Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาการจำกัดและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย นนทิวรรธน เปยมพงศสุข
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การจ ากัดและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายนนทิวรรธน์ เปี่ยมพงศ์สุข หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 ก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้ เชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาไหม้ในที่โล่งจากภาคการเกษตรและการย่อยสะลายสารอินทรีย์ เป็นสาเหตุให้โลก เกิดสภาวะเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภูมิภาคของโลก อุณภูมิของโลกสูงขึ้น เกิดพายุมากขึ้นรุนแรงขึ้น เกิดภัยพิบัติน้ าท่วมและภัยแล้ง น้ าแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์ทั้งคุณภาพชีวิต ชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อเสนอแนวทางการจ ากัดและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถ น าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบจ าลอง DPSIRFramework ส าหรับการสืบค้นและวิเคราะห์สภาพการณ์ด้านการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย วิเคราะห์ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาที่ส่งผลในเชิงบวก หรือลบเพื่อน าไปสู่การจัดท าแนวทางการจ ากัดและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสู่การปฏิบัติ ต่อไป จากผลการวิจัยพบว่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลใน ภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิต การก่อสร้างและภาคชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นใน ทุกภูมิภาคของโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยได้แสดงเจตจ านงก าหนดเป้าหมายการลดก๊าซ เรือนกระจกลงร้อยละ ๗-๒๐ ในภาคพลังงานและคมนาคมขนส่งจากข้อมูลฐานปริมาณการปลดปล่อยเมื่อ ปี พ.ศ ๒๕๔๘ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยให้มีการจัดท าเป้าหมายและ Roadmap การลดก๊าซเรือน กระจกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและการคมนาคมขนส่งลงร้อยละ ๗ ให้มีสัดส่วนการใช้ พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้เป็นร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศเพิ่มพื้นที่เก็บ กักก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ได้แก่ พื้นที่เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ชายฝั่งทะเลและ พื้นที่สีเขียวของชุมชนไม่น้อยกว่า ๑๐ ตารางเมตรต่อคน ก าจัดขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริม เกษตรอินทรีย์และลดการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่เกษตร โดยมีข้อเสนอแนะให้ผลักดันการลดและ จ ากัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นวาระแห่งชาติและให้หน่วยงานบรรจุไว้ในแผนของแต่ละ หน่วยงาน และพัฒนาเครื่องมือและกลไกในการขับเคลื่อนภาคีทุกภาคส่วนให้มีบทบาทการส่งเสริมการ เติบโตแบบปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ต่ าและให้หน่วยงานภาครัฐให้ความส าคัญในการสร้างช่องทางการ เผยแพร่องค์ความรู้และสร้างความเข้าใจการจ ากัดและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างทั่วถึง พร้อมได้น าเสนอแนวทางการก าจัดและลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะมูลฝอย กรณีศึกษาศูนย์ ก าจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เทศบาลต าบลแม่สาย อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีลักษณะการ ท างานเชื่อมโยงกัน ประกอบด้วย ๔ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑. การคัดแยกขยะมูลฝอย (Sorting line) ๒.การ หมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ (Aerobic composting) ๓. การฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลัก สุขาภิบาล (Sanitary landfill)และ ๔.การบ าบัดน้ าเสีย (Wastewater treatment)

abstract:

Abstract Title : The ways to limit and reduce greenhouse gases emission through the waste garbage management Field : Science and Technology Name : Mr.Nontivat Piumpongsuk Course NDC Class 60 Greenhouse gases (GHGs) arise from various human activities: principally the use of fossil fuel, agricultural open burning, and decomposition of organic matter. GHGs are responsible for greenhouse gas effect and climate change in every region on earth. As a consequence, average temperature is rising, more frequent and more intense storms occur, extreme flood and drought events are more frequent and severe, polar ice cap is melting rapidly, having an impact on human being in quality of life and deterioration on natural resources and environment. GHGs emission into atmosphere has a tendency to increase in the future. Objective of this research is to propose guidelines for limiting and reducing GHGs emission that is practical and efficient. This qualitative research is using DPSIR framework to examine the situation of GHGs emission of Thailand, to analyze the impact of climate change, and to study the negative and positive impacts on development. This research sets guidelines for limiting and reducing GHGs and transforms into practice further. The result of the research shows that GHGs emission especially from fossil fuel combustion in various sectors-transportation, industrial, production, construction, and community is likely to increase in every region of the world including Thailand. Thailand has ambitiously committed to reduce its GHGs emissions by 7-20% in energy and transport sector by B.E. 2563 (A.D. 2020) compared to baseline emission in B.E. 2548 (A.D. 2005). Thailand sets goals and roadmap for GHGs reduction in many ways such as reducing GHGs emission in energy and transport sector by 7%, utilizing renewable energy at least 25%, restoring Thailand’s forest cover to 40%, increasing carbon sinks biodiversity conservation area, coastal area, green space not less than 10 square meter per capita. In addition, increasing solid waste disposal efficiency, promoting organic farming, and limiting agricultural open burning also in line with roadmap to reduce GHGs. The result further recommends 1) to support and drive “reducing and limiting GHGs emission” issue into “National Agenda” and encourage government agencies to streamlining the issue into their plan. 2) To encourage government to develop tools and mechanisms for driving all parties to play a key role in supporting low carbon growth. 3) To assign government agencies to give priority to establishing means for disseminate knowledge and to create a thorough understanding of “reducing and limiting GHGs emission”In addition, the paper also presents the ways to destroy and reduce greenhouse gases emission through the waste garbage management of Center of complete destroying Garbage of the Mae-Sai municipality, Chiang-Rai province. They consist of 4 main parts; first is the sorting line of garbage; second is the aerobic composting; third is the sanitary landfill; and fourth is the wastewater treatment.