Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธวัชชัย ชวนสมบูรณ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาและปรังปรุงการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี ธวัชชัย ชวนสมบูรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการบรรเทา สาธารณภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยได้ท าการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานด้านบรรเทาสาธารณภัย ศึกษาข้อมูลขั้นตอนการเตรียมการและการปฏิบัติเพื่อหา แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการ ป้องกันการเตรียมความพร้อม การระงับและบรรเทา รวมทั้งการฟื้นฟูบูรณะ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดในทุกสถานการณ์ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ผลการวิจัยพบว่าการเตรียมการและการด าเนินงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสา ธารณภัยหน่วยบัญชาการทหาร มีการเตรียมการ และมีระบบการบริหารจัดการร่วมกันที่ดีซึ่งผู้วิจัย ได้ท าการรวบรวมและจัดแบ่งบทบาททางด้านการเตรียมการและการด าเนินการของศูนย์บรรเทาสา ธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดังนี้ ๑. การจัดองค์กรในการบรรเทาสาธารณภัย จะต้องจัด องค์กรให้มีความต่อเนื่องในการด าเนินงานครบทุกระดับคือระดับนโยบาย ระดับอ านวยการ และระดับ ปฏิบัติการซึ่งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งต้องมีการ ประสานกับฝ่ายพลเรือนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ๒. การเตรียมความพร้อมเพื่อการป้องกันและลด ผลกระทบ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจะต้องบริหารจัดการภัยพิบัติในเชิง รุกจึงจะสามารถลดความสูญเสียและลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้อย่างมาก ๓. การเสนอนโยบาย และแผนด้านการบรรเทาสาธารณภัย ต้องมีความชัดเจนในเรื่องก าลังพล เครื่องมือเครื่องใช้การ สนับสนุนงบประมาณ ระบบการบริหารจัดการ และระบบการติดต่อสื่อสาร เพื่อเป็นกรอบ และ แนวทางในการด าเนินงาน ๔. การอ านวยการ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ต้องด าเนินงานภายใต้การอ านวยการของส่วนราชการพลเรือนตามที่กหหมายก าหนด จากปัจจัย หลากหลายประการดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางของปัจจัยในการแก้ปัญหาคือ ปัจจัยด้านก าลังพล , ปัจจัยด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง, ปัจจัยด้านยุทโธปกรณ์และปัจจัยด้านงบประมาณ ที่จะท า ให้การปฏิบัติงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยหน่วยบัญชาการทหาร พัฒนาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

abstract:

ABSTRACT Title Approaches for Development and Improvement The Disaster Relief and Assistance to Victims with Disaster of the Armed Forces Development Command Field Military Name Major General Tawatchai Chuansomboon Course NDC Class 59 This paper aims to approaches the disaster relief and assistance to victims with disaster.Researcher studying the factors affecting of the effectiveness of disaster relief operations. Study preparatory and practical steps to find solutions for improvement. Improved efficiency in the performance of the staff of the center for disaster prevention and disaster relief and guidelines for enhancing defense capabilities, preparedness, suspension and relief including reconstruction to make it fast Efficiency and effectiveness in all situations of the Armed Forces Development Command. This result of research is The preparation and implementation of disaster relief of the Armed Forces Development Command is prepared to system for managing the common good. The researchers collected and organized role in the preparation and implementation of the Disaster Relief Center of the Armed Forces Development Command. 1. Organization for Relief Organizations must ensure the continuity of operations at all levels, policy director and operational level this requires personnel with knowledge in disaster relief, including the need to coordinate with civilian closely and continuously. 2. To prepare for, prevent and reduce the impact. The Disaster relief center of the Armed Forces Development Command. Disaster management must be proactive. In order to reduce losses and minimize the impact of the disaster was huge. 3. The proposed policies and plans for disaster relief to be clear about the military equipment. The Budget support System Management and a communication system to be framed and implementation guidelines. 4. Directorates of Disaster relief center of the Armed Forces Development Command must operate under the direction of the civil service as required by law. According to such a variety of factors, the researchers propose factor in solving the problem. The factors troops, the management of risk, factors weapons and budgetary factors to make operational aspects of disaster relief center of the Armed Forces Development Command Efficiency and maximum.