เรื่อง: การพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ดนัย มู่สา
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ รองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ชาติ ระยะ ๒๐ ปี
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย นายดนัย มู่สา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการขับเคลื่อนการเตรียมพร้อม
แห่งชาติ การประเมินสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบ แนวโน้มของภัยคุกคามระยะ ๒๐ ปี และจัดท า
ข้อเสนอแนะประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษารวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจาก
การค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร แผน นโยบาย ยุทธศาสตร์ เรื่องการเตรียมพร้อมแห่งชาติเป็น
การเฉพาะ และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงจากภาครัฐ
ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน แล้วน าข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ในสาระส าคัญทั้งหมดตาม
กรอบแนวคิดการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยให้ความส าคัญเรื่องการเตรียมพร้อมแห่งชาติมาอย่าง
ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ จนถึงปัจจุบันรวมแล้ว ๖ แผน มีการขับเคลื่อนผ่านกลไกระดับนโยบาย
คือ คณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติ มีการแบ่งมอบภารกิจการด าเนินงานที่ชัดเจน คือ ด้าน
สาธารณภัยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านภัยจากการสู้รบโดยกรมการสรรพก าลัง
กลาโหม และด้านวิกฤตการณ์ความมั่นคงโดยส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ผลการประเมินสถานการณ์พบว่า ด้านสาธารณภัยมีความเสี่ยงและแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งใน
เชิงปริมาณและคุณภาพ ด้านภัยสู้รบมีแนวโน้มลดลงแต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง
ที่น าไปสู่ภัยสู้รบได้ และด้านวิกฤตการณ์ความมั่นคงมีแนวโน้มเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพิ่มขึ้น
เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ และการก่อการร้าย เป็นต้น
ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านการพัฒนายุทธศาสตร์ที่ควรออกแบบ
กระบวนการจัดท าที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในลักษณะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ มีการประเมิน
สถานการณ์ที่ครอบคลุมทันสมัย รอบด้าน โดยใช้งานการข่าวประกอบเพื่อความแม่นย า พัฒนา
ยุทธศาสตร์ให้ตอบสนองทั้งสถานการณ์วิกฤติเฉพาะหน้า ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ทั้ง ๖ ยุทธศาสตร์
และในระยะยาวให้ตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติโดยตรง มีการก าหนดแผนในการพัฒนาและ
จัดท าหลักสูตรการเตรียมพร้อมแห่งชาติในสถาบันการศึกษาของรัฐทุกระดับ
abstract:
ABSTRACT
Title The Development of National Preparedness Strategy to Support the
Implementation of the 20-Year National Strategy
Field Strategy
Name Mr. Danai Moosa Course NDC Class 60
The objectives of the research were to study on progress and the
implementation of national preparedness, situation assessment, impact, 20-year
threat trends and to provide strategic recommendations. This study was a qualitative
research. In accordance with scope of research, information from secondary sources
based on systematic review of documents, plans, and strategies and primary sources
based on in-depth interview with relevant stakeholders were collected to conduct
content analysis.
The findings revealed that Thai Government has continually placed
priority on national preparedness. Six national preparedness plans have been
delivered since 1974 and implemented through policy level mechanism as well as
assigned missions for responsible government agencies.
The findings of situation assessment indicated that risk trends of disaster
have increased while conflicts from war have declined but risk factors leading to war
still remained, crisis from non-traditional threats such as cyber attack and terrorism
have rose.
The research provided recommendations for strategic development,
namely, it required participatory approach in term of strategic partnership in policy
formulation process; holistic, comprehensive, and up-to-date situation assessment
along with the utilization of Intelligence for accuracy, development of strategy with
the aims to respond short term crisis, implement six strategies under the 20-Year
National Strategy and maintain long term national interests; formulation of a plan for
strategic development; arrangement of curriculum on national preparedness in
academic institutions at all level.