เรื่อง: แนวทางลดความเสี่ยงจากวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อความไม่สงบที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี เกรียงไกร เสมสวัสดิ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการลดระดับความเสี่ยงจากวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อความไม่สงบ
ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลอากาศตรี เกรียงไกร เสมสวัสดิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การวิจัยเรื่อง แนวทางการลดระดับความเสี่ยงจากวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อความไม่สงบ
ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ
๑) ศึกษาสภาพการณ์ ระดับความเสี่ยง และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดที่สัมพันธ์กับความมั่นคง
ของประเทศ ๒) ศึกษาแนวทางการลดระดับความเสี่ยงจากวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อความไม่สงบ
ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ด าเนินการวิจัยกับแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เอกสาร
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ “วัตถุระเบิด” และ “ความเสี่ยงจากวัตถุระเบิด” “ความมั่นคงของ
ประเทศ” โดยการเลือกข้อมูลหรือสารสนเทศเหล่านี้มีเกณฑ์การพิจารณาเลือก๒ เกณฑ์ ได้แก่
ก) เกี่ยวข้องกับราชการทหารเป็นหลัก ข) มีแหล่งยืนยันการเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้และเปิดเผยได้ใน
ระดับวิชาการเบื้องต้น ซึ่งไม่ผิดจริยธรรมในการวิจัย (ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ)
ร่วมกับข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ ที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ “วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง” ซึ่งให้
ข้อมูลผ่านเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีคุณสมบัติหลัก ได้แก่ ๑) เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับ
“วัตถุระเบิด” ที่ผ่านการศึกษาหรือการฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวข้องมาและมีการรับรองจากหน่วยงานที่
พิสูจน์หรือยืนยันได้อย่างเป็นทางการ ได้แก่ ผู้บังคับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุระเบิด
และ หัวหน้าหน่วย EOD เหล่าทัพและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (งานเก็บกู้วัตถุระเบิด) รวมทั้งสิ้น
๑๐ คน ๒) มีการเผชิญเหตุเกี่ยวกับระเบิดจริงอย่างน้อย ๑ เหตุการณ์ ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ถูกน ามาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ ๒ เทคนิค ได้แก่ ๑) เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะ
การวิเคราะห์การให้ความหมายที่เกี่ยวข้อง “วัตถุระเบิด” “การก่อความไม่สงบ” “ความมั่นคงของชาติ”
“ความเสี่ยง” รวมถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของความหมายของค าต่างๆเหล่านี้ เพื่อพิจารณาความ
ทับซ้อนของชุดข้อความ (concepts variables) โดยจะน าเสนอในรูปแผนภาพทางความคิด
ประกอบการบรรยาย (mindmap) และ ๒) เทคนิคการวิเคราะห์แผนที่เชิงมโนทัศน์ (concept
mapping) ซึ่งจะเริ่มจากการก าหนดโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างชุดข้อความหรือตัวแปรและ
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เมื่อได้โครงสร้างแล้วในล าดับถัดไปจะด าเนินการท าตารางไขว้เชิง
แมททริกซ์ (crosstabulation table) วิเคราะห์การทับซ้อนของชุดข้อความหรือตัวแปร จากนั้นน ามา
สู่การออกแบบแนวทางการลดความเสี่ยงจากวัตถุระเบิด ซึ่งอาจจ าเสนอด้วยภาพประกอบค าบรรยาย
หรือตารางประกอบค าบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์และระดับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดที่สัมพันธ์
กับความมั่นคงของประเทศ มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก ๗ ปัจจัยเรียงตามล าดับได้แก่ ปัจจัยทาง
การเมืองการปกครอง ซึ่งมี ๑๓ ปัจจัยย่อย รองลงมาคือปัจจัยทางสังคมที่มีปัจจัยย่อย ๖ ปัจจัย ปัจจัย
ทางเศรษฐกิจที่มีปัจจัยย่อย ๓ ปัจจัย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านกฎหมาย ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและข
ปัจจัยด้านศาสนา ตามล าดับ ดังนั้นแนวทางการลดระดับความเสี่ยงจากวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อ
ความไม่สงบที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ จึงต้องอาศัยแนวทางการลดระดับความเสี่ยง
จากวัตถุระเบิดที่ใช้ในการก่อความไม่สงบที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ๒ มิติ ได้แก่
