เรื่อง: ยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลของประเทศไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี สุพจน์ สายวงศ์ปัญญา
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลของประเทศไทย
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลเรือตรี สุพจน์ สายวงศ์ปัญญา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การศึกษายุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลของประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล และก าหนด
ยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล โดยมีขอบเขตของการวิจัยที่จะศึกษาเฉพาะ
ภายในเขตเศรษฐกิจจ าเพาะของประเทศไทย ไม่รวมถึงภัยที่เป็นผลกระทบจากสงคราม ความขัดแย้ง
ระหว่างรัฐ และไม่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งจะ
วิเคราะห์เฉพาะหน่วยงานที่มีหน้าที่และขีดความสามารถในการปฏิบัติงานในทะเล ด้วยการรวบรวม
ข้อมูลข้อเท็จจริงทั้งที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากนั้นจึงน ามาวิเคราะห์เพื่อก าหนดยุทธศาสตร์
โดยจะด าเนินการศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้วยทฤษฎีและหลักการ และการด าเนินการของประเทศต่างๆ
ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเผชิญกับสาธารณภัยในทะเลหลายประเภท
ได้แก่ ภัยจากพายุหมุนเขตร้อน ภัยจากน้ ามันรั่วไหลลงทะเล ภัยจากอุบัติเหตุการขนส่งหรือกิจกรรมทาง
ทะเล เป็นต้น ในขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบยังมีปัญหาทั้งด้านคุณภาพและปริมาณที่ไม่เพียงพอ
ส าหรับการป้องกันและจัดการสาธารณภัย ที่ส าคัญคือการขาดแผนการบริหารจัดการที่เป็นแผนเกี่ยวกับ
สาธารณภัยทางทะเลในระดับชาติ ด้วยเหตุนี้เมื่อใดที่เกิดสาธารณภัยทางทะเล หน่วยงานต่าง ๆจะสับสน
ขาดความพร้อม ส่งผลกระทบมากกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงต้องมีการบูรณาการหน่วยงานระดับต่าง ๆ
ด้วยการก าหนดโครงสร้าง และอ านาจหน้าที่ที่ชัดเจนด้วยยุทธศาสตร์ ๔ ด้านได้แก่ ยุทธศาสตร์การ
ป้องกันและการลดผลกระทบ ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อม ยุทธศาสตร์การจัดการในภาวะ
เมื่อเกิดภัย และยุทธศาสตร์การฟื้นฟู โดยมีศูนย์บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล
(ศปภ.ทล.) ท าหน้าที่คุมและบัญชาการ ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับ ๑ (สาธารณาภัยขนาดเล็กและอยู่ห่างฝั่งไม่
เกิน ๓ ไมล์ทะเล) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการ ระดับ ๒ (สาธารณภัยระดับกลาง) มี ผู้
บัญชาการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลภาค (ผบ.ศรชล.เขต) เป็นผู้บัญชาการ ระดับ ๓
(สาธารณภัยระดับใหญ่) มีผู้บัญชาการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางทะเล (ผบ.ศรชล.) เป็น
ผู้บัญชาการ และระดับ ๔ เป็นสาธารณภัยระดับร้ายแรง มีนายกรัฐมนตรีหรือ รองนายกรัฐมนตรีที่
ได้รับมอบหมาย เป็นผู้บัญชาการ ทั้งนี้การที่จะขับเคลื่อนโครงสร้างใหม่ และยุทธศาสตร์ให้เป็นรูปธรรม
ระดับนโยบายจะต้องปรับแก้กฎหมายต่างๆ ให้สอดคล้องกันด้วย
abstract:
Abstract
Title Marine Protection and Disaster Prevention Strategies of Thailand
Field Strategy
Name Rear Admiral Supoj Saiwongpanya Course NDC Class 59
The study of marine protection and disaster prevention strategies of
Thailand includes purposely its environmental examination prior to establishing the
concerned strategies covering the exclusive economic zone (EEZ) of Thailand. These
strategies exclude the effects of war, the government conflicts and international laws
and regulations. The primary and secondary data will be collected from the specific
related marine departments. The comparative analysis of theories and principles of
conduct will be used and considered before setting any strategic plans. The study
finds that Thailand has environmental risks in confrontation with various marine
disasters such as tropical typhoon and oil spills caused by transportation accident
etc. The government divisions response directly for the disaster protection and relief
have low standards of quality, inefficient taskforce and lacking systematic
administrative plans to handle the situation when occurs. Therefore, there are urgent
needs of integrated strategies from all levels to establish the organization structures,
responsibilities defining roles and duties under 4 strategies namely; Marine and
Disaster Protection and Prevention Strategy, Marine and Disaster Preparation Strategy,
Marine and Disaster Relief Strategy and Marine and finally Disaster Restoration
Strategy. Navy Disaster Protection and Relief Center is in charge of 4 disaster levels;
Level 1: Small disaster within 3 nautical miles (NM), under the supervision of
provincial governor, Level 2: Middle Disaster under the supervision of Navy disaster
Protection and Relief Center Regional Commander, Level 3: Large Disaster under the
supervision of Navy disaster Protection and Relief Center General Commander and
Level 4: Critical Disaster under the supervision of the Prime Minister or appointed
Deputy Prime Minister. The implementation of strategies are within related
improvement of law and regulations.
Keywords: Marine Disaster Protection, Marine Disaster Relief, Marine Protection
and Relief Strategies, Navy Disaster Protection and Relief Center