Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการการวิจัยและพัฒนาของ กห. เพื่อนำต้นแบบการวิจัยไปสู่การผลิตและใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี จักรกฤช มะลิขาว
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการวิจัยและพัฒนาของ กห. เพื่อน าต้นแบบ การวิจัยไปสู่การผลิต และใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลเรือตรี จักรกฤช มะลิขาว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการด้านการวิจัยและ พัฒนาของกลาโหมให้สามารถสร้างงานวิจัยที่มีศักยภาพในการขยายผลไปสู่การผลิตและใช้งานอย่าง เป็นรูปธรรม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาแนวทางบริหารจัดการการวิจัย แนวทางการวิจัย ด้านยุทโธปกรณ์จากประเทศที่ประสบผลส าเร็จ และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ น ามาวิเคราะห์ด้วย แนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการ วิจัยของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่าการวิจัยและพัฒนาที่จะสามารถน าผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานอย่างเป็น รูปธรรมนั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยที่เกี่ยวข้องจ านวนมากท างานในลักษณะเป็นโซ่อุปทาน มีการส่งมอบคุณค่าร่วมกัน เปรียบเสมือนว่าเป็นหน่วยงานเดียวกันมีเป้าหมายร่วมกันอย่างมีเอกภาพ โดยให้ข้อเสนอแนะประกอบไปด้วย ๖ แนวทาง ได้แก่ ๑) แนวทางการก าหนดนโยบาย ๒) แนวทางการปรับปรุง กระบวนการวิจัยและพัฒนา ๓) แนวทางการสร้างความร่วมมือ ๔) แนวทางการจัดการมาตรฐาน ยุทโธปกรณ์ ๕) แนวทางการบริหารองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ และ ๖) แนวทางการปรับปรุง กฎหมายและหลักเกณฑ์ การด าเนินการดังกล่าวจะท าให้เกิดการพัฒนายกระดับงานวิจัยด้าน ยุทโธปกรณ์ให้พัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศตามนโยบายรัฐบาลได้ อย่างเป็นรูปธรรม

abstract:

ข ABSTRACT Title Management Guideline for Defense Research and Development with Implication on Industrial Production and Full Utilization Field Military Name RADM. Chakkrit Malikhao Course NDC Class 60 The objective of this research is toexhibit recommendation on defense research and development management in gearing the capability towards industrial production and full utilization. The research begins qualitatively with a series of studies on methods for research management, foreign research management success, and interviewed data, all brought as inputs into conceptual analysis that submits the management guidance suitable for Thailand’s research environment as outputs. The research findings report the substantiation relying upon inter-organizational collaboration emphasizing on supply chains and value delivery mutuality by virtue as though of sharing unified goals, finallyreaching to 6 conclusive guidelines namely. 1) Policy Formation; 2) Research and Development Process Improvement; 3) Collaboration Building; 4) Materiel Standardization Management; 5) Organizational and Human Resources Management; and 6) Legislation and Regulation Adjustment. All of the aforementioned measures are permissible especially as accordingto paving materiel research towards true utilization as well as advancing defense industries signified by governmental policies.