เรื่อง: การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตำรวจตรี ณฐพล แสวงกิจ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ของส านักงานตรวจคนเข้า
เมือง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย พลต ารวจตรี ณฐพล แสวงกิจ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่60
การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ของ
ส านักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ
การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว และวิเคราะห์ปัญหา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
แรงงานต่างด้าว พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ของส านักงานตรวจคน
เข้าเมือง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผู้วิจัยได้ศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแรงงาน
ต่างด้าว และศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว ของส านักงานตรวจคนเข้า
เมืองกับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วย
การศึกษาข้อมูลจากแนวคิด นโยบาย ยุทธศาสตร์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก
กับผู้ทรงคุณวุฒิจากส านักงานตรวจคนเข้าเมือง จ านวน 13 คน
ผลการศึกษา พบว่า ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ด าเนินการบริหารจัดการแรงงานต่าง
ด้าวตามกรอบแนวทางนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติโดยบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ การตรวจ
อนุญาต การควบคุมการพ านัก การผลักดันส่งกลับ และการสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังพบว่า การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวมีสภาพปัญหา อุปสรรคทั้งใน
ระดับนโยบายและระดับหน่วยงาน ส าหรับแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่
เหมาะสมนั้น ควรบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ
ผู้ประกอบการ และแรงงานต่างด้าว ส่วนส านักงานตรวจคนเข้าเมืองมีแนวทางในการพัฒนาการ
บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวด้านต่างๆ อาทิด้านบุคลากร, ด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน, ด้าน
การประชาสัมพันธ์, และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
ผลการศึกษาครั้งนี้น าไปสู่ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายได้ว่า รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้
หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในกระบวนการก าหนดนโยบายด้านแรงงานต่างด้าวมากขึ้น
ส่วนข้อเสนอในเชิงปฏิบัตินั้น ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองควรมีแนวทางในการบริหารจัดการแรงงาน
ต่างด้าวอย่างเป็นระบบ โดยค านึงถึงแนวทางการพัฒนาในหน่วยงานด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน ส าหรับ
ข้อเสนอในเชิงวิชาการ ควรขยายขอบเขตของการศึกษาไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
จัดการแรงงานต่างด้าว พร้อมกับขยายการศึกษาลงไปในระดับ หน่วยงาน ของส านักงานตรวจคนเข้า
เมือง เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของส านักงานตรวจคนเข้าเมืองต่อไป
abstract:
ABSTRACT
Title Systematic Administration of Alien Workers by the Immigration Bureau
for Economic Stability
Field Economics
Name Pol. Maj. Gen. Natapol Swangkij Course NDC Class 60
This research on systematic administration of alien workers by the
Immigration Bureau for economic stability aimed to examine systematic approaches
for alien worker administration, to analyze problems, factors influencing alien workers
administration and also to propose the guideline for alien workers administration by
the Immigration Bureau for economic stability. The researcher reviewed the policies
related to alien workers administration and investigated economic activities related to
alien workers by the Immigration Bureau, especially such involving 3 nationalities
including Myanmar, Laos and Cambodian. By applying qualitative method, the study
focused on the concept, policy, strategy and relevant researches together with indepth interview with 13 experts in the Immigration Bureau.
Findings from the study suggested that the Immigration Bureau has
implemented alien workers administration within the country’s policy and strategic
framework. Alien workers administration involves the procedures and processes
relating to verification and permission, residence control, repatriation and interception
of alien workers smuggling. However, those findings also showed that alien workers
administration has encountered certain problems and obstacles either at policy
making level or agency level. With respect to the approach for development of alien
workers administration, it is advisable to integrate cooperation from related parties
including government sector, state agencies, entrepreneurs and alien workers. The
Immigration Bureau should put in place the guideline for development of alien
workers administration including personnel, interagency cooperation, public relations,
and information technology etc.
This study has also led to the policy recommendations that the
government should allow related agencies to participate more in the process for
developing policies on alien workers. With respect to practical recommendations, the
Immigration Bureau should have systematic guideline for alien workers administration
taking into account comprehensive approaches for organization development. With
respect to academic recommendations, it is suggested that the scope of study should
extend to cover other agencies involving in alien workers administration including
sub-agency level of the Immigration Bureau for the benefit of alien workers
administration by the Immigration Bureau.