Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การจัดการความรู้ที่เหมาะสมของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลตามแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายของประเทศไทย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ไตรเทพ ศรีพันธุ์วงศ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การจัดการความรู้ที่เหมาะสมของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย สากลตามแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ของประเทศไทย ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี ไตรเทพ ศรีพันธุ์วงศ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อประเมินสถานภาพ การจัดการความรู้ของศูนย์ ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ในปัจจุบัน ๒. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อจ ากัด และปัจจัยปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ๓. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมของศูนย์ ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ตามแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อ การร้ายของประเทศไทย โดยผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ านวยการของหน่วยปฏิบัติใน กลไกการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย จ านวน ๔๐ คน การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยน าเสนอในรูปแบบการพรรณนา และใช้แหล่งข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยสรุปว่า ๑. การจัดการความรู้ ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย สากล ยังขาดการสร้างความรู้ความเข้าใจ วิธีการและกระบวนการที่ดีพอ ส่งผลให้ขาดการบูรณาการ องค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อน าไปสู่การปฏิบัติที่ดี องค์ความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ที่มีอยู่ไม่ถูก น าไปใช้ทดสอบในการฝึกและปฏิบัติ การทบทวนหลังการปฏิบัติ และการสอนงานระหว่างกัน ๒. การจัดการความรู้ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ยังประสบกับปัญหาและ ข้อจ ากัดของการจัดการความรู้ เกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของก าลังพลในเรื่องการจัดการความรู้ และ กระบวนการจัดการความรู้ยังไม่ถูกผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างแท้จริง อีกทั้งการปฏิบัติงานร่วมของ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ต้องมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอก หลายหน่วยงาน ท าให้ยากต่อการบูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเพื่อน าไปสู่การจัดท า คลังความรู้ ๓. รูปแบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ตามแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายของประเทศไทย คือ การจัดการ ความรู้แบบบูรณาการสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เรียกว่า LKASA Egg Model เป็นตัวแบบ ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ๑) การจัดการให้เกิดการเรียนรู้ ๒) การจัดการให้เกิดองค์ความรู้ ๓) การจัดการให้เกิด การใช้ความรู้๔) การจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๕) การจัดการให้เกิดขุมทรัพย์ความรู้ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยพบว่า ในระดับหน่วยงาน ต้องส่งเสริมให้เกิดการจัดการ ความรู้ จนสามารถพัฒนาให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ทั้งในระดับ ผู้ปฏิบัติการ ระดับฝ่ายอ านวยการและเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานควรน าผลการวิจัยไปใช้ หรือ ประยุกต์ใช้ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

abstract:

ABSTRACT Title The knowledge management of Counter Terrorist Operations Center, in accordance with the guidelines for the prevention and resolution of terrorism in Thailand. Field Military Name Maj.Gen. Trithep Sripanvong Course NDC Class 59 The purposes of this study were: 1. To evaluate the current status of Counter Terrorist Operations Center (CTOC)'s knowledge management process. 2. To examine and realize the limitations and any problematic factors related to the knowledge management process of CTOC. 3. To study and explore CTOC's guidelines for knowledge management in accordance with Thailand's national policy for the prevention and resolution of terrorist incidents. The sample group was selected from current CTOC personnel, both from thecommanding￾level and staff-level, which in total amounted to 40 people. Data was compiled using content analysis, gathered mainly from descriptive essays and applied source interviews of relevant CTOC personnels, together with documentary research from participant observation. The results of this research were as follows 1. CTOC needs to improve the methodology and process of knowledge management. This resulted in the lack of integration between existing and new knowledge, which if present, will undoubtedly lead to a greater understanding of the information. Moreover, the current knowledge management process is not properly used in reality, and post-implementation review and the sharing of lessons are not present. 2. The knowledge management of CTOC experiences the problems and limitations of a learning organization that is lacking real action. CTOC must coordinate with external agencies that make it difficult to integrate knowledge to knowledge asset. 3. The guidelines for the prevention and resolution of terrorist incidents in Thailand with regards to the knowledge management of Counter Terrorist Operations Center is learning organization “LKASA Egg Model” consists 1) Learning Management 2) Knowledge Organizing 3) Knowledge Acting 4) Knowledge Sharing 5) Knowledge Asset This study suggests that improving knowledge management can develop the agency state to Learning organization developed and the research results should be applied to with Policy level and operation level.