เรื่อง: แนวทางพัฒนากระบวนการยุทธศาสตร์ชาติ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี สฤษดิ์พร สุนทรกิจ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางพัฒนากระบวนการยุทธศาสตร์ชาติ
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลอากาศตรี สฤษดิ์พร สุนทรกิจ หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ 59
การวิจัยเรื่อง แนวทางพัฒนากระบวนการยุทธศาสตร์ชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
วิเคราะห์กระบวนการยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย รวมทั้งปัญหาส าคัญในกระบวนการซึ่งอาจท า
ให้ยุทธศาสตร์ชาติมีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่อง และศึกษาวิเคราะห์แนวทางพัฒนากระบวนการ
ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเหมาะสมกับบริบทเฉพาะของประเทศไทยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ขอบเขตของการวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลัก
โดยจะไม่ศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีว่ามีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
อย่างไร จะไม่มีการคาดการณ์ผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต การวิจัยนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า
การบริหารจัดการภาครัฐจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปอีกระยะหนึ่ง และการวิจัยนี้จะให้ข้อเสนอแนะใน
ระดับชาติหรือระดับนโยบายเท่านั้น ประชากรในการวิจัยประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
ยุทธศาสตร์ชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์หรือคณาจารย์ของ วปอ.สปท. การวิจัยนี้ด าเนินการ
ระหว่าง พ.ย.59 - พ.ค.60
วิธีด าเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการ
สังเกตการณ์ เอกสาร รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุทธศาสตร์ชาติและ
ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์หรือคณาจารย์ ของ วปอ.สปท.โดยเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
และการสัมภาษณ์เชิงลึก และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร เช่น หนังสือหรือผลการวิจัยที่
เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นกระบวนการยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีที่สมบูรณ์และครบ
วงจร ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการจัดท า ขั้นตอนการน าไปปฏิบัติ และขั้นตอนการประเมินผล การ
วิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการยุทธศาสตร์ชาติพบว่าปัญหาทั้งหมดแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
ปัญหาทั่วไปในกระบวนการยุทธศาสตร์ชาติและปัญหาในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ดังนั้นใน
การสังเคราะห์ข้อมูลจึงได้แนวทางพัฒนากระบวนการยุทธศาสตร์ชาติ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
เช่นกัน
ข้อเสนอแนะระดับชาติและระดับนโยบายที่ได้จากการน าแนวทางพัฒนากระบวนการ
ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 4 กลุ่ม มาจัดหมวดหมู่ใหม่แยกตามประเภท แบ่งออกได้เป็น 8 ข้อ ได้แก่
ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการ โครงสร้าง และระบบบริหารจัดการยุทธศาสตร์ชาติข้อเสนอแนะด้าน
การบริหารจัดการองค์ความรู้และแนวทางการก าหนดยุทธศาสตร์ชาติข้อเสนอแนะด้านกรอบแนวคิด
และเนื้อหาของยุทธศาสตร์ชาติข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการภาครัฐและการบูรณาการ
ยุทธศาสตร์ชาติข้อเสนอแนะด้านการแปลงยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นการปฏิบัติข้อเสนอแนะด้านการ
พัฒนาและบริหารจัดการบุคลากรภาครัฐ ข้อเสนอแนะด้านการมีส่วนร่วมและการสื่อสารทาง
ยุทธศาสตร์และข้อเสนอแนะด้านการตรวจสอบประเมินผลยุทธศาสตร์ชาติ
abstract:
Abstract
Title The Development of National Strategy Process
Field Strategy
Name AVM Saridporn Soonthornkit Course NDC Class 59
“The Development of National Strategy Process” is an academic research
paper. The objectives of research are to study Thailand’s national strategy process,
identify problems in the process, and then suggest how to improve the process.
The scope of research is on the national strategy process, rather than the
content of 20 year national strategy being developed. Recommendations are made
at the executive level only due to the high-level nature of subject. The population
of research consists of personnel involved in the national strategy process, strategists
and the staff of NDC. The research was conducted during November 2016 - May
2017.
The research is based on qualitative research methodology. Primary data
were collected from observations, documents and interviews while secondary data
were collected from documents such as books or researches on related subjects.
The research illustrates a complete picture of national security process
which is a continuous repeated cycle of three sub-processes: national strategy
formulation, national strategy execution, and national strategy evaluation. Problems
in the national security process can be categorized into four groups: general
problems in the overall process and the specific problems in the sub-processes.
The suggested improvements on national security process include the
recommendations on process, structure and management of national strategy,
knowledge management and national strategy formulation, conceptual framework
and contents of national strategy, public sector management and national strategy
integration,national strategy conversion into practice, human resource development
and management, participation and strategic communication, and national strategy
evaluation.