Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาการค้าชายแดนเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย กิตติ สุทธิสัมพันธ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่องการพัฒนาการค้าชายแดนเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายกิตติ สุทธิสัมพันธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 จากสภาพการค้าชายแดนในปัจจุบันมีมูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้น อัตราการเติบโต GDPของ ประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รัฐบาลมีนโยบายสงเสริมให้พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเปน เขตเศรษฐกิจพิเศษตามค าสั่งคสช. ที่ 72/2557เพื่อจูงใจนักลงทุนจากในประเทศและตางประเทศเข้ามาลงทุน อันจะเป็นประโยชนแกการเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ซึ่งจากปัจจัยสนับสนุนทั้งหลาย น่าจะส่งผลให้ อัตราการเติบโตของมูลค่าการชายแดนเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี แต่ผู้ศึกษาพบว่ามูลค่าการค้าชายแดนของ ไทย-เมียนมา มีมูลค่าการค้ารวมลดลง จากประเด็นปัญหาดังกล่าวเห็นควรศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม ในการพัฒนาการค้าชายแดนเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพการค้าชายแดนรวมถึงสิ่งอ านวยความสะดวกสภาพปัญหาและอุปสรรค เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาวิเคราะห์มาตรการในการส่งเสริมการค้าชายแดน เสนอแนะนโยบายและแนวทางในการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าจากบทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส าคัญ (Key Intermant)จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการน าเข้าส่งออกและ เจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน โดยน าแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารปัจจัยการผลิตมาวิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคน าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ (Diamond Model) และมาตรฐานการบริหารจัดการชายแดนขององค์กรศุลกากรโลก (World Customs Organization : WCO) มาก าหนดแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่เพียงพอต่อการ ให้บริการขาดความรู้ในการท างาน ท างานไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ด้านกฎหมายและระเบียบของเมียนมา ยังไม่มีความเป็นสากล กฎหมายของไทยยังไม่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และไม่เอื้อต่อผู้ประกอบการ รายย่อย มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องเกิดการท างานซ้ าซ้อนกัน เอกสารที่ใช้ประกอบมีจ านวนมาก สิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ ระบบสาธารณูปโภคยังขาดความพร้อม แนวทางการแก้ไขควรเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยน าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยการปฏิบัติงานและจัดสรรอัตราก าลังเจ้าหน้ารวมถึง อัตราก าลังส ารองให้เพียงพอเพื่อรองรับการเติบโตของการค้าชายแดนในอนาคต ส าหรับด้านกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ ให้เอื้อต่อบริบทของพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการค้าชายแดน มีการมอบอ านาจให้จังหวัด ในการอนุมัติ อนุญาต ปรับปรุงพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอ ด้านการท างานที่ซ้ าซ้อนกัน ควรมีการน าแนวคิดมาตรฐานการบริหารจัดการชายแดนขององค์กรศุลกากรโลกมาบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน โดยการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าชายแดน รวมถึงข้อมูลต่างๆ โดยน าระบบ NSW เข้ามาใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ภาครัฐควรมีบทบาทเป็นตัวแทน ของประเทศคือ การเจรจาผูกมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนน เส้นทางคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ของประเทศเมียนมา และ ประเทศคู่ค้าอื่นๆ เพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการลดต้นทุน ของ ผู้ประกอบการกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย

abstract:

ABSTRACT Title Cross-Border Trade Development to Support Thailand Special Economic Zone (SEZ) Field Economics Name Mr. Kitti Suttisumpun Course NDC Class 60 At present, the value of cross-border trade is increasing as well as the growth of neighbor countries’ GDP. According to the Order of National Council for Peace and Order (NCPO) No.72/2557 (2014), the Thai government is promoting the area with potential of Special Economic Zone (SEZ) and persuading the domestic and international investors for long-term benefits. The support factors, hence, should results the increasing of the cross-border trade every year. However, the author finds that the total number of Thailand-Myanmar cross-border trade is, in fact, shrinking. The aim of this qualitative research is to find the method of improving and developing the cross-border trade and then propose the policy to develop SEZ. The author studies relevant research papers and interview the key informants from both import-export related officers and non-related ones. In addition, the management of production factors is used to analyze the constraints and difficulties, as well as Diamond Model theory and WCO standards on border management. The study reveals the constraints and difficulties; the lack of personnel and capacity along with the non-standardization. Moreover, the laws of Myanmar do not meet international standards while the laws of Thailand are not aligned with the context of the area. The process involves too many agencies and creates the overlapping of work. Too many documents required and the deficiency of public utilities also cause entrepreneurs unease. Subsequently, the personnel should be efficiently equipped with technology and allocated adequately for present and future. The laws should be reviewed and improved. Provincial authority should be able to approve sufficient public utilities requisition. Work redundancy problem can be lessened by integrating WCO concept on coordinated border management and connecting the trade information via National Single Window. Furthermore, the government should build the good relationship with neighbor countries such as funding the development of infrastructure, especially the roads and logistics systems of Myanmar and other trade partners in exchange with the privileges for Thai entrepreneurs which can boost the economy growth to support Thailand SEZ.