เรื่อง: ยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชาติทางทะเลในห้วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2560-2569)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี สุชา เคี่ยมทองคำ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชาติทางทะเลในห้วง ๑๐ ปี
ข้างหน้า (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๙)
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลเรือตรีสุชา เคี่ยมทองค า หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การจัดการภัยพิบัติและสาธารณภัยของประเทศปัจจุบันมีพระราชบัญญัติป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นกฎหมายหลักและแผนในการด าเนินการ จากการปฏิบัติงานจริงพบว่าการด าเนินการ
ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๘ ไม่ครอบคลุมอาณาเขตทางทะเล
ทั้งหมด โดยยังไม่มีการก าหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบหลักในการจัดการภัยพิบัติเมื่อเกิดภัยพิบัติ
และสาธารณภัยในทะเล การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมด้านภัยพิบัติและ
สาธารณภัยทางทะเลในห้วง ๑๐ ปีข้างหน้า การด าเนินการจัดการภัยพิบัติและสาธารณภัย และปัญหา
ข้อขัดข้องที่ผ่านมา และเพื่อก าหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชาติทางทะเล
ในห้วง ๑๐ ปีข้างหน้า (พ.ศ .๒๕๖๐ – ๒๕๖๙) โดยมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ทางทะเล
ของประเทศไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis) ทั้งข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิจากเอกสารและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยครั้งนี้ท าให้ได้แนวทางการจัดการภัยพิบัติและสาธารณภัยที่ครอบคลุม
อาณาเขตทางทะเล โดยจัดท าเป็นแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชาติทางทะเล
ในห้วง ๑๐ ปีข้างหน้า (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๙) ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การมุ่งเน้นการ
ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยทางทะเล การบูรณาการการจัดการในภาวะฉุกเฉิน การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความ
เสี่ยงจากสาธารณภัย และก าหนดให้กองทัพเรือซึ่งรับผิดชอบทั้งศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษา
ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ (โดยหมู่เรือ
เฉพาะกิจบรรเทาสาธารณภัยทางทะเลกองทัพเรือ : มบภ.ทร.) เป็นหน่วยงานทางทะเลหลัก
ที่ด าเนินงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทะเล ทั้งนี้ควรเร่งรัดพัฒนาปรับปรุงและแก้ไข
กฎหมาย แผนการปฏิบัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดการฝึกซ้อมการปฏิบัติตามแผน
ในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
abstract:
ABSTRACT
Title Maritime Disaster Prevention and Mitigation Strategy for the next
Decade (B.E 2560 - 2569)
Field Strategy
Name RADM. Sucha Kiamthongkum RTN Course NDC Class 59
Thailand Disaster Management nowadays operated under The Disaster
Prevention and Mitigation Act B.E. 2550 and The Disaster Prevention and Mitigation
plan B.E. 2558. In practical, the Disaster Prevention and Mitigation plan B.E. 2558
didn’t covered Maritime Territory. No agency assigned and took responsibility for
Maritime Disaster Management. This research had an objective to study the
environment of Maritime Disaster for the next Decade, Disaster Prevention and
Mitigation management and also objections and obstructions in the past to determine
Maritime Disaster Prevention and Mitigation Strategy for the next Decade (B.E 2560 -
2569) by studying in the area of Thai maritime both Gulf of Thailand and Andaman
sea as Qualitative research by Content Analysis both Primary and Secondary data and
also documents and interview Specialist involved.
This Research got result as concept of Maritime Disaster Management by
Maritime Disaster Prevention and Mitigation plan for the next Decade (B.E 2560 - 2569)
consist of 4 main strategies : Disaster Risk Reduction, Emergency Management, Build
Back Better and Safer and promote international cooperation in Disaster Risk
Management. And assigned Royal Thai Navy which respond Thailand Maritime
Enforcement Coordinating Center (THAI – MECC) and Navy Disaster Relief Center (by
Navy Disaster Relief Squadron) which were the main agency working about Maritime
Disaster Prevention and Mitigation and should be updated by developing and
correcting Law, Regulations, Methods and also arrange exercise in every level
continuously.