Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ความคุ้มค่าของแนวทางการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมประชาชนเพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาอาสาสมัครทางหลวงชนบท

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ไกวัลย์ โรจนานุกูล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ก เรื่อง แนวทางการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมอาสาสมัครทางหลวงชนบท ของกรมทางหลวงชนบท อย่างคุ้มค่า ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายไกวัลย์ โรจนานุกูล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการฝึกอบรมและการประเมินผลการฝึกอบรม อาสาสมัครทางหลวงชนบท และวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณส าหรับการฝึกอบรมอาสาสมัครทาง หลวงชนบท เพื่อเสนอแนะแนวทางในการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมดังกล่าวอย่างคุ้มค่า โดยพิจารณา รูปแบบการฝึกอบรมและการประเมินผลการฝึกอบรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลการด าเนินงานของอาสาสมัครทาง หลวงชนบท และงบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรมดังกล่าว ใน ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านผลกระทบ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกอาสาสมัครทางหลวงชนบทและเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบท เกี่ยวข้อง จ านวน ๓๙ คน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการฝึกอบรมอาสาสมัครทางหลวงชนบท แล้วน า ข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมดังกล่าว ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้เข้ารับ การฝึกอบรมสามารถน าความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เช่น การแจ้งข่าวถนนช ารุดเสียหาย ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ภาครัฐ หรือประเทศในภาพรวม ในรูปของผลตอบแทนทางสังคม โดยช่วยลดจ านวนผู้เสียชีวิตและมูลค่าความ สูญเสียในการเกิดอุบัติเหตุบนถนนทางหลวงชนบททั่วประเทศในแต่ละปี อันแสดงให้เห็นว่าการฝึกอบรม อาสาสมัครทางหลวงชนบท มีความคุ้มค่า เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรมดังกล่าว อย่างไร ก็ตาม แนวทางการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมดังกล่าว ยังคงมีข้อจ ากัดอยู่ คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบใน การตั้งงบประมาณและการวางแผนและจัดการฝึกอบรมเป็นคนละหน่วยกัน และการไม่มีระเบียบรองรับส าหรับ การเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาสาสมัครทางหลวงชนบท ดังนั้น กรมทางหลวงชนบทควรปรับเปลี่ยนบทบาทและ การบริหารงานเป็นลักษณะเชิงรุก โดยให้ความส าคัญกับการการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัคร ทางหลวงชนบท อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า โดยพิจารณาปรับปรุงแนวทางการใช้ งบประมาณในการฝึกอบรมดังกล่าว ให้มีหน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบการตั้งงบประมาณและการวาง แผนการจัดการฝึกอบรม เพียงหน่วยเดียว และควรมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีระเบียบที่จะ ใช้รองรับการเบิกเบี้ยเลี้ยงและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของอาสาสมัครทางหลวงชนบท ซึ่งจะส่งผลให้กรมทางหลวง ชนบทมีการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมอาสาสมัครทางหลวงชนบท อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า มาก ยิ่งขึ้น ต่อไปในอนาคต

abstract:

ABSTRACT Title Guidelines for Cost-Effective Expenditureon Rural Road Volunteer Training of the Department of Rural Roads Field Economics Name Mr. Kaiwan Rojananukoon Course NDC Class 60 The objectives of this research are to study implementation and evaluation of rural road volunteer training programs operated by the Department of Rural Roads, analyze the cost-effectiveness of the Department’s expenditure on rural road volunteer training, and provide recommendations for guidelines for cost-effective expenditure on rural road volunteer training. In this research, not only the current training implementation and evaluation, andrural road volunteers’ performance as well as the training expenditureare examinedin terms of three aspects: effectiveness; efficiency; and impact, but in￾depth interviews with rural road volunteers and the Department’s officials totaling 39 participants, are also conducted to acquire important information on the outcomes of the training. The obtained information is subsequently used to analyze the cost-effectiveness of the expenditure on rural road volunteer training. The consequenceof the analysis reveals that rural road volunteers who undergoes this training can apply knowledge and skills gained from the training to work more effectively and efficiently, such as reporting road issues or problems. This results in a decrease in the number of traffic deaths on rural roads and their values, being beneficial to people, the government and the country as a whole, in terms of social return on investment. Such an outcome evidently highlights that the training of the rural road volunteers is worthwhile, taking the expenditure on the traininginto consideration. However, there are still several limitations onhow to manage the Department’s training expenditure, including different units responsible forbudgetingfor trainingand training implementation, and no regulation on travel and training expense reimbursement currently available for rural road volunteers. It is therefore, recommended that the Department of Rural Roads improve the expenditure on rural road volunteer training by putting only one main unit in charge of budgeting for training as well as training implementation, and discussing with other relevant government agencies on the regulations of travel and training expense reimbursement for rural road volunteers. As a result, the Department’s expenditure can bemanaged more efficientlyand cost-effectively inthe future.