เรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมการคำนวณระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อเป็นแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงของหน่วยงานกองทัพบก
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ชัยมนตรี โพธิ์ทอง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการค านวณระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
เพื่อเป็นแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงของหน่วยงานกองทัพบก
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย พลตรี ชัยมนตรี โพธิ์ทอง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีความจ าเป็นต่อการ
บัญชาการและปฏิบัติงานด้านความมั่นคงของหน่วยงานกองบัญชาการกองทัพบก เพื่อพัฒนา
โปรแกรมการค านวณของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Grid Interactive ที่มีความ
เหมาะสมในการใช้งานกับหน่วยงานกองทัพบก และเพื่อใช้เป็นแนวทางด าเนินการเสริมสร้างความ
มั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานกองทัพบก โดยก าหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ อาคาร
กองบัญชาการกองทัพบก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๓ ถนนราชด าเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร และได้วิเคราะห์หน่วยงานที่มีความจ าเป็นต่อการบัญชาการ พบว่า หน่วยงานชั้นที่
๕ และ ชั้นที่ ๖ เป็นหน่วยงานที่มีความจ าเป็นต่อการบัญชาการและปฏิบัติงานด้านความมั่นคง
ผู้วิจัยจึงได้ท าการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่มีความจ าเป็นต่อการบัญชาการของกองบัญชาการ
กองทัพ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า และใบเสร็จค่าไฟฟ้า เพื่อศึกษา
ลักษณะการใช้พลังงานไฟฟ้า (Load Profile) ของบัญชาการกองทัพบก พบว่า มีความต้องการไฟฟ้า
สูงสุด ๑,๒๒๑.๘๐ กิโลวัตต์ ลักษณะการใช้พลังงานไฟฟ้ารายวัน (Daily Load Profile) ของ
กองบัญชาการกองทัพบกมีการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ตั้งแต่ ๐๕.๐๐ น. – ๑๙.๑๕ น.
ลักษณะการใช้งานสอดคล้องกับความเข้มแสงพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Radiation) และมีลักษณะ
การใช้ไฟฟ้าประเภท ๔.๒ ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าของหน่วยงานราชการและหน่วยงานภาครัฐ
แบบ อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU) จากนั้นจึงท าการวิเคราะห์ข้อมูล
การใช้พลังงานไฟฟ้าของหน่วยงานกองบัญชาการกองทัพบก เพื่อพัฒนาโปรแกรมการค านวณระบบ
ผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Grid Interactive โดยใช้โปรแกรม Excel ให้สามารถท างาน
อัตโนมัติโดยใช้ Visual Basic for Application (VBA) ซึ่งการพัฒนาโปรแกรมการค านวณระบบผลิต
ไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Grid Interactive อ้างอิงการวิเคราะห์จากการออกแบบระบบผลิต
ไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบอิสระ (Stand Alone) และ แบบเชื่อมต่อสายส่ง (Grid
Connected) จากนั้นท าการทดสอบการใช้งานโปรแกรมกับกองบัญชาการกองทัพบก พบว่า
โปรแกรมการค านวณระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Grid Interactive สามารถน าไปใช้
งานได้จริง และสามารถน าไปใช้งานกับหน่วยงานกองทัพบกที่มีลักษณะการใช้ไฟฟ้าเช่นเดียวกับ
กองบัญชาการกองทัพบก ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ Grid Interactive เป็นระบบที่
สามารถเชื่อมต่อสายส่งและสามารถเก็บสะสมพลังงานได้ โปรแกรมดังกล่าวจึงสามารถเป็นแนวทาง
ในการเสริมสร้างความเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับหน่วยงานกองทัพบกได้
abstract:
ABSTRACT
Title Development of solar cells system calculation program to reinforce stability of
The Royal Thai Army (RTA)
Field Science and Technology
Name Maj.Gen.Chaimontri Phothong Course NDC Class 59
This research objects on studying of The RTA Headquarters’ electric energy usage
pattern - so called “Load Profile” for its Command & Control activities, then develops a
calculation program that will be suitable for the Grid Interactive type - solar cells system.
This result will be use as a model to reinforce stability of electrical energy for other units.
The case is set up on the 5th and 6th floor of The RTA Headquarters Building - located at
113 Rajchadamneon-Nok Rd., Bang Khun Prom, Pra - Nakhorn District, Bangkok since those
floors contain with many RTA’s Command & Control offices and activities. To get the data,
the researcher uses paper-forms to collect elective devices, electric measurement devices
and electric payment receipts to study Load Profile. The basic study found that the
maximum load is up to 1,221.80 KW. Most of daily load profile is in daytime from 0500
am to 0715 pm which can be assumed that the load profile is harmonize with the solar
radiation and categorized as “Type 4.2” which is so called “Time of Use Tariff” or “TOU”
type, government agencies’ load profiles. The calculation program will be developed from
analyzing that load profile for controlling “Grid Interactive” type - solar power production
system. By using Excel spreadsheet and Visual Basic for Application (VBA), that developed
computer program can worked automatically and will be applied to the case not only
“Stand Alone” but “Grid Connected” type. The program will be continually tested at the RTA
Headquarters case until it works properly then it can be used as a practically model for other
RTA offices having the same load profile. The result of this research finally can reinforce the
stability of overall RTA’s electrical energy.
=================================