Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี สิทธิพร มาศเกษม
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลเรือตรี สิทธิพร มาศเกษม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลของประเทศไทยที่มีมูลค่ามากมายมหาศาล น าพา ประโยชน์สู่ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติ แนวคิดการจัดตั้งศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อให้การปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่เกิดความซ้ าซ้อน มีการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีกองทัพเรือเป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยต่างๆ ทั้งนี้ ทุกหน่วยยังคงปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถลดความซ้ าซ้อน มีการใช้ทรัพยากรของชาติอย่างคุ้มค่า และแก้ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการปฏิบัติงานของ ศรชล. ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากโครงสร้างองค์กรไม่เหมาะสม ไม่มี กฎหมายรองรับการปฏิบัติงาน การขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาเมื่อบูรณาการขีดความสามารถ เข้าด้วยกัน การขาดงบประมาณในการปฏิบัติงาน การแย่งชิงการมีบทบาทน าในหน้าที่งาน ของตนเอง การขาดความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการปฏิบัติงานร่วมกัน การติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ การไม่มีเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาหรือเหตุการณ์ และไม่มีแนวทางบูรณาการขีดความสามารถของหน่วยงานทางทะเลที่ชัดเจน จึงจ าเป็นที่จะต้อง พัฒนา ศรชล. ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปรับศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษา ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นศูนย์อ านวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะล และยังคง ใช้ชื่อย่อ ศรชล. ตามเดิม แต่ปรับโครงสร้างองค์ประกอบของ ศรชล. ตามร่าง “พระราชบัญญัติ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.......” ซึ่งจะท าให้ ศรชล. มีโครงสร้างสายการบังคับ บัญชาที่ชัดเจน มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติงาน มีเอกภาพในการวางแผน อ านวยการ ประสานงาน สั่งการ และควบคุมบังคับบัญชา มีบทบาทน าในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สามารถ ทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ที่มีความซับซ้อนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สามารถให้คุณให้โทษและการมี สิทธิก าลังพล ท าให้การปฏิบัติงานมีความต่อเนื่องทุ่มเทการท างานได้เต็มที่และมีความเป็นมืออาชีพ รวมทั้ง มีงบประมาณเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นการปรับใน ๓ ประเด็นหลัก ได้แก่ การปรับโครงสร้างองค์กร และการบังคับบัญชา การปรับการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ และสุดท้ายเป็นการปรับแนวทาง การใช้ก าลังทางเรือหรือเครื่องมือในการปฏิบัติงาน

abstract:

ABSTRACT Title The Thailand Maritime Enforcement Coordinating Center Reform. Field Military Name Rear Admiral Sittiporn Maskasem Course NDC Class 59 The thai maitime national interest brings a lot of prosperity to the economic of Thailand and their people. To be the Coordinating Center of maritime interest keeping, The Thailand – Maritime Enforcement Coordinating Center (Thai – MECC.) has been established. The Royal Thai Navy is the center of coordinating and supporting the other agencies to do their duties. But however, due to the fact that it has no specific budget or authority to order other agencies to do their duties, rendering Thailand’s maritime interest keeping to become ineffective. The solution to the problem is a reform by modifying Thailand – Maritime Enforcement Coordination Center ( Thai – MECC.) to work as Thailand – Maritime Enforcement Directing Center follow the “Bill National Maritime Interest Keeping B.E…..” This will make Thai – MECC. To become effective. Due to the changing of 3 main functions, the organization, the unity of command and management, and the operations.