Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนากำลังพลด้านไซเบอร์เพื่อพร้อมรับภัยคุกคามระดับชาติ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ปรัชญา เฉลิมวัฒน์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาก าลังพลด้านไซเบอร์เพื่อพร้อมรับภัยคุกคาม ระดับชาติ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลตรีปรัชญา เฉลิมวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 “มิติไซเบอร์” หรือ “ไซเบอร์สเปซ” (Cyber Space) กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่ได้รับการ ยอมรับในสังคมโลกอย่างรวดเร็วและเป็นสิ่งที่ยากที่จะหลีกเลี่ยงการเกี่ยวข้องด้วย ข้อมูลจ านวน มหาศาลเดินทางไปในมิติไซเบอร์ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการในเรื่อง ความสะดวกสบาย รวดเร็ว การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การลดความซับซ้อนของการท างาน รวมถึงการใช้บริการข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามที่ทุกชาติให้ความส าคัญในยุคปัจจุบันคือ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตเนื่องจากมิจฉาชีพต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป นอกจากนั้นชาติที่เป็นมหาอ านาจต่างก็ยอมรับในเรื่องการยกระดับของ ภัยคุกคามขึ้นเป็นระดับ “สงครามไซเบอร์” ทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับปฏิบัติการ ความ พยายามเสริมสร้างก าลังพลด้านไซเบอร์เพื่อเตรียมรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ทั้งในระดับกองทัพ และระดับความมั่นคงของประเทศท าให้ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนก าลังพลด้านไซเบอร์อย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่จะสามารถปฏิบัติการไซเบอร์ได้อย่างจริงจังนั้นต้องมีพื้นฐานเชิงสห วิทยาการของคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความลึกซึ้งมากกว่าการสร้าง ก าลังพลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมีความขาดแคลนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานวิจัยนี้น าเสนอแนว ทางการพัฒนาก าลังพลด้านไซเบอร์เพื่อการเตรียมความพร้อมต่อภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับชาติ โดย ค านึงถึงการบูรณาการแนวความคิดจากประเด็นปัญหาในด้านต่าง ทั้งปัจจัยด้านเวลาการพัฒนาและ ด้านการเสริมสร้างก าลังพลไซเบอร์ในรูปแบบกองก าลังผสมพลเรือน ต ารวจ ทหาร และการพิจารณา ใช้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมก าลังพลส ารองในระดับชาติ ผลการวิจัยพบว่าแนวทางในการพัฒนาก าลังพลด้านไซเบอร์ที่ได้น าเสนอในเอกสารวิจัย นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการก าหนดกรอบเวลา การวางแผน การด าเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ของบุคลากรด้านไซเบอร์ให้กับประเทศชาติ ซึ่งหากน าไปใช้ปฏิบัติได้อย่างจริงจังจะท าให้สามารถลด ปัญหาการขาดแคลนก าลังพลไซเบอร์ และท าให้เกิดความ “ยั่งยืน” ในการเสริมสร้างก าลังพลไซเบอร์ ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นก าลังพลส ารองไซเบอร์ยังเป็นส่วนส าคัญในการพัฒนา อุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศในอนาคต

abstract:

ABSTRACT Title A Guideline for Cybersecurity Task Force Development for Readiness to Handle National-level Cyber Threats Field Science and Technology Name Major General Prachya Chalermwat Course NDC Class 60 The word “Cyber Space” has been well accepted and used in general in our living days. Tremendous of data are transferred rapidly in cyber space via internet across the globe to share data, exchange information, reduce complexity of work, and access to various data services. It is very obvious that cyber threats has been raised to to be one of national-level threats. This includes cyber crimes, cyber attacks, cyber espionage as well as cyber intelligence. Cyber war is another important aspect to be aware of. Many nations have developed cyber task forces in their own ways despite the difficulty in cybersecurity development. This is due to issues in subject complexity like multi-skill level in networking, operating system, programming, not to mention lengthy time of practice. This research propose guideline for cybersecurity task forces development for readiness to handle national￾level cyber threats by exploring and reviewing existing national cybersecurity strategies, interviewing in-dept experts and specialist, collecting data from online questionares. The proposed guideline and conceptual model will help develop learning cycle for sustainable national cybersecurity task force.