Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ผลกระทบด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากการปรับโครงสร้างกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี สิริพจน์ รำไพกุล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ผลกระทบด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากการปรับ โครงสร้างกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พล.ต.สิริพจน์ ร าไพกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ จากสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลง จากการเข้ามาขยายอิทธิพลในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิกของประเทศมหาอ านาจอย่าง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่งผลให้จีนต้องปรับการด าเนินนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและการทหาร ด้วยการปฏิรูปปรับโครงสร้างกองทัพ และเสริมสร้าง แสนยานุภาพทางทหาร เพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับแนวโน้มสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ส่งผลให้ ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจ และวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและการทหาร รวมถึงการปรับ โครงสร้างกองทัพของจีน และวิเคราะห์หาผลกระทบด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารด้านความมั่นคง รวมทั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผลจากการ วิจัยท าให้ทราบว่าจีนมองการขยายอิทธิพลของประเทศสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นการปิดล้อมจีน ส่งผลให้จีน เร่งด าเนินยุทธศาสตร์ด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือด้าน การทหาร เสริมสร้างศักยภาพทางทหารให้มากยิ่งขึ้น จึงได้ท าการปฏิรูปกองทัพด้วยการปรับโครงสร้างและ ขนาดกองทัพใหม่ ด้วยการปรับลดโครงสร้างภาคเขตปฏิบัติการทางทหารเหลือเพียง ๕ เขตยุทธบริเวณ เพื่อง่ายต่อการพัฒนาขีดความสามารถด้านการบังคับบัญชาร่วม ปรับสายการบังคับบัญชาให้สั้นลง และ มีความอ่อนตัวสูง เหมาะสมกับสถานการณ์ความมั่นคงที่เปลี่ยนไป โดยเน้นความส าคัญที่เขตยุทธบริเวณ เหนือ ตอ. และใต้ จัดตั้งหน่วยขึ้นตรง ๑๕ หน่วย ขึ้นตรงกับคณะกรรมาธิการกลางทหาร ที่มีบทบาทหลัก ในการวางแผนและเตรียมการรบร่วม และการบัญชาการร่วม สถาปนาจัดตั้งหน่วยทหารเพิ่ม ส่งผลให้ ปัจจุบัน มี ๕ เหล่าทัพ ประกอบด้วย ๑) กองทัพบก ๒) กองทัพเรือ ๓) กองทัพอากาศ ๔) กองก าลังทหาร ขีปนาวุธ และ ๕) กองก าลังสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ การปรับนี้จะมุ่งเน้นไปสู่รูปแบบการปฏิบัติเชิงรุก ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากหลายประเทศในภูมิภาค ในลักษณะที่วิตกกังวลหรือมีความหวาดระแวงด้านความ มั่นคง โดยประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน อาจมองเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีน ในขณะที่ประเทศที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีความขัดแย้งกับจีน อาจพิจารณาก าหนดนโยบายหรือ แนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหาร เพิ่มความร่วมมือด้านการทหารในภูมิภาคกับ สหรัฐฯ หรือญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น การสะสมอาวุธ รวมถึงการพิจารณาเพิ่มงบประมาณในการป้องกันประเทศ ท าให้ดุลอ านาจทางทหารมีการเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งหลายๆ ประเทศในภูมิภาคได้เพิ่มงบประมาณทางการทหารสูงขึ้น เพื่อการปรับปรุงกองทัพและจัดหา ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยประจ าการในกองทัพเพิ่มขึ้น ส าหรับไทยนั้น ควรปฏิสัมพันธ์กับจีน บนพื้นฐานของ ความเป็น “หุ้นส่วน” โดยไม่ท าให้เกิดสภาวะพึ่งพาจีนมากเกินไป มีความเป็นเอกภาพและไปในทิศทาง เดียวกัน โดยไม่ตกเป็นฝ่ายตั้งรับการรุกของจีน รวมทั้ง ควรผลักดันให้อาเซียนมียุทธศาสตร์ด าเนิน ความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น โดยตระหนักถึงผลประโยชน์ และความมั่นคงของภูมิภาคเป็นส าคัญ และใช้ จุดแข็งจากการที่มีความใกล้ชิดด้านความมั่นคง ในการขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมด้านป้องกันประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

abstract:

- ๙๗ - ABSTRACT Title Southeast Asia’s Security Impact from Restructuring of China People’s Liberation Army Field Strategy Name Major General Siripot Rumpaikul Course NDC Class 59 As a result of the changing security situation and the increasing influences of world superpower, such as the US and Japan in Asia Pacific region, China had to change its policy, security strategy, and the military by restructuring and strengthening its army, in order to be consistent and suitable to handle potential situation. This caused various countries to increase their awareness and assess possible impacts. This research is intended to examine policy and strategy adjustment in the areas of security and military, the restructuring of China People’s Liberation Army, and assessment of the security impact in Southeast Asia region. It was discovered that China viewed the US and Japan’s action as increasing influences as an attempt to enclose China. Therefore, China has rapidly implement strategies to increase relationships in politics, economy and military cooperation. China has also increased its military capability by reforming by restructuring and resizing, military operational zones were reduced, limiting the chain of command, and increasing flexibility, which would be more suitable to the changes in security situation. This restructuring focuses on proactive operation which has led to suspicious and fear regarding security from many countries in the region. Countries that had good relationship with China might view this as an opportunity to increase their relationship with China. On the other hand, countries with overlapping benefits or conflict with China might reconsider policies or development guidelines to increase military capabilities. Weapons proliferation and increasing defense budget have caused military balance to change and affect security in many countries in the region. With regards to Thailand, we should interact with China on a “partnership” basis, without over dependent on China, being united and moving towards the same direction and is not exposed to China’s aggression, as well as encouraging ASEAN to increase strategic partnership with China. This has to be done with consideration on benefits and stability of the region, using the advantage of having close security relationship, increasing in research and development cooperation in defense industry, and pushes Thailand to be the center of defense industry in Southeast Asia.