Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สิทธินันท์ มานิตกุล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายสิทธินันท์ มานิตกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และพัฒนาการภายในเมียนมา ที่เอื้อต่อ การก าหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการและเตรียมความพร้อมของหน่วยงานไทยในการแก้ปัญหาผู้หนีภัย การสู้รบจากเมียนมา แนวโน้มผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา โดยมีขอบเขตการวิจัย เป็นการศึกษาความเป็นมาของการเกิดขึ้น การด ารงอยู่และพัฒนาการของปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจาก เมียนมาที่เข้ามาพักพิงในเขตประเทศไทยการก าหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการของไทยในการแก้ไข ปัญหา ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ที่เข้ามาพักพิงในเขตประเทศไทย ในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และกาญจนบุรี ทั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยมีการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากการค้นคว้าเอกสาร นโยบาย เอกสารวิจัย เอกสารทาง วิชาการ และบทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาข้อมูลปฐมภูมิด้วยวิธีการสัมภาษณ์และสอบถามความ คิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และน าข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาสรุปผลเพื่อศึกษาเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา จากการด าเนินการวิจัย ผู้วิจัยพบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และการสู้รบ ภายในเมียนมาได้ท าให้ประชาชนชาวเมียนมาเริ่มหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ในรูปแบบผู้หนีภัยการ สู้รบที่หลบหนีออกจากพื้นที่ที่มีการสู้รบหรือความขัดแย้งที่อาจเป็นอันตรายต่อ ตนเองและครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเมียนมา เป็นผลกระทบต่อความมั่นคงของ ประเทศไทย โดยเฉพาะการเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับรัฐบาลเมียนมาที่หวาดระแวงว่าประเทศไทยให้การ สนับสนุนกลุ่มต้อต้านรัฐบาลเมียนมา รวมถึง ปัญหาความมั่นคงของประเทศไทยบริเวณแนวชายแดน และ ผลกระทบอันเกิดจากผู้หนีภัยการสู้รบที่หลบหนีจากพื้นที่พักพิงไปกระท าการอันผิดกฎหมาย อาทิค้ายา เสพติด ลักลอบตัดไม้ท าลายป่า และเป็นปัญหาพื้นฐานหนึ่งของแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย จากการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาผู้วิจัยได้ให้ ข้อเสนอแนะทั้งในระยะสั้น และระยะยาวในการเพิ่มมาตรการการจัดการปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบอย่างเป็น ระบบ และรอบด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด การประสานงานบูรณาการ และสร้างความร่วมมือ กับภาคส่วนรัฐบาลและเอกชน และรัฐบาลประเทศเมียนมา รวมทั้ง การด าเนินการติดตาม ควบคุม และ ตรวจสอบการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบสู่มาตุภูมิอย่างเป็นระบบ

abstract:

ABSTRACT Title Topic : Solution of Displaced Persons from Myanmar Field Subject Category: Strategy Name Researcher : Mr.Sitthinun ManitKul Course National Defence Class 59 The objectives of this research are to examine Myanmar progressive that support Thai government agencies to prepare and form a policy or measurement to solve displaced persons from Myanmar, and also look at the foreseen effects. It is conducted in qualitative method by studying from secondary sources i.e. documents policies, researches, academic papers, articles. In addition, primary sources is also collected by interviewing and having opinions from involving people to eventually give suggestions for solving the problem. The study focuses on cause of the problem, the existence and development of displaced persons, Thai policy and measurements regarding the issue, lastly progress on displaced persons that living in the camps located on 4 provinces -- Mae hong son, Tak, Ratchaburi, and Kanchanaburi. The study found that political conflicts and violence in Myanmar made Myanmar people fled to Thailand in order to escape from danger situation, and became displaced persons nowadays which shown impacts ever since for example; drugs smuggling, deforestation, migrant workers. Moreover, it can be also seen that government opposition groups have been activating along the border of Thailand that jeopardizes national security and might affects Thai-Myanmar relation. The research, therefore, provides deliberately short and long term recommendations in order to tackle the problem comprehensively by strengthening measurements, strict law enforcement, integration from all involving sectors both Thai and Myanmar, as well as follow up the returnees.