Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการปรับปรุงยุทธศาสตร์สำนักงานอัยการสูงสุดด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาเพื่อตอบโต้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในยุคประเทศไทย 4.0

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ธีระวัฒน์ พุฒิบูรณวัฒน์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการปรับปรุงยุทธศาสตร์ส านักงานอัยการสูงสุดด้านการอ านวยความ ยุติธรรมทางอาญาเพื่อตอบโต้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในยุคประเทศไทย ๔.๐ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายธีระวัฒน์ พุฒิบูรณวัฒน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินคดี อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แนวโน้มปริมาณงานและพัฒนาการความซับซ้อนของคดีอาชญากรรม คอมพิวเตอร์ เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงยุทธศาสตร์ส านักงานอัยการสูงสุดให้เหมาะสมและมี ประสิทธิภาพในการด าเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในยุคประเทศไทย ๔.๐ โดยมีขอบเขตการ วิจัยมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบด้านคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระท า ความผิดและคดีที่มีการกระท าความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ โดยการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจาก วิธีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกพนักงานอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวน วรรณกรรมและสถิติที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มสูงขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีต พบปัญหาและอุปสรรคส าคัญในการด าเนินคดีอาชญากรรม คอมพิวเตอร์ในชั้นพนักงานอัยการจากปัจจัยภายในองค์กร เช่น การจัดเก็บสถิติคดีอาชญากรรม คอมพิวเตอร์ที่ยังไม่เหมาะสม การขาดการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานขาด องค์ความรู้ที่เหมาะสม รวมถึงปัจจัยภายนอกองค์กร ได้แก่ เจ้าพนักงานสืบสวนและพนักงานสอบสวน ขาดองค์ความรู้ที่เหมาะสม และขาดการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ส านักงานอัยการสูงสุดควรจัดเก็บสถิติอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้อง กับฐานข้อมูลสถิติของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่น จัดสรรงบประมาณส าหรับแผนงานพัฒนา ศักยภาพในการด าเนินคดีของส านักงานคดีทั้งหมดภายในส านักงานอัยการสูงสุดอย่างบูรณาการเพื่อเป็น การประหยัดในเชิงงบประมาณ โดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานควรส่งเสริมให้มีการ ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ควบคู่ไปกับการพัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงานอย่าง ยั่งยืน เช่น การจัดตั้งศูนย์รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่พนักงานอัยการ และการ ปรับปรุงคู่มือส าหรับการสอบสวนและด าเนินคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เป็นปัจจุบัน และ ประการส าคัญคือ การสร้างแนวทางประสานความร่วมมือในการด าเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์กับ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่น

abstract:

ABSTRACT Title Guidelines for Improving the Strategy of the Office of the Attorney General for Criminal Justice in Response to Cyber Crime in Thailand 4.0 Era Field Strategy Name Mr. Thirawat Puthiburanawat Course NDC Class 59 This research is aimed at studying the state of problems and obstacles in prosecuting computer crime as well as trends in workload and complexity of computer crime cases in order to advise on improving the strategies of the Office of the Attorney General (the OAG) to be adequate and effective in prosecuting computer crimes in the Thailand 4.0 era. The scope of the research focuses on the impact of economic crimes that computers were employed as tools and crimes against computer systems, by methods of collecting primary data from in-depth interview and secondary data from literature reviews and related statistics. It is found that the number of cybercrime cases is likely to be higher and more complex than in the past. There are distinguished problems and obstacles in the prosecution of computer crime due to internal factors such as inappropriation of statistics collecting, lack of adequate budget allocation and lack of sufficient knowledge of personnel. Moreover, some obstacles stem from external factors such as investigating officers and investigators are lack of appropriate knowledge and lack of coordination among related agencies. The researcher, therefore, has recommended that the OAG’s computer crime statistics should be collected in accordance with statistical database of other agencies in judicial administration as well as budget allocation for the prosecution development program to internal litigation offices should be integrated for budgetary savings. In regard of trainings, the OAG should promote cooperation with external agencies, in parallel with the development of tools for sustainable operations such as establishment of a center for collecting, analyzing and disseminating knowledge to the public prosecutors, and revision of the prosecutor's manual on investigating and prosecuting computer offenses to be up to date. Importantly, the OAG should establish a co-ordinated approach to the prosecution of computer crime with other agencies.