Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการดำเนินนโยบายของไทยในการสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศผ่านข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง(The Belt and Road Initiatives)ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ทนงศักดิ์ รองทิม
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางด าเนินนโยบายของไทยในการสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศผ่านข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (The Belt and Road Initiative) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย พลตรี ทนงศักดิ์ รองทิม หลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๐ เอกสารวิจัยฯ ฉบับนี้จัดท าขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (The Belt and Road Initiative) ของจีนและผลกระทบที่มีต่อไทย เพื่อศึกษาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย และ เพื่อเสนอแนวทางด าเนินนโยบายของไทยในการสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศผ่าน ข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (The Belt and Road Initiative) ของจีนที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ในห้วงปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นเฉพาะข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง (The Belt and Road Initiative) ที่สามารถน ามาแสวงประโยชน์ในการด าเนินนโยบายของไทยด้าน อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ (๑) การเก็บรวบรวมข้อมูล ทุติยภูมิ ด้วยการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการ งานวิจัย บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (๒) การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งชาวไทยและชาวจีนที่เกี่ยวข้องในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ใน ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ก าหนดนโยบาย กลุ่มผู้ปฏิบัติภาครัฐและเอกชน และ กลุ่มนักวิชาการ ทั้งนี้ ผลการวิจัย สรุปได้ว่า นโยบาย The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีนได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับอาเซียนและ ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศศูนย์กลางของภูมิภาคควรแสวงประโยชน์จากนโยบาย BRI นี้ และการพัฒนา อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ปัจจุบันถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ที่สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการพัฒนานวัตกรรมของประเทศที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ การผลิตเพื่อลดการพึ่งพาการน าเข้า และการพัฒนาผลผลิตไปสู่การส่งออกในด้านอาวุธ ยุทโธปกรณ์ เชิงความ มั่นคงและเชิงพาณิชย์ (Dual Use Technology) นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังได้จัดท าข้อเสนอแนวทางการ ด าเนินนโยบายของไทยให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ด้วยการแสวงประโยชน์ จากนโยบาย BRI ของจีน ด้วยรูปแบบ (Model) การบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมที่เรียกว่า “โมเดล ต้นแบบของความส าเร็จ” ซึ่งมีองค์ประกอบ ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับการบริหารจัดการและ ประสานงาน และ ระดับปฏิบัติ ซึ่งแต่ละระดับประกอบด้วย หน่วยหรือคณะต่างๆ ที่สามารถขับเคลื่อนการ ด าเนินการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยให้มีความสอดประสานระหว่างองค์ประกอบ ๓ ระดับ และ ผู้เสนอความต้องการกับผู้ผลิต เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหมให้เกิดผลได้อย่าง เป็นรูปธรรม สามารถน าผลการวิจัยฯ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง

abstract:

1 ABSTRACT Title Thailand’s policy on building defence industry cooperation through the belt and road initiative of the people’s republic of China. Field Politics Name Maj.Gen. Tanongsak Rongtim Course NDC Class 60 This research paper aims to study the Belt and Road Initiative of the People’s Republic of China (PRC) and its impact on Thailand. It also aims to study the defence industry of Thailand, and to propose ways to implement Thailand's policies to build defence industry cooperation through PRC's appropriate Belt and Road Initiative. Using qualitative research method, the researcher studied the current relationship between Thailand and the PRC by focusing on the Belt and Road Initiative (BRI), which can be exploited in the Thai defence industry. Data collection is divided into two parts; (1) Secondary data collection: the study and collection of information from academic papers, research papers, articles, publications, and electronic media; (2) Primary data collection by in-depth interviews with three groups of qualified professionals and experts from both Thai and Chinese involved in international relations and defence industry comprising policy maker group, public and private sector practitioner group, and academic group. The results of this study conclude that the PRC’s BRI policy has a direct impact on ASEAN, and Thailand, as the center of the region, should seek benefits from this policy. Furthermore, the defence industry development of Thailand, which is currently the main policy of the government and the Ministry of Defence, is consistent with the policy of Thailand 4.0 and the innovation development of the country in term of production in order to reduce dependence on imported military equipments while developing dual-used products and technologies for export. In addition, the results of the research have provided a guideline for the policy implementation for Thailand to benefit the development of defence industry by exploiting the PRC’s BRI policy utilizing a tangible management model called the "prototype model of success". The guideline consists of 3 levels namely, policy level, management and coordination level, and operations level, whereas each level involves agencies, or working groups, that can drive Thai defence industries by using guideline of all 3 levels and the proponents of the requirement to the manufacturer. Finally, I do hope that the results of the research can be implemented to further develop the defence industry of the Ministry of Defence to truly achieve tangible results.