เรื่อง: การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคการเกษตรและป่าไม้
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ดำรง ศรีพระราม
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การปรับตัวภาคการเกษตรและป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย ดร. ด ารงค์ ศรีพระราม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศและภาคการเกษตร เช่น ความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคง
รายได้ เกิดการสูญหายหรือสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์บางชนิด เป็นต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคการเกษตรและป่าไม้ค้นหาและสรุป
แนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคการเกษตรและป่าไม้เพื่อข้อเสนอแนะ
การบูรณาการแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาสู่การปฏิบัติโดยขอบเขตการ
วิจัยจะเป็นการค้นหาข้อเท็จจริงจากข้อมูลทุติยภูมิที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสรุปแนวทางการปรับตัวต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคเกษตรและป่าไม้โดยสังเคราะห์จากเอกสารทางวิชาการทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ และศึกษาแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(National Adaptation Plan: NAP) ของประเทศ และวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการน าแผน
ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเสนอแนะการบูรณาการแผนสู่การปฏิบัติ
ผลจากการศึกษา พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถบ่งชี้ได้ด้วยตัวแปร
ที่ส าคัญทางภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ความแปรปรวนของฝน ความรุนแรงของพายุ และ
ระดับน้ าทะเลเฉลี่ยทั้งโลกที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 (±0.5) มิลลิเมตรต่อปี ส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาค
การเกษตรและการเติบโตของพืช รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องได้
เสนอแนะทางการปรับตัวที่ส าคัญ เช่น การปรับปรุงพันธุ์การใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสม การพัฒนา
เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร การพัฒนาและ
ปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่า การอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ป่า การพื้นฟูและจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า การส่งเสริม
และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ป่าไม้เป็นต้น ประเทศไทยมีแผน
แม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 และ แผนการปรับตัวต่อการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan หรือ NAP) เป็นกรอบการ
ด าเนินงานของประเทศ ทั้งนี้การบูรณาการแผนการปรับตัวฯ ทั้งในระดับประเทศ ภาค อนุภาคหรือ
กลุ่มจังหวัด จังหวัด และท้องถิ่นต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับ NAP และต้องผนวกเข้าในแผนปฏิบัติ
ราชการของหน่วยงานส่วนกลาง ตลอดจนแผนพัฒนาจังหวัดของหน่วยงานส่วนภูมิภาค และข
แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องสอดประสานทั้งในแนวดิ่งแบบ
บนสู่ล่าง (Top Down) และแบบล่างสู่บน (Bottom Up) และการประสานในแนวราบระดับพื้นที่
ประเทศ ภาค อนุภาคหรือกลุ่มจังหวัด จังหวัด และท้องถิ่นต่าง ๆ ร่วมกับภาคเอกชน ภาคประชา
สังคม และประชาชนโดยทั่วไป
abstract:
ค
Abstract
Title The Climate Change Adaptation in Agricultural and Forestry Sectors
Field Science and Technology
Name Dr. Damrong Sripraram Course NDC Class 60
Climate change affects both direct and indirect impacts on forestry and
agriculture sectors, such as, food security and income security and the extinction of
some plants and animals. This study aimed to found the impact; found and
summarized the adaptation strategies of climate change on agriculture and forestry
sectors to introduce the integration of the plan into action. The scope of the
research would be to find out the facts from the secondary dates. Studied on the
National Adaptation Plan (NAP) of Thailand. To analyzed the problems and obstacles
in implementing the plan into action.
Climate change can be identified by climatic variables such as rising
temperatures, variance of rain, the intensity of the storm and the average of global
sea level increased by 1.7 (± 0.5) millimeters per year. Climate change affects
agricultural productivity and plant growth as well as ecosystem dynamics. The
adaptation recommendations such as genetic improvement, use of appropriate plant
varieties, agricultural biotechnology development, infrastructure improvement for
agriculture, forest genetic conservation, wildlife restoration and management,
promotion and development the ecotourism in forest areas. The Master Plan for
Climate Change 2015-2039 and the National Adaptation Plan (NAP) are frameworks
for climate change management of Thailand. The integration of adaptation plans at
national, sectorial, particle or provincial must be integrated into NAP and the
government action plan with the private sector, civil society and the public.