เรื่อง: ผลกระทบของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP21) ต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นพดล ปนสุภา
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลกระทบของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP21) ต่อแผนบูรณา
การพลังงานระยะยาวของไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายนพดล ปิ่นสุภา หลักสูตรวปอ. รุ่นที่ 60
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการประชุมรัฐภาคีกรอบ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 (COP21) ต่อนโยบายและ
แผนพลังงานในระยะยาวของประเทศไทย โดยมีขอบเขตของการวิจัยด้านเนื้อหาที่จะศึกษาเฉพาะ
ผลกระทบต่อภาคพลังงานเท่านั้น ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้จะใช้วิธีด าเนินการวิจัยแบบคุณภาพ และการ
วิเคราะห์เอกสารทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่
เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ถูกปล่อยจากภาคพลังงานทั้งจากการผลิต
พลังงานและการใช้พลังงาน อีกทั้งความต้องการใช้พลังงานของประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2557 กระทรวงพลังงานได้จัดท าแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศ
(Thailand Integrated Energy Blueprint : TIEB) เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทด้านพลังงานที่จะน าไป
ขับเคลื่อนนโยบายพลังงานเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน เสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่อมาในปี 2558 ไทยได้เข้าร่วมในการประชุม
COP21 และได้แสดงเจตจ านงที่จะร่วมกับนานาชาติในการรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้น
ไม่เกิน 2องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงเป็นความ
ท้าทายของไทยที่จะบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานพลังงาน โดยประเทศ
ยังคงมีความมั่นคงทางพลังงาน และมีการบริหารจัดการเกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมตาม
เป้าหมาย อีกทั้งยังจะต้องด าเนินการให้เป็นไปตามกรอบเป้าหมายข้อตกลงปารีสในการประชุม
COP 21 จากการศึกษาผู้วิจัยขอเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐประกาศนโยบาย/มาตรการการ
ด าเนินงานเกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งมีการพัฒนา
ระบบฐานข้อมูลพลังงานและกระบวนการในการตรวจวัด รายงานผลข้อมูลทางด้านพลังงาน พร้อม
ทั้งมีการก าหนดสัดส่วนพลังงานที่เหมาะสมของประเทศ โดยที่จะต้องค านึงถึงปัจจัยต่างๆที่
เกี่ยวข้อง เช่น ปัจจัยทางสังคม เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนอย่างแท้จริง
abstract:
ข
ABSTRACT
Title Effects from the COP21 to Thailand Integrated Energy Blueprint
(TIEB)
Field Science and Technology
Name Mr. Noppadol Pinsupa Course NDC Class 60
The objectives of this research are to explore only the effect of the climate change
and the COP21 to Thailand’s energy sector. The method used to analyses are quantitative research
method, reviewing literature on Thailand’s current energy situation and interviewing Thailand’s
energy and environment experts. The energy sector plays an important role as a major contributor
on Green House Gases (GHGs) emission and continue to grow. In 2014, Ministry of Energy
launched Thailand Integrated Energy Blueprint (TIEB) to be Thailand energy policy master plan
to drive the country towards energy security, economic prosperity and environmental
sustainability. In the following year (2015), Thailand enter into the COP21. Therefore, it is a
signification challenge for Thailand to balance between energy demand and supply, energy
security while reaching the social and economics target and also pursing the Thailand’s Paris
Agreement Target on COP21, which is “Thailand intends to reduce its greenhouse gas emissions
by 20 percent from the projected business-as-usual (BAU) level by 2030” In conclusion, to
effectively manage the TIEB to meet Thailand’s target on Paris agreement Thailand policy makers
should announce GHGs emission mitigation plan as a national agenda, develop national process
for measuring, reporting, and verifying (MRV) a GHG inventory and energy database and define
the country energy mix corresponding to sustainable growth for all.