” as the path of pragmatism, leading to harmony and unity
that bring a sustainable peace.