เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือของกองทัพเรือรองรับความมั่นคงทางทะเล
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี สมชาย ณ บางช้าง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือของกองทัพเรือรองรับ
ความมั่นคงทางทะเลรูปแบบใหม่
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลเรือโท สมชาย ณ บางช้าง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การวิจัยเรื่องแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือของกองทัพเรือรองรับความ
มั่นคงทางทะเลรูปแบบใหม่ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาและตรวจสอบแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทางทะเลรูปแบบใหม่ รูปแบบและการด าเนินการ
ของหน่วยงานความมั่นคงทางทะเลในประเทศและกองทัพเรือประเทศต่าง ๆ ที่มีอาณาเขตทาง
ทะเลติดกับประเทศไทย ในการรักษาความมั่นคงทางทะเลรูปแบบใหม่และระบบความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงทางทะเล เพื่อให้ได้แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและ
ต่างประเทศโดยมีขอบเขตของการวิจัยในส่วนของหน่วยงานภายในประเทศในกรอบของศูนย์
ประสานการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และในต่างประเทศในกรอบของ
กองทัพเรือประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดกับประเทศไทย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใน
ลักษณะของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาความมั่นคงทางทะเลรูปแบบใหม่ ที่ส าคัญและส่งผลกระทบ
ต่อประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนที่ต้องให้ความส าคัญ ๖ ปัญหาหลักคือ การก่อการร้ายทางทะเล
การกระท าอันเป็นโจรสลัดและการปล้นโดยใช้อาวุธ การค้ามนุษย์และการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่น
การลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบค้าอาวุธและภัยพิบัติ โดยหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล
ที่ดูแลรับผิดชอบต้องมีลักษณะที่เรียกว่าหน่วยงานยามฝั่ง (Coast Guard) ทั้งนี้ ศรชล.ในอนาคต
จะปรับรูปแบบเป็นหน่วยอ านวยการซึ่งท าหน้าที่คล้ายหน่วยยามฝั่ง ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยยามฝั่ง
ของประเทศเพื่อนบ้าน โดยความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
ทางทะเลภายในประเทศในบทบาทของ ศรชล.จะมีการบูรณาท างานร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง
ทางทะเลและกองทัพเรือของประเทศเพื่อนบ้านโดยใกล้ชิด โดยความร่วมมือกันแก้ไขปัญหา
ทั้งรูปแบบความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคี โดยการใช้ทรัพยากรและขีดความสามารถในการต่อต้าน
ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ร่วมกัน สิ่งจ าเป็นที่สุดคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการสร้าง
พันธมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและความจริงใจ
อย่างโปร่งใส เพื่อให้ประสิทธิภาพในการท างานเพิ่มมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ กองทัพเรือควรแสดงบทบาทน า ในการให้การสนับสนุนด้วยองค์ความรู้
และเทคโนโลยีรวมทั้งแสดงออกซึ่งความจริงใจในการแก้ปัญหาร่วมกันบนพื้นฐานของการเสริมสร้าง
ข
ความไว้เนื้อเชื่อใจบนพื้นฐานของปัญหาของแต่ละประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันทั้งในรูปแบบ
ทวิภาคีและพหุภาคีอย่างใกล้ชิด การพัฒนาการบูรณาการด้านการข่าว การแลกเปลี่ยนและการ
สร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารพัฒนาความร่วมมือในกรอบของ ศรชล.ซึ่งจะปรับสถานะเป็นศูนย์
อ านวยการ ให้มีบทบาทหน้าที่ในการเสริมสร้างพันธมิตรและเครือข่ายระหว่างกองทัพเรือกับ
หน่วยงานยามฝั่งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับไทย รวมทั้ง
กองทัพเรือควรแสดงขีดความสามารถและมีบทบาทน าในการเตรียมความพร้อมด้านการบรรเทา
สาธารณภัยของกองทัพเรือ ในการรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
abstract:
ABSTRACT
Title The enhancement of the Royal Thai Navy’s operation for the
effectiveness of its Cooperation in defense of the country against
non traditional threats at sea.
Field Military
Name Vadm. Somchai Nabangchang Course NDC Class 59
The research focuses on the enhancement of the Royal Thai Navy’s operation
for the effectiveness of its cooperation in defense of the country against non-traditional
threats at sea. The objective of the research is to study and monitor the trend and change
of new marine security environments, the form and operation of maritime security
agencies in Thailand and of the navies of other countries, whose sea territories are
adjacent to the Thai waters. In order to maintain a new effective maritime security and
maritime security cooperation system and to find practical means for the strengthening of
its cooperation with local and international agencies, this research has limited its scope
under the frameworks of Thailand-Maritime Enforcement Coordinating Center and the
navies of the neighboring countries.
Having been carried out qualitatively and descriptively in order to identify
problems and ways for the enhancement of its cooperation, the research has discovered
six new marine security problems, which need corrective actions, as follows: maritime
terrorism, acts of piracy, armed robbery at sea, human trafficking, drug trafficking, arms
smuggling and disasters. They should be addressed by a maritime security agency which
has the functions similar to those of the Coast Guard. Without giving serious attention,
Thailand and ASEAN countries are inevitably subjected to the adversity of their impacts.
In response to this in the future, Thailand-Maritime Enforcement Coordinating Center is to
be elevated to a directing command with the responsibilities like Coast Guard, to work closely with the Coast Guard of the neighboring countries by sharing equipment and
capabilities to suppress these non-traditional threats at sea through mutual cooperation
between the Royal Thai Navy and the maritime security agency working under the
capacity of Maritime Enforcement Coordinating Center of each neighboring country. Most
importantly, they must share and exchange relevant knowledge and intelligence with one
another as well as strengthen their good working relationships with one another, based
on trust and confidence, for the increased effectiveness of their operation.
The research has, however, provided the following suggestions and
recommendations. The Royal Thai Navy should play a leading role to provide support of
knowledge and technology in order to deal with these newly emerged forms of maritime
threats. It must also act with intensity and sincerity find solutions with its counterparts
based on trust and confidence-building measures, especially for the common issues they
are facing. It must develop integration of intelligence exchange and networks, and
enhance its cooperation with counterparts for their support to the new outlook of
Thailand-Maritime Enforcement Coordinating Center as a directing command, the new role
of which isto strengthen close friendship and collaboration between the Royal Thai Navy
and the Coast Guard or the concerned maritime agencies of the neighboring countries
whose sea territory is next to the Thai waters. In addition, the Royal Thai Navy should also
project its role in rendering its assistance to the distressed in public disaster relief
operation.