Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบการอนุญาตให้ฎีกาในคดีแพ่ง

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย คมกฤช เทียนทัด
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการอนุญาตให้ฎีกาในคดีแพ่ง ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายคมกฤช เทียนทัด หลักสูตรวปอ.รุ่นที่ ๖๐ ศาลฎีกาประสบปัญหาปริมาณคดีล้นศาลท าให้ไม่สามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้ แล้วเสร็จไปในเวลาอันรวดเร็วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ในปีพ.ศ.๒๕๕๘ ได้มี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘ เปลี่ยนระบบการฎีกาในคดีแพ่งจาก“ระบบสิทธิ” (Appeal as of Rights) ซึ่งถือหลักว่าการฎีกาเป็น สิทธิของคู่ความ การห้ามฎีกาเป็นข้อยกเว้น เป็น “ระบบอนุญาต” (Discretionary Appeal) ซึ่งถือหลักว่า การฎีกาเป็นสิ่งที่กฎหมายห้าม คู่ความจะสามารถฎีกาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา เพื่อให้ศาลฎีกา มีอ านาจกลั่นกรองเฉพาะคดีที่มีความส าคัญขึ้นสู่ศาลฎีกา ท าให้ลดปริมาณคดีของศาลฎีกาลงได้มาก และการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประธานศาลฎีกาได้ออกข้อ ก าหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ใช้บังคับควบคู่กันไปด้วย ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบตลอดจนสภาพปัญหาจากการแก้ไขกฎหมายเปลี่ยนระบบ การฎีกาในคดีแพ่ง ผลการวิจัยปรากฏว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา ปริมาณคดีล้นศาลในศาลฎีกาได้เท่าที่ควร ท าให้ศาลฎีกาไม่สามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้เสร็จสิ้น ไปโดยเร็วและเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ โดยปรากฏปัญหาข้อขัดข้องในกระบวนการ ขออนุญาตฎีกาคดีแพ่งที่ส าคัญ ๒ประการ ประการแรก ปัญหาความไม่ชัดเจนของการบังคับใช้กฎหมาย โดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่มิได้บัญญัติถึงขอบเขตคดีที่สามารถขอ อนุญาตฎีกาได้ไว้โดยชัดเจน และมีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายว่า คดีที่มีเนื้อหาแห่งคดีเป็นเรื่อง ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งของ ศาลอุทธรณ์ในเรื่องนั้นเป็นที่สุดไว้เป็นการเฉพาะอันเป็นการจ ากัดสิทธิฎีกาตามระบบเดิม คู่ความมี สิทธิขออนุญาตฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ท าให้คาดหมายได้ว่า คู่ความจะใช้สิทธิยื่นค าร้องขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่งที่ศาลอุทธรณ์มีค าพิพากษาหรือค าสั่งเกือบทุกคดี เมื่อศาลฎีกาต้องใช้เวลาในการพิจารณาวินิจฉัยค าร้องขออนุญาตฎีกาจ านวนมาก จึงเป็นเหตุให้ศาล ฎีกาไม่สามารถพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วได้ประการที่สอง ปัญหา ความยุ่งยากในกระบวนการขออนุญาตฎีกาโดยข้อก าหนดของประธานศาลฎีกาไม่ได้ก าหนดระยะเวลา ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นค าคัดค้านค าร้องขออนุญาตฎีกาและค าแก้ฎีกาในคราวเดียวกัน ท าให้เกิดข ปัญหาข้อขัดข้องกรณีศาลฎีกามีค าสั่งค าร้องขออนุญาตฎีกาส่งมายังศาลชั้นต้นแล้ว แต่คู่ความเพิ่ง จะยื่นค าคัดค้าน ท าให้ศาลชั้นต้นต้องงดการอ่านค าสั่งศาลฎีกาและส่งส านวนกลับไปให้ศาลฎีกา พิจารณาวินิจฉัยค าร้องอีกครั้ง เป็นเหตุให้มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นและคู่ความต้องรอฟังผล การขออนุญาตฎีกานานเกินสมควร และเมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกาแล้ว ก็ยังไม่สามารถพิจารณา พิพากษาคดีต่อไปได้เลย เพราะต้องส่งค าสั่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังและด าเนินการให้ จ าเลยฎีกายื่นค าแก้ฎีกาก่อน ท าให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีที่อนุญาตให้ฎีกาแล้วล่าช้า ผู้วิจัยจึงได้ เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกระบวนการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง โดยสมควร แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก าหนดขอบเขตคดีที่สามารถขออนุญาตฎีกา ได้ให้ชัดเจนว่า คดีที่ไม่สามารถฎีกาได้ในระบบสิทธิตามกฎหมายเดิม เป็นคดีที่ไม่สามารถขอ อนุญาตฎีกาได้ และหากคู่ความยื่นค าร้องขออนุญาตฎีกาในกรณีนี้ ก็ให้ศาลชั้นต้นมีอ านาจสั่งยกค าร้อง และสั่งไม่รับฎีกาได้โดยให้ค าสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุด เพื่อมิให้ศาลฎีกามีภาระต้องพิจารณาวินิจฉัย ค าร้องดังกล่าวอีก และแก้ไขเพิ่มเติมข้อก าหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดี แพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ ก าหนดระยะเวลาในการยื่นค าคัดค้านค าร้องขออนุญาตฎีกาให้ชัดเจน และให้ คู่ความอีกฝ่ายยื่นค าแก้ฎีกาในคราวเดียวกัน กับเมื่อศาลฎีกามีค าสั่งอนุญาตให้ฎีกาแล้ว ให้ศาลฎีกา ส่งส าเนาค าสั่งไปยังศาลชั้นต้น เพื่อแจ้งให้คู่ความทราบและให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีที่ได้รับ อนุญาตให้ฎีกาไปได้เลย การด าเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาระบบการอนุญาต ให้ฎีกาในคดีแพ่งให้มีความสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น สามารถลดปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา ท าให้ การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลฎีกาเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีส่วน เสริมสร้างให้ประชาชนและสังคมมีความเชื่อมั่นศรัทธาในการอ านวยความยุติธรรมของศาลยุติธรรม ในภาพรวมอีกด้วย

