Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: นโยบายด้านความมั่นคงเพื่อการคุ้มกันเยาวชนจากขบวนการที่ต่อสู้ด้วยวิธีใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง นโยบายด้านความมั่นคงเพื่อการคุ้มกันเยาวชนจากกระบวนการที่ต่อสู้ ด้วยวิธีใช้ความรุนแรง ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลตรี คงชีพ ตันตระวาณิชย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 59 ปัญหาความรุนแรงจากการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต่อเนื่อง ยาวนานกว่า 10 ปี ได้คร่าชีวิตประชาชนที่บริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่รัฐ กว่า 7,000 คน ขณะที่สถิติโลก ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้ม เยาวชนถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายนับวันจะสูงขึ้น โดยเฉพาะยุคที่ ขบวนการก่อการร้ายสากล พยายามใช้การสื่อสารยุคใหม่ ขยายฐานแนวร่วมเยาวชนเข้าร่วม ขบวนการ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างและกลยุทธ์ที่ขบวนการก่อเหตุรุนแรงใช้ ในการชักจูงเยาวชนเข้าร่วมขบวนการ รวมทั้งศึกษาแนวความคิดที่เยาวชนจะโน้มเอียงไปเป็นแนว ร่วมก่อเหตุความรุนแรงตามแนวทางของขบวนการก่อการร้ายสากล และเสนอแนะแนวนโยบายใน การแก้ไขปัญหาเยาวชนที่เป็นแนวร่วมขบวนการและแนวนโยบายป้องกันไม่ให้เยาวชนถูกชักจูงเข้า ร่วมขบวนการก่อเหตุรุนแรง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันเข้าถึงการ สื่อสารและการสื่อสารยุคใหม่ ยังไม่โน้มเอียงไปเป็นแนวร่วมหรือใช้แนวทางการต่อสู้ด้วยความรุนแรง แบบขบวนการก่อการร้ายสากล ด้วยบริบทเฉพาะตัวของความขัดแย้งที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ของเชื้อชาติชาวมลายู โดยที่ศาสนาอิสลาม ไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยของความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาก่อน ต่อมา ภายหลังการปฏิรูปขบวนการ บี อาร์ เอ็น แนวความคิดเรื่องชาติพันธ์ ศาสนา และชาตินิยม ถูกน ามาใช้อ้างสร้างความชอบธรรม เพื่อสนับสนุน ยุทธศาสตร์การท าสงครามประชาชน และโดยข้อเท็จจริง ไม่มีหลักฐานยืนยันความเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ก่อเหตุรุนแรงกับองค์กรอิสลามภายนอกประเทศ แม้กระทั่งว่าองค์กรเหล่านั้นจะมีบทบาทโดยตรง กับความขัดแย้งในพื้นที่ จากบริบทดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เหตุรุนแรงในพื้นที่ยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชี้ถึงความจ าเป็นที่รัฐควรต้อง มีนโยบายในการแก้ปัญหาและป้องกันเยาวชน ไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ การวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะ ด้านนโยบายเชิงรับ โดยพิจารณาผลักดัน “โครงการพาคนกลับบ้าน” ซึ่งมี ระบบ ยุติธรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่าน เป็นฐานความคิดส าคัญ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการน าเยาวชนที่ เข้าร่วมขบวนการกลับคืนสู่สังคม ด้วยการหลุดพ้นจากกับดักของขบวนการ ซึ่งใช้พันธะทางกฎหมาย เป็นเครื่องมือผลักดันให้เยาวชนหวาดกลัวรัฐ และต้องหลบหนีไปพึ่งพิงขบวนการมากขึ้นเรื่อยๆอย่าง ไม่มีทางเลือก ในขณะเดียวกัน กลุ่มเยาวชน ยังคงเป็นเป้าหมายหลักของการขับเคลื่อนขบวนการใน อนาคต โดยมีระบบการศึกษาเป็นฐานส าคัญในการสร้างปัจจัยเกื้อหนุน กล่อมเกลา เตรียมเด็กและ เยาวชนเป็นมวลชนต่อสู้ระยะยาวในอนาคต การวิจัยนี้ได้พิจารณา ระบบการศึกษา ซึ่งเป็นฐานข ส าคัญของนโยบายเชิงรุกที่จ าเป็น ส าหรับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนจากการถูกขบวนการ ชักจูง บ่มเพาะให้เป็นผู้ที่มีส่วนลงมือปฏิบัติการก่อเหตุรุนแรง โดยรัฐควรมีแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้าน การศึกษาโดยเฉพาะการเรียนการสอนในระบบอิสลามศึกษา การดูแลเยาวชนในระบบการศึกษาทั้ง ระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะบทบาทของกลุ่มสตรีและเด็ก ซึ่งเป็นทรัพยากรส าคัญยิ่งต่อระบบ การศึกษา และจะเป็นปัจจัยก าหนดอนาคตของขบวนการ. ทั้งนี้ นโยบายทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อ แก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงและป้องกันเยาวชนถูกชักจูงให้เข้าร่วมขบวนการ จ าเป็นต้องค านึงถึงการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้างและยุทธวิธีของขบวนการที่หันมาใช้กลุ่มสตรี ในบทบาทดูแลกล่อมเกลาเด็ก ให้พัฒนาสู่การเป็นเยาวชนของขบวนการต่อสู้ที่ใช้ความรุนแรง

abstract:

