เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศมาเลเซียในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก อดิศักดิ์ ประชากิตติกุล
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา
การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พันเอก อดิศักดิ์ ประชากิตติกุล หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ ๕๙
การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เกิดจากแนวความคิดอุดมการณ์
แบ่งแยกดินแดน สภาพแวดล้อมทางสังคมและ เศรษฐกิจรวมทั้งปัญหาภัยแทรกซ้อนต่าง ๆ การแก้ไข
ปัญหาของรัฐบาลจนถึงปัจจุบันนับว่าประสบผลส าเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถยุติสถานการณ์ได้
อย่างเด็ดขาด ซึ่งสาเหตุส าคัญประการหนึ่งได้แก่การได้รับความร่วมมือในการช่วยแก้ไขปัญหาอย่างมี
ข้อจ ากัดจากประเทศมาเลเซีย ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน มีความสัมพันธ์ที่
ดีต่อกันมาช้านาน มีกิจกรรมความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกันทั้งในระดับรัฐบาลและระดับพื้นที่
ครอบคลุมทั้งมิติของความมั่นคง การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา โดยเพาะอย่างยิ่ง กลไก
ความร่วมมือตามความตกลงระหว่างรัฐบาลทั้งสองว่าด้วยความร่วมมือชายแดน โดยมีความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงที่ส าคัญในอดีต ได้แก่ ความร่วมมือในการปราบปรามโจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ที่เข้า
มาฝังตัวต่อสู้ตามอุดมการณ์อยู่บริเวณแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย จนประสบความส าเร็จ จคม. ยุติ
บทบาทการต่อสู้ วางอาวุธและออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ซึ่งรัฐบาลไทยได้พยายามร้องขอให้ฝ่าย
มาเลเซียให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่าน
ช่องทางกลไกความร่วมมือที่มีอยู่มาโดยตลอด โดยคาดหวังว่า จะได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายมาเลเซีย
อย่างเต็มที่ ดั่งเช่นที่ไทยได้ช่วยมาเลเซียปราบปราม จคม.จนส าเร็จแล้ว แต่ฝ่ายมาเลเซียก็ยังไม่สามารถ
ให้การสนับสนุนฝ่ายไทยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเต็มความสามารถ
เอกสารวิจัยนี้ต้องการศึกษาแนวทางในการใช้ความร่วมมือชายแดนไทย – มาเลเซีย ใน
การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รวบรวมความเกี่ยวข้องของมาเลเซียต่อปัญหา
ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทบทวนการด าเนินความร่วมมือทวิภาคีไทย – มาเลเซียทุกระดับ
โดยเฉพาะภายใต้กรอบความตกลง ฯ ว่าด้วยความร่วมมือชายแดน จนได้ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางใน
การเสริมสร้างความร่วมมือกับฝ่ายมาเลเซีย ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งทุกส่วนที่เกี่ยวข้องควรมีทัศนคติที่ดี
ต่อมาเลเซีย เข้าใจข้อจ ากัดของมาเลเซีย เป็นหุ้นส่วนในทุกมิติกับมาเลเซีย พยายามโน้มน้าวให้มาเลเซีย
ยอมรับว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาร่วมที่ทั้งสองประเทศต้องร่วมมือกัน
ควรให้ความส าคัญกับกลไกความร่วมมือที่มีอยู่และพิจารณาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้เวทีความร่วมมือใน
การพัฒนาสัมพันธ์และติดตามเรื่องที่ต้องการความร่วมมือจากฝ่ายมาเลเซียอย่างสม่ าเสมอ และควรมี
การทบทวนความตกลง ฯ ในบางประเด็นเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
abstract:
ABSTRACT
TITLE : The Guidelines for Enhancing of Bilateral Cooperation
with Malaysia In Solving of Unrest Situation in the
Southernmost Border Provinces of Thailand.
FIELD : Strategy
NAME : Colonel Adisak Prachakittikul Course NDC Class 59
The root causes of the ongoing insurgency, in southern Thailand, are
separatist’s ideology, socio-economic disparities and others. Up to now, the solutions
conducted by central Thai government have been successful on a pleasant level but
there is no sign of stopping. One of the most significant factors, that cannot solve the
conflict in Thailand’s southern border provinces, is the limitation of cooperation with
Malaysia as neighboring and sharing common border country. Malaysia and Thailand
have long enjoyed cordial diplomatic relations so that Thailand should exploit the
benefits from bilateral cooperate with Malaysia to solve the Thailand’s southern
border provinces insurgency. Moreover, Thailand and Malaysia should maintain
cooperation activities in regional levels, both in government level and in local level
covering security aspect, economic development and social psychology aspects.
Thailand should also emphasis the bilateral cooperation agreements platforms
between both countries . Especially the success in fighting against Communist Party
of Malaya (CPM). At the same time, Thai government should requested Malaysian
government for taking their prominent roles in solving the south Thailand insurgency
through the cooperation mechanisms.
This research is to study the advantages of bilateral cooperation between
Thailand and Malaysia in solving the south Thailand insurgency by using Malaysia’s
existing capacity. At the same time, it needs to review the regional bilateral
cooperation between Thailand and Malaysia in all levels, especially the Thailand and
Malaysia border bilateral cooperation agreements. On the other hand, all Thai parties
concerned should view Malaysia in a positive manner and understand the limited
cooperation offering by Malaysian government. To seek assistant from Malaysia,
Thailand should reiterate that the south Thailand insurgency is a bilateral issue so
Thailand and Malaysia must use the existing mechanism bilateral cooperation for
solving the conflict in southern Thailand. Thailand also should seek to upgrade in
some cases in the bilateral cooperation agreements between Thailand and Malaysia
to be in line with the current security situation.