Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: มาตราการเชิงรุกในงานราชทัณฑ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีจุดเริ่มต้นงานราชฑัณฑ์ตำบลขยายผลสู่การบูรณาการติดตามช่วยเหลือผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ธวัชชัย ชัยวัฒน์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง มาตรการเชิงรุกในงานราชทัณฑ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีจุดเริ่มต้นงานราชทัณฑ์ต าบล ขยายผลสู่การบูรณาการติดตามช่วยเหลือผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของงานราชทัณฑ์ต าบลในประเทศไทยและมาตรการเชิงรุกในการติดตาม ช่วยเหลือผู้พ้นโทษ และเพื่อเปิดงานราชทัณฑ์ไปสู่มาตรฐานสากลด้วยกระบวนการบูรณาการงาน พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังระหว่างเรือนจ ากับสังคมให้เอื้อต่อการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมหลังพ้นโทษ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส าคัญที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จุดเริ่มต้นของงานราชทัณฑ์ต าบล มาจากนโยบาย “เปิดเรือนจ าสู่สังคม” ในปี พ.ศ.2549 เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์ราชทัณฑ์ยุคใหม่ ประกอบกับ แนวคิดเรื่องยุติธรรมชุมชนที่มองว่าอาชญากรรมเป็นปัญหา สังคมที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน ซึ่งหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมควรให้ความส าคัญกับ การป้องกันอาชญากรรมเป็นหลัก ท าให้กรมราชทัณฑ์ ประสานความร่วมมือในการเตรียมความพร้อม ก่อนปล่อยและการสงเคราะห์ผู้ต้องขังภายหลังพ้นโทษกับหน่วยงานภาคสังคมและท้องถิ่น จนพัฒนา เป็น “แผนบูรณาการภาคสังคม 9 องค์กรเพื่อช่วยเหลือผู้พ้นโทษและป้องกันการกระท าผิดซ้ า” ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)กับ 9 องค์กรเครือข่ายภาคสังคมในการช่วยเหลือผู้พ้นโทษ ส าหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ เห็นควรมีการจัดท าแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในภาคประชาสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อให้กรมราชทัณฑ์สามารถขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ควรมอบหมาย ให้ส านักงานยุติธรรมจังหวัด เข้ามามีบทบาทหลักในการช่วยเหลือผู้พ้นโทษในทุกจังหวัด ควรก าหนดให้ เรือนจ าด าเนินการ “งานราชทัณฑ์เชิงสมานฉันท์” ในรูปแบบผู้ต้องขังกับสังคม และระหว่างผู้ต้องขัง กับเหยื่อ เพื่อสร้างการยอมรับผู้ต้องขังและการให้โอกาสผู้พ้นโทษ ควรจะมีการประเมินระดับความ เสี่ยงในการกระท าผิดซ้ า โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ตลอดจนศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานท า (CARE) ควรเพิ่มเติมบทบาทในการติดตามผู้พ้นโทษ ผ่านกลไกของอาสาสมัครเพื่อประเมินผล

abstract:

Abstract Title : Proactive Measurement : Correctional Sub-district Project to Aftercare Model for Ex-Prisoners Field : Psychological Society Name : Mr. Thawatchai Chaiyawat Course NDC Class 60 This research is Qualitative Research. This is to study the background of the correctional sub-district in Thailand. This research also aims to set the proactive measurement in following up the released prisoners. This also includes opening the opportunities for the correctional missions in according with the international standards with the integration procedure for developing the prisoner rehabilitation between prisons and society. These objectives focus on prisoners to be able to return back to society. This research finds that the starting point of the correction sub- district came from the policy" Opening prisons to be back in society". It started in 2006. This policy created the identity of corrections in the new era. This policy consisted of the Restorative Justice. Moreover, the policy emphasizes on crimes which pose the social problems. These social problems affect the safety of people's live in society. According to crime problems, this leads relevant organizations in justice system to play roles on crime prevention. Specifically, the department of corrections has collaborated with social and local organizations in providing assistances to prisoner pre - released, and post released. This procedure can be improved to be the integration plan of the 9 organizations for prisoner reintegration and recidivism prevention. This collaboration has been started since 2014. Also, there was the Memorandum of Understanding (MOU) with 9 organizations with the network of the social sectors. The suggestions of the research show that there should have the strategy plans for the sustainable development of social-sector participations. This procedure focuses on the department of corrections to drive the organization with the clear directions continually. There also should assign the Office of Justice Province to play the major roles on providing the assistances for ex- prisoners in every province. Moreover, there should set the practice guideline for prisons in implementation of the restorative Justice with the pattern of prisoners and society, including prisoners and victims. This is to create the confidence the acceptance prisoners and provide the opportunities for ex-prisoners. In addition, there should have the risk assessment forrecidivism, particularly risky group by cooperation with the local administration organizations. This includes more supports the roles of the Center for Assistance to Reintegration and mployment in following up ex-prisoners through the voluntary mechanism in assessment.