Abstract Title Security Policyfor the Protectionof Youths from Extremist Group Field Strategy Name Lt.Gen. Kongcheep Tantravanich Course NDC Class 59 The continuous problem from the violence resulting from the insurgency within the Southernmost provinces that has occurred for over a decade has claimed the lives of close to 7,000 innocent people and government officials – while world statistics indicate that the trend of youths being drawn into terrorism has been increasing over time – particularly in an era in which international terrorism attempts to utilize the communication means of the new era to widen the base of their recruitment of youths. The objective of this research is to study the structure of the insurgents and the strategies they use to entice youths to join their movement – as wellas to study the concept which explains that youths are inclined to take on acts of violence as supported by international terrorist. It is also the objective of this research to provide the policy recommendations for preventing youths from being lured into the insurgent movement. The research results indicate that youths within the Southern provinces who now have access to the new era’s means of communication are not yet inclined to join nor to take up the violent fight for a common cause with the international terrorist movements. Given the unique context of the conflict, which dates back to the long history of ethnic Malays – Islam had never been the cause of the violent conflict within the Southernmost provinces. It was only after the BRN (Barisan Revolusi Nasional) reform that ethnicity, religion and nationalism were used to legitimize the support of the people’s war strategy. In fact, there has been no evidence, which confirms any links between the insurgents with external Islamic organizations – or even evidence that those organizations have any direct role in the local conflict – given the context mentioned. However, violence within the Southernmost provinces continues to occur – indicating the need for state policy to address the problem and protect youths from being involved in acts of violence within the Southernmost provinces. This research provides reactive policy recommendation, which supports the “Bring People Home Project”. Founded on the concept of transitional justice the project is designed to achieve the target of bringing back into society2 youths who had joined the insurgent group – by freeing them from the legal obligations which the insurgents have used as a trap to instigate youths’ fear of the state and the need to flee helplessly, and without any choice but to increasingly depend on the insurgent group. Meanwhile, youth groups remain the main target for the insurgents in their movement’s drive into the future. The education system serves as the crucial base in creating the enabling factors to instruct and prepare children and youths for the insurgent group’s mass in their future long-term battles. This research has observed the education system, which is the crucial basis of a necessary proactive policy to strengthen and keep youths immune from the insurgent group’s inducement and nurture towards their participation in acts of violence. The state should have a 20-year strategic plan in education – particularly in Islamic studies, with both short-term and long-term care for youths in the education system, especially the role of women and children, which are extremely crucial resources for the education system as they are the determining factor of the movement’s future. Both the reactive and proactive policies to address the problems related to the use of violence and to protect youths from joining militant groups – need to be aware of the change in the insurgent group’s structure and strategy, which has turned to utilize women groups in their role of caring and nurturing children to develop into youths for the insurgent group’s violent battle. ………………