เรื่อง: การพัฒนาศักยภาพของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี พัลลภ เฟื่องฟู
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลตรี พัลลภ เฟื่องฟู หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
ภัยทางอากาศถือเป็นภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว รุนแรง และเกิดได้ทุกเวลาและ
ทุกพื้นที่ สามารถสร้างความเสียหายและสูญเสียแก่ประเทศที่ถูกโจมตีเป็นอย่างมากในปัจจุบัน นั้น
สถานการณ์ด้านความมั่นคงทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค รวมทั้งในภูมิภาคอาเซียนเอง ก็ยังคงมีความ
ขัดแย้งอยู่ กอร์ปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชั้นสูงทางทหารยังคงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ท าให้รูปแบบการโจมตีทางอากาศมีความหลากหลาย มีประสิทธิภาพ และความแม่นย ามากขึ้น แต่ใน
ขณะเดียวกัน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก กลับมีขีดจ ากัดในการสนองตอบต่อ
ภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ จึงต้องท าการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินสภาพปัญหา
ข้อจ ากัด ในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ ใช้การวิเคราะห์ SWOT ในการวิเคราะห์ปัจจัย
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของหน่วย ซึ่งผลการศึกษาวิจัย
พบว่า นปอ. อยู่ในต าแหน่งยุทธศาสตร์เชิงรับ มีโอกาสในการสร้างบทบาทในด้านการป้องกันภัย
ทางอากาศ ตามสถานการณ์ด้านความมั่นคง และการพัฒนาการทางอาวุธยุทโธปกรณ์แต่
ความสามารถหรือประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศของ นปอ. อยู่ในระดับที่
ไม่สูงมากนักดังนั้นการวางแผนยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาศักยภาพของ นปอ. จึงเป็นเรื่องของ
ยุทธศาสตร์การตั้งรับและการพัฒนาเป็นหลัก จนกว่าจะได้รับการปรับปรุง พัฒนาในด้านของขีด
ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นแล้ว จึงสมควร
พิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกต่อไป ซึ่งแผนยุทธศาสตร์การตั้งรับและพัฒนาที่ส าคัญได้แก่ การจัด
หน่วยเป็น พัน.ปตอ.มาตรฐาน ๖ กองพัน การจัดตั้ง พัน.ปตอ.ทางยุทธศาสตร์ ๒ กองพัน การจัดตั้ง
พัน.ส.นปอ. การจัดหาและวิจัยอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เพื่อประจ าการในหน่วยดังกล่าว และการจัดหา
ระบบสารสนเทศด้านการป้องกันภัยทางอากาศ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็น
ศูนย์กลาง การจัดตั้งกองเครื่องช่วยฝึก นปอ. เพื่อสนับสนุนการฝึกตามวงรอบประจ าปีของ นปอ. และ
การจัดตั้งโรงเรียนทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เพื่อให้การฝึก-ศึกษาหลักสูตรตามแนวทางรับราชการ
ของ ทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน โดยจัดท าเป็นแผนพัฒนาศักยภาพของ นปอ. ในระยะ ๒๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ โดยจะแบ่งออก
เป็น ๔ ระยะ ระยะละ ๕ ปีเพื่อให้สามารถพิจารณาน าไปบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเหล่า ป. (หน่วย ปตอ.)
พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ และแผนพัฒนากองทัพบก พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ได้อย่างสอดคล้องตรงกัน
abstract:
ABSTRACT
Title Development of Potentiality of the Army Air Defense Command.
Field Military
Name Major General Punlop Fuangfoo Course NDC Class 59
Aerial threat is a rapidly emerging and severely threat occurring at any
time and place. It extremely damages and loses to the attacked countries.
Nowadays, security situation in the global, the regional as well as in the ASEAN region
itself still have confliction meanwhile the advances of high technology in the military
have continued to evolve making air strike various, more effective and precision. But
on the contrary, the Army Air Defense Command has limit in responsible to it owned
air defense missions so that qualitative research is required to assess problems and
limitations of air defense missions. Using SWOT analysis to analyze involved
environment factors to propose the way in development of potentiality of the AADC.
The result of the study found that the AADC was in defensive strategic position that
has an opportunity to create a role in aerial defense according to the security
situation and evolution of weapon systems. However, the ability or effectiveness of
performing air defense mission of the AADC was not very high. Therefore, the
strategic planning for developing of potentiality of the AADC is a matter of defensive
and developing strategy. Until getting developed in the field of air defense capability
to a higher level, It should be considered in offensive strategic planning further. The
significant defensive and developing strategic plan are restructuring 6 anti-aircraft
battalions to standard anti-aircraft artillery battalions, establishment of 2 strategic
anti-aircraft artillery battalions, transforming to AADC signal battalion, revising the
procurement plan of anti-aircraft weapons and C4
I system to support concept of
network centric operation and establishment of AADC training aids department and
an anti-aircraft artillery school. To accomplish such plans, they should be made as a
plan for developing of potentiality of the AADC in the next 20 years. (2017 -2036)
which is in accordance with the Royal Thai Army Strategy (2017 - 2036) by dividing
into 4 phases, 5 years per phase in order to be considered to put into the Royal Thai
Army development plan of units/corps (anti-aircraft artillery) 2017 – 2021 ( and every
5-year plan).