Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: รูปแบบที่เหมาะสมในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงทดแทน Refuse Derived Fuel (RDF)ของหน่วยงานในพื้นที่กองทัพอากาศดอนเมือง

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี ชนะยุทธ รัตนกาล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง รูปแบบที่เหมาะสมในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงขยะ Refuse Derived Fuel, RDF) ของหน่วยงานในพื้นที่กองทัพอากาศ ดอนเมือง ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลอากาศตรี ชนะยุทธ รัตนกาล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ ปัญหาการจัดการขยะชุมชนมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การจัดการขยะ อย่างถูกวิธีและเหมาะสม จึงเป็นเรื่องส าคัญและมีความจ าเป็น กองทัพอากาศโดยเฉพาะในพื้นที่ดอนเมือง มีปริมาณขยะในปี ๒๕๖๐ เฉลี่ย ๔๒ ตัน/เดือน ด าเนินการจัดเก็บขยะมูลฝอยโดยกรมช่างโยธาทหารอากาศ ร่วมกับส านักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร น าขยะมูลฝอยขนไปยังสถานีขนถ่ายมูลฝอยท่าแร้ง เพื่อก าจัด ต่อไป ซึ่งการจัดการขยะดังกล่าวก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยสะสมในภาพรวมของประเทศ ไม่สอดคล้อง กับนโยบายของรัฐบาลและส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมกับสังคมภายนอกโดยตรง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะ ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel, RDF) ของหน่วยงาน ในพื้นที่กองทัพอากาศดอนเมือง เพื่อด าเนินการตามนโยบายการจัดการขยะของรัฐบาล และลดปริมาณ ขยะโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมภายนอกกองทัพอากาศ เทคโนโลยีการจัดการขยะเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) สามารถผสมกระบวนการผลิตแต่ละ ขบวนการเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย กระบวนการทางกล (Mechanical Process) กระบวนการทางชีวภาพ (Biological Process) และกระบวนการทางความร้อน (Thermal Process) เพื่อผลิตเชื้อเพลิงขยะให้ได้ เกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ กระบวนการทางกลและชีวภาพ (Mechanical and Biological Treatment: MBT) สามารถจัดการกับปริมาณขยะได้มากกว่ากระบวนการอื่นๆ และยังสามารถจัดการปัญหากลิ่นเหม็นจาก ขยะได้เป็นอย่างดี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมในการแปรรูปขยะให้เป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ของหน่วยงานในพื้นที่กองทัพอากาศดอนเมือง คือกระบวนการทางกลและชีวภาพ (Mechanical and Biological Treatment: MBT)ซึ่งผลผลิตที่ได้จะเป็นเชื้อเพลิงขยะประเภท ๓ (RDF-3) มีขบวนการหลักดังนี้ ๑. ล าเลียงเพื่อคัดแยก (Belt Conveyors) โดยใช้คนในการคัดแยก (Hand Sourcing) ๒. การย่อยสับขยะ (Shedder Machine) ด าเนินการโดยเครื่องจักรย่อยขยะมูลฝอยให้มีขนาดเล็กลง ๓. การบ าบัดเชิงกล และชีวภาพให้เกิดการย่อยสลายทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศใช้เทคโนโลยีการกลับกองขยะ ด้วยด้วยสกรูในแนวตั้ง (Vertical Agitators) ๔. การคัดแยก โดยเครื่องคัดแยกแบบตะแกรงหมุน (Trommel Separator) ซึ่งอินทรียวัตถุขนาดเล็กที่ผ่านตะแกรงจะถูกน าไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน ๕. คัดแยกโลหะ (Magnetic Separator) และระบบคัดแยกโดยลม (Air Classifier) โดยเครื่องจักร แยกวัสดุที่มีส ่วนผสมของเหล็กและแยกวัสดุที่มีน้ าหนักเบาออก ซึ่งส่วนที ่เหลือคือ เชื้อเพลิงขยะ ประเภท RDF-3 โดยสามารถน าไปอัดก้อนเพื่อสะดวกต่อการจัดเก็บและขนส่งก็ได้ และสามารถน าไป ทดแทนเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมได้

abstract:

ข ABSTRACT Title The appropriate model of using Refuse Derived Fuel (RDF) process in Donmuang Air Force Base of Royal Thai Air Force. Field Science and Technology Name Air Vice Marshal Chanayuth Rattanakal Course NDC Class 60 Waste management in Royal Thai Air Force (RTAF) varies by location. Donmuang Air Force Base which is the main air force base of RTAF produced 42 tons/month of waste in 2017. The objective of this research were to 1) study the waste management in RTAF 2) study principles and concepts of transforming waste into fuel 3) present the appropriate model of transforming waste into fuel. The scope of this research is Refuse Derived Fuel (RDF) process in Donmuang area of RTAF. This research is a qualitative method by integrating data analysis, related theories, concept and in-depth interview method. The result of this research revealed that the present waste management in RTAF is not corresponding to the Policy of Royal Thai Government and lack of explicit guideline. The Policy of the Government places importance on transforming waste into eco-friendly energy through RDF process. RDF can be used in industrial sector and also can be used to generate electricity. For example, RDF process in Suranaree University of Technology has been developing continuously. This study found that the appropriate model of using RDF process in Donmuang Air Force Base was Mechanical and Biological Treatment (MBT). MBT, produced RDF-3, has 5 principle processes as follow: 1) Belt Conveyors 2) Shedder Machine 3) Vertical Agitators 4) Trommel Separator 5) Magnetic Separator and Air Classifier. RDF-3 can be compacted to store and transport conveniently. It can be also utilized as fuel in industrial plants. The Government should promote and support all military forces to produce good quality of RDF through making long-term supply chain contract for sustainability. Furthermore, in process of biological treatment can be designed by applying turning compost pile to turn wet waste into flammable dry waste.