Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเตรียมความพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหมในต่างประเทศ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท ณภัทร สุขจิตต์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การเตรียมความพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการบรรเทาสาธารณภัย ของกระทรวงกลาโหมในต่างประเทศ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลโท ณภัทร สุขจิตต์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินแนวทางให้การช่วยเหลือสนับสนุน ภารกิจการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหมในต่างประเทศในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหา และข้อจ ากัดของการให้การสนับสนุนช่วยเหลือการบรรเทา สาธารณภัยของกระทรวงกลาโหมในต่างประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางในการเตรียม ความพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหม ในต่างประเทศ และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการจัดการด้านภัยพิบัติต่อประเทศสมาชิก ในอาเซียน โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการ รูปแบบ ลักษณะนโยบาย และแนวทาง การประสานงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม ในการให้ความช่วยเหลือด้านการบรรเทา สาธารณภัยกับประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ได้แก่ กรณีเกิดพายุหมุนนาร์กิสที่ประเทศพม่า ปี ๒๕๕๑ การเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่น ปี ๒๕๕๔ และการเกิดแผ่นดินไหวที่สหพันธ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ปี ๒๕๕๘ ผลการวิจัยพบว่า กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยหลักในการติดต่อประสานงาน การให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่ประสบภัยพิบัติ โดยที่กระทรวงกลาโหมเป็นเพียงหน่วยให้การ สนับสนุน ในส่วนของปัญหาและข้อจ ากัดของการให้การสนับสนุนช่วยเหลือการบรรเทาสาธารณภัยของ กระทรวงกลาโหมในต่างประเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย ขั้นตอนการปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือแก่ ประเทศที่ประสบภัยพิบัติมีความล่าช้าไม่ทันต่อสถานการณ์ที่เร่งด่วน ปัญหาการประสานการปฏิบัติ กับประเทศที่ประสบภัย ระบบควบคุมบังคับบัญชาและชุดรักษาความปลอดภัยหน่วย (Force Protection) ขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือของกองทัพไทยยังไม่ได้มาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ข้อเสนอแนะควรจัดเตรียมชุดความพร้อมตามระดับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้าในกรณีที่เกิด ภัยพิบัติแต่ละระดับ ควรมีการขออนุมัติหลักการเพื่อจัดสรรงบประมาณผ่านไปยัง ครม. ไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการด าเนินการ มีการประเมินด้านสถานการณ์และจัดเตรียม ความพร้อมให้ตรงกับความต้องการของประเทศที่ประสบภัย รวมถึงการเตรียมก าลังพลและเครื่องมือ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ก าหนด

abstract:

ABSTRACT Title Ministry of Defense's preparedness for disaster relief support abroad Field Military Name Lt.Gen. Napath Sookchit Course NDC Class 59 The purpose of this research is to evaluate support public hazard of Ministry of Defense at present. To analyze comparative factors, issues, and limitation Include to study the Ministry of Defense's preparedness approach to disaster relief support in foreign countries and to respond to government policy on disaster management for ASEAN. And coordination guidelines or procedures of the Ministry of Defense. To provide relief Disasters in countries affected by the disaster include the Nargis hurricane in Myanmar 2008, the earthquake and tsunami in Japan in 2011, and the earthquake in Nepal in 2015. The result of search, The Ministry of Foreign Affairs is the main unit of coordination. Assistance to disaster countries. The Ministry of Defense is only a support unit. Problems and limitations to support relief Disaster of the Ministry of Defense include procedures for providing assistance to disaster-stricken countries with delays in emergency situations. Practical coordination issues. With the affected country Command Control System and Force Protection Unit. The capability of Thai military assistance has not been standardized for United Nations Organization. For suggestion, should provide with a precautionary readiness kit in case of each disaster. It should be approved to allocate budget to the Cabinet in advance for reduce the process and time. Situational assessments and preparedness are in line with the needs of the affected countries. Including preparing people and tools and The training of people to standard.