เรื่อง: ความร่วมมือทางการเงินภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่ง แถบหนึ่งเส้นทาง(Belt and Road Initiative) กับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการสร้างความร่วมมือทางการเงินภายใต้แนวคิดริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
(Belt and Road Initiative) กับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
ข้อริเริ่มริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) เป็นนโยบายด้าน
ต่างประเทศที่ส าคัญของรัฐบาลประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายส าหรับประเทศ
ต่าง ๆ ตามแนวเส้นทาง Belt and Road และแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในแนวเส้นทางดังกล่าวโดยตรง
แนวคิดดังกล่าวย่อมมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทายเชิงนโยบาย
การศึกษาประโยชน์และผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยหากเข้าร่วมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
ภายใต้แนวคิด BRI จะเป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างผลประโยชน์และความ
มั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศต่อไป
งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาเปรียบเทียบ BRI กับกรอบ
ความร่วมมือพหุภาคีอื่น ๆ 2. วิเคราะห์ผลประโยชน์และผลกระทบของ BRI ที่มีต่อภูมิภาคและประเทศไทย
และ 3. เสนอแนะนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบต่อประเทศไทยจากการเข้าร่วม BRI โดยเน้นด้าน
ความร่วมมือทางการเงิน (Financial Cooperation) โดยผู้วิจัยได้ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเก็บข้อมูล
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่ปฏิบัติงานด้านเศรษฐกิจจ านวน 1๒ คน แล้วจึงน าข้อมูลมาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า BRI มีความแตกต่างหลายประการจากกรอบความร่วมมือพหุภาคีอื่น ๆ โดย
BRI เน้นความเชื่อมโยงเป็นส าคัญ เพื่อท าให้สาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจไป
ยังทั่วทวีปเอเชีย รวมไปถึงแอฟริกาและยุโรป ด้านผลประโยชน์จาก BRI พบว่าประเทศไทยและประเทศใน
ภูมิภาคสามารถใช้ประโยชน์จาก BRI ได้หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่ในจุด
ยุทธศาสตร์ส าคัญของอาเซียนและประเทศในกลุ่ม CLMV และการมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor) ที่จะเชื่อมโยงกับแนวเส้นทาง BRI ส าหรับผลกระทบซึ่งถือเป็นความเสี่ยงนั้น
ประเทศไทยควรปรับตัวต่อการไหลเข้าของเงินทุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อเข้ามาท าธุรกิจในประเทศ
ไทย ซึ่งท าให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ธุรกิจของไทยอาจได้รับผลประทบ งานวิจัยได้เสนอแนะให้ประเทศไทย
เตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทย การเตรียมความพร้อมเปิดเสรีภาคการเงินให้
มากขึ้นอย่างมียุทธศาสตร์ การเตรียมกฎเกณฑ์การก ากับดูแลการบริการทางการเงินที่เหมาะสม และพัฒนา
บุคลากรของไทยให้เรียนรู้และเข้าใจยุทธศาสตร์ของจีนที่ใช้กับประเทศต่าง ๆ อย่างถ่องแท้และเท่าทัน เพื่อให้
การเข้าร่วม BRI ของประเทศไทยเกิดประโยชน์สูงสุด
abstract:
ABSTRACT
Title Financial Cooperation under the Belt and Road Initiative: Implications
on Thailand’s Economic Security)
Field Economics
Name Boonchai Charassangsomboon Course NDC Class 60
The Belt and Road Initiative (BRI) is one of the most crucial foreign policies of the
Government of China under President Xi Jinping’s leadership. It is considered as both
opportunities and challenges for countries along the BRI routes. Thailand, although not
geographically located in the BRI routes, is expected to be inevitably affected by the Initiative.
This issue is, therefore, challenging in terms of policy implementation. The study on the impacts
of the BRI will be useful for policy design to strike a balance between benefits and risks on the
country’s economic and financial security.
This study was conducted on a qualitative-based research and its objectives is
threefold (1) To compare and contrast the BRI with other multilateral cooperation frameworks
(2) To analyze the benefits and impacts of the BRI over regional and Thailand’s economy and
(3) To provide policy recommendation to cope with the impacts from Thailand’s participation
in the BRI. Content of this study is confined to financial coopeation under the BRI. Analysis of
the result of this study is based on literature reviews and in-depth interviews with 12
respondents working in economic and financial areas.
The study revealed that there are many differences between the BRI and other
multilateral cooperation frameworks in several aspects. The BRI put an emphasis on
connectivity. This reflects the expansion of China’s influence in Asian, African and European
region. It is found that the BRI provides Thailand and regional countries with opportunities in
many aspects. This is especially the case for Thailand at which is strategically located in ASEAN
and CLMV regions as well as the attemptof Thailand to intergrate the Eastern Economic Corridor
(EEC) into a part of the BRI routes. Negative impacts which are considered major risks to the host
countries’ perspective include the influx of Chinese businesses to intensify the competitions
against local businesses. Thailand should enhance local businesses’ capability and
competitiveness and be prepared for the increased financial liberalization in a more strategic
manner. Also, proper financial regulation should be put in place. Thai people should have
profound understanding on how China implements its policy strategies in their partner countries
in order to reap economic benefits of the BRI for the country.