เรื่อง: การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี เชิดชัย อังศุสิงห์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระท าความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย พลตรี เชิดชัย อังศุสิงห์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
ในสภาวการณ์ของโลกปัจจุบัน การกระท าความผิดอาญาทั่วไปได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ที่เป็นการกระท าที่มีลักษณะชัดเจนมาเป็นภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่มีรูปแบบสลับซับซ้อนมากขึ้น
จึงได้มีการปรับปรุงกฎหมายความผิดเกี่ยวกับก่อการร้ายโดยการตราพระราชก าหนดแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.๒๕๔๖ ก าหนดความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย เช่น ความผิดฐานก่อ
การร้ายตามมาตรา ๑๓๕/๑ ความผิดฐานขู่เข็ญว่าจะกระท าการก่อการร้ายตามมาตรา ๑๓๕/๒ (๑)
ความผิดฐานสะสมก าลังพลตามมาตรา ๑๓๕/๒ (๒) ความผิดฐานสนับสนุนการก่อการร้ายตามมาตรา
๑๓๕/๓ และความผิดฐานเป็นสมาชิกคณะบุคคลที่มีการกระท าอันเป็นการก่อการร้ายตามมาตรา
๑๓๕/๔ ซึ่งพบว่า บทบัญญัติดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนบางประการ เช่น ความผิดฐานก่อการร้าย
ตาม มาตรา ๑๓๕/๑ มีการเน้นการกระท าความผิดที่มีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย
รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศให้กระท าหรือไม่กระท าการใดอันจะก่อให้เกิดความ
เสียหายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนโดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนเนื่องจาก
มีการน าลักษณะของการกระท าความผิดมาบัญญัติเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย โดยไม่ได้มี
การบัญญัติความผิดที่เน้นให้เห็นว่ากระท าเพราะมีมูลเหตุจูงใจเกี่ยวกับความเชื่อทางการเมืองหรือ
ศาสนา ท าให้ขอบเขตของการกระท าความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายกว้างขวางเกินไป และมีการ
บัญญัติองค์ประกอบความผิดที่มีความไม่ชัดเจนแน่นอนขัดต่อหลักประกันในกฎหมายอาญา
นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติสัดส่วนของโทษกับการกระท าที่ไม่เหมาะสมว่า จะต้องระวางโทษประหาร
ชีวิต จ าคุกตลอดชีวิต หรือจ าคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
โดยไม่ได้จ าแนกระดับของโทษตามสภาพหรือความร้ายแรงของการกระท า จึงเห็นควรให้มีการแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๕/๑ ถึง มาตรา ๑๓๕/๔ ก าหนดมูลเหตุจูงใจในความผิด
เกี่ยวกับการก่อการร้ายให้ชัดเจนว่า จะต้องเป็นการกระท าที่มีมูลเหตุจูงใจมาจากความเชื่อทาง
การเมือง หรือทางศาสนา หรือทางอุดมคติเท่านั้น และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
๑๓๕/๑ ก าหนดระดับโทษตามสภาพและความร้ายแรงของการกระท าความผิด
abstract:
Abstract
Titel : Topic Law Adaptation on the Offences Relating to Terrorism
Filed : Politics
Name: Major General Cherdchai Angsusingh Course NDC Class 60
In the current global situation, typical criminal offenses have changed
from the actual act character to terrorism threat which is more complication in
nature. Consequently, the laws regarding terrorism offense were needed to be
improved by enacting the Emergency Decree to amend the Criminal Code B.E. 2546
to specifically stipulate the terrorism offenses such as the Offense in Respect of
Terrorization as provided by Section 135/1, the Offense of Threatening to Conduct a
Terrorization Act as provided by Section 135/2 (1), the Offense of Collecting Forces or
Arms under Section 135/2 (2), the Offense of Supporting Terrorization under Section
135/3 and the Offense of Being a Member of a Body of Persons that Committed an
Act as Terrorization. However, the provisions were found to be incorrect, for instance,
Section 135/1 focuses on an offense that aims to threat or to enforce the Thai
Government, foreign government or international organization to do or not to do any
act that will cause severe damages or to make disorder by creating public terror,
such Section was made by transforming the act of offense to the element of crime,
without specifying the political or religious motivation of that offense, so that offense
scope on the terrorism is broadened too wide and such vague stipulation on the
elements of crime also opposes to the guarantee principle of the criminal law.
Moreover, the ratio between the penalty and the offense is not proportioned
whether that penalty will be execution, life imprisonment or three years to twenty
years imprisonment; such penalties are not classified based on the character or the
seriousness of the offense. Consequently, the Criminal Code Section 135/1 to
Section 135/4 are needed to be amended by clearly specifying that the motivation
of the terrorization offense must be based on politics, religion or idealism only and
Section 135/1 is also needed to be amended by classifying the level of penalties in
accordance with the character and the seriousness of the offense.