เรื่อง: แนวทางการพัฒนการค้าข้าวหอมมะลิในตลาดโลก
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ธเนศพล ธนบุณยวัฒน์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาการค้าข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลก
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่60
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ แนวโน้ม ปัญหาอุปสรรคการค้า
ข้าวหอมมะลิไทยของตลาดโลก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการค้าข้าวหอมมะลิไทย
ในตลาดโลก และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการค้าข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลก ซึ่งเป็นการ
วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง จ านวน 12 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร
ผลการวิจัย พบว่า ทั่วโลกมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 995 ล้านไร่ ผลผลิต 472 ล้านตัน
ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้น าด้านการส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ข้าวหอมมะลิไทยเป็นมรดกภูมิปัญญา
ทางวัฒนธรรมของชาติซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดีที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวและมีศักยภาพสูงในการ
แข่งขันบนเวทีการค้าโลก แต่ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป
เวียดนามและกัมพูชาเบียดตลาดข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลก ความถดถอยของการส่งออกข้าวหอม
มะลิไทยจะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการค้าข้าวหอมมะลิไทยของตลาดโลก พบว่า ปัจจัยภายนอก
ที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งประกอบด้วย กลยุทธ์และนโยบายของประเทศ
คู่ค้า กลยุทธ์การพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมของประเทศคู่แข่ง และมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศ
คู่ค้า ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงลบ ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อการค้าข้าวหอมมะลิมากที่สุด คือ ปัจจัยด้าน
ผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย อัตลักษณ์และความโดดเด่นของข้าวหอมมะลิ การรักษาคุณภาพและ
มาตรฐานในการผลิต เป็นปัจจัยเชิงบวก และปัญหาการปลอมปนซึ่งท าให้ความหอมของข้าวลดลง
เป็นปัจจัยเชิงลบ นอกจากนี้ นโยบายและมาตรการของรัฐบาลเป็นทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบ ปัจจัย
ด้านเทคโนโลยี ในส่วนของ Big data และ Data center ที่เป็นจุดอ่อนของไทยเป็นปัจจัยเชิงลบ
และการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิในห่วงโซ่อุปทาน เป็นปัจจัยเชิงลบ
เพราะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความหอมของข้าวที่ลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม
แนวทางการพัฒนาการค้าข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลก พบว่า 1) ต้องบูรณาการทุก
ภาคส่วนในการรักษาเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิเพื่อสร้างความแตกต่างจากข้าวของคู่แข่ง 2) สร้าง
มูลค่าเพิ่มให้กับข้าวหอมมะลิไทยในลักษณะพิเศษอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้บริโภค 3) ให้ความส าคัญในเรื่องของกฎระเบียบ มาตรฐาน และความปลอดภัยอาหาร ซึ่งเป็น
ประเด็นที่ผู้บริโภคและประเทศคู่ค้าให้ความส าคัญ และเป็นปัจจัยขับเคลื่อน Trend ทั้งในด้านของ
การบริโภคและการพัฒนาสินค้า และ 4) รัฐบาลควรมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร
ทั้งในด้านการผลิต การดูแลรักษาข้าวทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการช่วยเหลือให้ชาวนา
ขายข้าวได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
abstract:
ABSTRACT
Title Guidelines to Enhance THAI HOM MALI RICE Trading in the
Global Market
Field Economics
Name ThaneadponThanaboonyawat Course NDC Class 60
The objectives of this research are1)to study the situation, trend, problems
and obstacles of the THAI HOMMALI RICE trading in the global market2) to analyze
the factors affecting the THAI HOMMALI RICE trading in the global market and 3) to
propose the guidelines to enhance THAI HOMMALI RICE trading in the global market.
This research is a qualitative research which studying secondary documents and
related research and in-depth interview twelve specificsamples were selected by
expertfrom public, private and farmer sectors.
The results show that THAI HOM MALI RICE is a heritage national culture
which is unique in quality and has high potential on global trade. At the present,
Vietnamand Cambodia tighten up on THAI HOMMALI RICE market. The recession of
THAI HOM MALI RICE exports affects the country’s economiccondition, especially
income and livelihood of the farmers in the northeastern region.
The most external factors affecting the THAI HOMMALI RICE trading is
political factors,contain with strategy and policy,development of aromatic rice
varietiesand trade barriers from competitors and trade partner, are negative factors.
The internal factors that affected the most is product factors contain with identity of
THAI HOM MALI RICE, quality and standards of product are positive factors but the
contamination is negative factor. Moreover the policy and measures of Thai
Government are both positive and negative factor.
The technology factor in the Big Data and Data Center is weak point and
negative factor. Furthermore, the knowledge transfers to preserve the aroma of THAI
HOM MALI RICE is negative too, because it cannot solve the problem of the
reduction of aromatic.
There are four suggestions for guidelines to enhance THAI HOM MALI RICE
trading in the global market. First, integrating all sectors to preserve the identity of
THAI HOMMALI RICE to differentiate from competitor’rice. Second, value adding to
THAI HOMMALI RICE according with customer need. Third, giving importance to food
safety, global standards in term of consumption and product development. And
fourth, government’s measurement to assist farmers in term of production
maintenance, both before and post harvest, moreover reasonable sell price.