abstract:

ABSTRACT Title : Guidelines for Developing the Request for Approval to Appeal (to the Supreme Court) in Civil Case System Field : Politics Name : Mr.Khomkrit Thienthad Course NDC Class 60 As Thai Supreme Court has confronted a substantially large volume of cases, certainly the delay of cases occurs and it also affects to case-overloaded in Thai Supreme Court. The delay in issuing the judgment causes the sluggish execution and relatively impact on economy and society. There was an effort to solve this problem by given Act Amending the Civil Procedure Code (NO. 27), B.E. 2558. Under such amended act, the rule has been changed from Appeal as of Right system to discretionary appeal (to the Supreme Court) system. To support such amended act, Rules of the President of the Supreme Court regarding Request for Approval to Appeal (to the Supreme Court) in Civil Case B. E 2558 also applied. After studying, the researcher, however, found that such amended act could not solve the problem. There are two significant obstacles on the process of Discretionary Appeal System : In the first instance, the Act Amending the Civil Procedure Code (NO. 27), B.E. 2558 has not clearly declared in which scope of cases can be requested for approval to appeal to the Supreme Court. This issue refers to the cases which must be final by Appellate Court in accordance with the Civil Procedure Code or other Laws. Should the litigants have the right to request for approval to appeal such judgment or writ to the Supreme Court under the Amended Act? If so, most litigants must request for approval to appeal to the Supreme Court. In consequence, the Supreme Court has to examine abundantly cases as it used to be. Secondly, since Rules of the President of the Supreme Court regarding Request for Approval to Appeal (to the Supreme Court) in Civil Case B. E. 2558 has not stated the period of time to an opposing party to file the complaint against the request for approval to appeal to the Supreme Court. Additionally, the rule hereinbefore has not stated that the appellee had to file a cross-appeal at the same time as they filed the complaint. Subsequently, the Supreme Court has to work repeatedly under the same cases. As a result, the work flow has been increased and the litigants have to be long awaited. The researcher would like to propose the guidance to adjust the rule of the discretionary 2 appeal (to the Supreme Court) system in civil matters by amending the Civil Procedure Code. It should clarify the scope of which cases could request for approval to appeal to the Supreme Court and straighten out that the cases which were not allowed to appeal to the Supreme Court by Appeal as of Right system should be prohibited to file a request for approval to appeal in discretionary appeal (to the Supreme Court) system. Furthermore, likewise the Civil Procedure Code, Rules of the President of the Supreme Court regarding Request for Approval to Appeal (to the Supreme Court) in Civil Case B. E. 2558 should be amended. It should add the exact period of time for the litigants to file the cross-request for approval to appeal. Besides, it should prescribe that the appellees have to file the cross-appeal at the same time. By following these guidelines, the Discretionary Appeal (to the Supreme Court) System will be developed. The case-overloaded in the Supreme Court will be decreased.