Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: กลยุทธ์เสริมสร้างขีดความสามารถทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาหน่วยงานประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง กลยุทธ์การเสริมสร้างขีดความสามารถทรัพยากรบุคคลกรณีศึกษา หน่วยงานประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถ ปัญหาและข้อจ ากัดของการ ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศในปัจจุบัน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ วิธีการ และปัจจัยที่ เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างขีดความสามารถทรัพยากรบุคคลให้เป็นปัจจัยทวีก าลังในการปฏิบัติงาน ประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถทรัพยากร บุคคลให้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยก าหนดขอบเขตเป็น นายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งเป็นบุคลากรระดับผู้บริหาร และบุคลากรที่ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ โดยตรงของกองทัพอากาศ มีวิธีการด าเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาข้อมูลความ คิดเห็นจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีSWOT Analysis ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้คือ กา รปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ของกองทัพอากาศในปัจจุบันก ากับดูแลนโยบาย โดยคณะกรรมการประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศ (กปช.ทอ.) มีกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็นหน่วยปฏิบัติงานหลักในฐานะหัวหน้าสายวิทยาการกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ โดยใช้ ทรัพยากรในการด าเนินงานต่างๆ จากหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศหลายหน่วยงานมีปัญหาและ ข้อจ ากัดของการปฏิบัติงานในปัจจุบันคือ ประชาชนนิยมใช้เทคโนโลยีในการแสดงความคิดเห็นผ่าน ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งยากแก่การก ากับดูแลและการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์ยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ผู้วิจัยจึงก าหนดกลยุทธ์การเสริมสร้างขีดความสามารถ บุคลากรด้านประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศ ได้ ๔ กลยุทธ์ คือ ๑. กลยุทธ์ “พัฒนาขีดความสามารถ บุคลากรในการประชาสัมพันธ์ด้านสื่อสังคมออนไลน์” ๒. กลยุทธ์ “ให้การศึกษาบุคลากรด้านการ ประชาสัมพันธ์ในระดับสูงกว่าปริญญาตรี” ๓. กลยุทธ์ “ผลิตรายการประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศผ่านสื่อ สังคมออนไลน์ (TV online)” ๔. กลยุทธ์ “บูรณาการประสานงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ กองทัพอากาศ”และมีข้อเสนอแนะคือควรน ากลยุทธ์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการพิจารณาเป็น แนวทางในการปรับปรุงแผนแม่บทกองทัพอากาศด้านกิจการพลเรือน พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ อีกทั้งควรมี การศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการน ากลยุทธ์การเสริมสร้างขีดความสามารถทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาหน่วยงานประชาสัมพันธ์กองทัพอากาศไปสู่การปฏิบัติ

abstract:

ABSTRACT Title Improvement strategies for human resource under the case study of public relations units in the Royal Thai Air Force Field Military Name Air Vice Marshal Pongsak semachai course NDC class 59 The objective of this research was to evaluate performance, problems, and limitation of the current public relations of the Royal Thai Air Force. Such evaluation would facilitate the studies and the analysis of methods and factors associated with the enhancement of the human resource to strengthen the public relations of the Royal Thai Air Force and would provide the guideline for the improvement of the human resource to achieve the effective public relations. The subjects involved in the research were limited to the commissioned officers whose positions were in the executive level and directly related to the public relations. The qualitative methodology was implemented in this research focusing on the comments gathered during the interviews of the target group along with the SWOT analysis. Conclusion of the research reveals that the public relations are currently under the responsibility of the Public Relations Committee while Directorate of Civil Affairs supervises the areas of civil affairs and public relations utilizing resources from various Royal Thai Air Force components to accomplish the related missions. Problems and limitation presently found were the immense use of social networks by people to express their comments and opinions. Use of such technology has resulted in the difficulty in monitoring. Additionally, due to the fact that coordination among public relations units of the Royal Thai Air Force was unclear and imprecise, the researcher has developed four improvement strategies for human resource in public relations of the Royal Thai Air Force including: 1. Strategy in the improvement strategy of personnel potential in the public relations through social network; 2. Strategy in providing personnel in the public relations with the postgraduate education in this field; 3. Strategy in producing public relations television program through online television; 4. Strategy in the integration of the coordination among the public relations personnel in the Royal Thai Air Force. It is recommended that the strategies achieved from this research be considered as a guideline in the revision of the civil affairs in the Royal Thai Air Force Master Plan 2017-2021. There should also be the studies and analysis of the processes in applying the improvement strategies for human resource under the case study of public relations units in the Royal Thai Air Force.