เรื่อง: แนวทางการพัฒนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี ปริญญา จันทริก
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบิน
จากภายนอก
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลอากาศตรี ปริญญา จันทริก หลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๐
รายงานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่
ควบคุมการบินจากภายนอก มีวัตถุประสงค์คือ ๑. เพื่อศึกษาพัฒนาการและการบังคับใช้กฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ๒. เพื่อก าหนดแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้อากาศยานซึ่ง
ไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก
ประชากรท่ีใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากเหล่าทัพ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติ
กลุ่มผู้ท าธุรกิจในแวดวงอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ ผู้ถือใบอนุญาตการเป็นผู้ควบคุมอากาศยานซึ่งไม่มี
นักบินฯ ผู้ครอบครองและสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผ่านการคัดเลือก
แบบเฉพาะเจาะจงโดยคณะกรรมาธิการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่าเป็นผู้ที่มีหน้าที่
รับผิดชอบและมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาเป็นผู้ให้ข้อมูล
ผลการวิจัยสรุปว่าภาครัฐควรก าหนดแนวทางที่เหมาะสม ในการพัฒนาและส่งเสริม
การใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกโดยการเร่งรัดตั้ง
หน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ที่มีโครงสร้างองค์กรที่มีความเหมาะสมมีอ านาจตัดสินใจได้ในตนเอง
ส่งเสริมการใช้งานภาคเอกชนโดยการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการใช้ศักยภาพของรัฐในการสนับสนุน
เอกชนและเปิดโอกาสให้เอกชนมีการรวมตัวกันในลักษณะกลุ่มหรือสมาคมเพื่อการก าหนดข้อบังคับ
ภายในให้กับสมาชิกของกลุ่มกันเอง ในด้านการก าหนดมาตรฐาน ควรส่งเสริมให้มีแหล่งสืบค้นทาง
สารสนเทศเพื่อติดตามเอกสาร ประกาศที่ส าคัญขององค์กรการบินสากลและควรรก าหนดเงื่อนไขของ
การปฏิบัติการบิน การครอบครองอากาศยานไร้คนขับให้ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ ด้านการพัฒนา
บุคลากร ภาครัฐควรจะมีการสนับสนุนการศึกษาของบุคลากรในประเทศเพื่อการพัฒนาอากาศยานไร้
คนขับอย่างเต็มที่และจริงจัง เช่นการสนับสนุนทุนการวิจัย การสนับสนุนการเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
โดยสนับสนุนค่าเล่าเรียนและเครื่องมือประกอบการเรียนและส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยใช้งาน
เช่นหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
ก
abstract:
Abstract
Title Developmental approach UAVs with external flight control
Field Strategy
Name Air Vice Marshal Prinya Chantrick Course NDC Class 60
The purposes of the Developmental approach UAVs with external flight
control research are 1. To study the progress of UAVs with external flight control and study
both domestic and international legal issues regarding the law enforcement of UAVs with
external flight control 2. To study Thailand’s readiness, problems, and obstructions of
introducing UAVs with external flight control for define the appropriate measures for UAVs
with external flight control development.
The sampling population for this study is drawn from specialists from each
services, Defence Technology Institute, National Security Council, UAVs with external flight
control industrialists, UAV controller license holders, education sector and UAVs with
external flight control operators. All of the sampling population are specifically chosen by
the Transport Commission, National Legislative Assembly, and certified as experienced
informants with authority.
The result of the study suggests that government define strategy, master
plan, and appropriate measures in order to develop and encourage the use of UAVs with
external flight control for country development. An authoritative body should be
commissioned in order to support private sector and promote the use of UAVs with external
flight control. The government assets should also be implemented to encourage the private
sector to form an internal legislative body.A source for information distribution regarding
International Civil Aviation Organization legislation should also be established. As for human
resource development, a government support for UAVs with external flight control such as
research financial support, a relevant curriculum, and ministerial cooperation especially
Ministry of Defence, Ministry of Agriculture and Cooperatives, and Ministry of Natural
Resources and Environment is highly regarded.