เรื่อง: การบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
การเกิดอุทกภัยในประเทศไทยแต่ละครั้งสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อประชาชน และโอกาสของประเทศเป็นอย่างมาก สาเหตุที่ส าคัญ
ในการเกิดอุทกภัยคือการกระท าของมนุษย์ที่มีการใช้และท าลายทรัพยากรธรรมชาติ และแผนงานที่
เกี่ยวข้องของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกัน ขาดการบูรณาการที่แท้จริง การวิจัยครั้งนี้เพื่อ
ศึกษาการแก้ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยต้องท าอย่างไรจึงจะบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิผล
โดยเร็วที่สุดตามนโนบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้เป็นผลส าเร็จ
การวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวกับการจัดการอุทกภัย การด าเนินการของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการ
บริหารจัดการอุทกภัย หน่วยงานภาคเอกชน ภาคประชาชน แบ่งตามพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ าท่วมใน
พื้นที่ภาคกลาง ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน
กระบวนการบูรณาการในการบริหารจัดการอุทกภัย สามารถแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ
ได้แก่ ๑.ระดับภาคประชาชน และชุมชน มีความส าคัญในพื้นที่ จ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการ
สนับสนุนจากสมาชิกในชุมชน ปัจจัยที่ส าคัญ คือ การสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง ๒.ระดับท้องถิ่น เป็น
หน่วยงานที่ใกล้ชิดประชาชน และมีความเข้าใจสภาพพื้นที่ ภูมิสังคม วัฒนธรรม เป็นอย่างดีที่สุด จึง
ต้องน าข้อมูล และปัญหาในพื้นที่ เสนอไปยังจังหวัดต่อไป ๓.ระดับจังหวัด ต้องบริหารจัดการเชิงพื้นที่
ในภาพรวมของจังหวัดและลุ่มน้ าแบบเบ็ดเสร็จครอบคลุมในทุกมิติ ๔.ระดับประเทศ ก าหนดนโยบาย
แผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนปฏิบัติการได้ส าเร็จ ๕.ระดับนานาชาติสร้างความร่วมมือ
ระดับภูมิภาค มีความส าคัญทั้งในช่วงก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ การแลกเปลี่ยน
วิชาการ บุคลากร ทรัพยากร การฝึกซ้อม และการร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ การเชื่อมต่อให้มีการขับเคลื่อนการบูรณาที่มี
ประสิทธิภาพของทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และภาคส่วนต่าง ๆ ต้องสอดประสานกันในทุกมิติ
ทั้ง ๔ ขั้นตอน ได้แก่ การป้องกัน การเตรียมพร้อม การรับมือ และการฟื้นฟู เพื่อให้สามารถแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขั้นทั้งในปัจจุบัน และสามารถรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ก่อให้เกิดเป็นจุดอ่อน
ในการพัฒนาประเทศ การขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี จึงจะส าเร็จ
abstract:
Abstract
Title Integrated Flood Management under National Strategy 20 years
Field Science and Technology
Name Mr. Chalearmkiat Kongvichienwat Course NDC Class 60
Flooding in Thailand is a damaged cause of life, property and economic
growth. It affected to public and country’s opportunity. The main cause of flood is
human action that use and destroy natural resources. Besides, related plan of any
government agencies are inconsistent and lack of integration. This research is to study
how to solve the flood problem in Thailand. How can management be effective as
soon as possible according to government’s policies in order to drive National
Strategy 20 years to success.
This research has collected secondary data which related to flood
management, the implementation of related agencies and in-depth interviews with
government agencies executive which related flood management, private and public
sectors. It classified by flooding area in central, lower central and upper south.
Integration flood management process can be divided into 5 levels as
follows; 1. Public and community levels 2. Local level 3. Provincial level 4. Country
level and 5. International level.
The suggestion from the study is to connect effective integration driving of
all related agencies and all sectors must be corresponded in all dimension including
4steps such as prevention, preparedness, respond and rehabilitation for solving
problem that will occur in present and future. It does not cause a weak point to
develop country. Thailand driving aims to achieve the goal under national strategy 20
years.