มิติก่อนเกิดเหตุ ที่ควรเน้น “แนวทางในเชิงป้องกัน” ที่เน้นการรับรู้ ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และการตัดตอน
“ต้นทุนหรือแหล่งทุนสนับสนุน” โดยอาศัยกลไกภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนในการปรับปรุงโครงสร้าง
หน่วยงานองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้สามารถเผชิญเหตุได้ทันทีและมีเครื่องมือ วัสดุ
อุปกรณ์ ทุนที่สนับสนุนได้อย่างเต็มที่ เพื่อสามารถวางแผนเพื่อรองรับเหตุการณ์การก่อการร้ายที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต และมิติที่ ๒ คือ มิติระหว่างเกิดเหตุ ที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีคุณสมบัติและ
สมรรถภาพ ประกอบการกั้นเขตกันคนและอาศัยเทคโนโลยี อุปกรณ์ช่วย เพื่อให้การลดความเสี่ยง
สามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น หน่วย EOD จึงต้อง
ได้รับการพิจารณาจัดสรรเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนงบประมาณเพื่อพัฒนาเครื่องมือเก็บกู้ หรือ
เครื่องตรวจสอบ ขณะเดียวกันหน่วยงานฯ นี้สามารถพัฒนา “ชุดความรู้” ส าหรับประชาชนที่ถูกต้อง
และสามารถสร้างความตระหนักให้กับประชาชนในความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “วัตถุระเบิดชนิด
แสวงเครื่อง”
abstract:
Abstract
Title Guidlines to help mitigate risks of bombs used to set a stage for
insurrection which impacts the national security
Field Strategics
Name Air Vice Marshal Kreangkrai Semsawasdi Course NDC Class 59
This research “Guidelines to Reduce the Risk from Explosive in the Unrest
of Affecting the Security of the Country.” is the qualitative research approach. The
purposes of this research are 1) to study the phenomena, levels of risk and problems
that associated with explosives in the unrest of affecting the security of the country
and 2) to study the guidelines to reduce the risk from explosive in the unrest of
affecting the security of the country. The secondary source of data that composed of
documents and information about "explosive" "risk of explosive" and "security of the
country" gathered with two criteria; 1) concerning the military and 2) being verified or
examined by the academic level and respect to the research’s ethic. The primary
source of data or key informants are directly related to "Improvise Explosive Device",
provide information through in-depth interview techniques. The key informants are:
1) the 10 "explosives" experts who have passed the relevant education or skill
training and have been officially accredited or confirmed by the authorities, include
the main authorities involved in the use of explosives and the leader of EOD units
and staff. 2) having experience about the explosive incident, at least one time. All
data were analyzed by two techniques: 1) content analysis technique that was used
for analyzing the manner, the meaning of "explosives," "insurgency," "national
security," "risk," and the interrelationships of these words. To examine the
conceptualization of concepts, they will be presented by mindmap. 2) conceptual
mapping techniques, started from study the relationship between all concepts or
variables, constructed all concepts or variables, executed by the matrix of crosstabtable, investigated the overlap, and designed the guidelines to reduce the risk from
explosive in the unrest of affecting the security of the country that illustrated by the
description and/ or the tables.
The research found that the phenomena, levels of risk and problems that
associated with explosives in the unrest of affecting the security of the country
concern with seven main factors such as the political and administrative factors
consisting of 13 sub-factors, the social factors consisting of six sub-factors, the
economic factors consisting of three sub-factors, the personal factors, the legal factors, the technological factors and the religious factors, respectively. Therefore, the
approach to reduce the risk of explosives used in insurgency that affects the security
of the country. Therefore, the guidelines to reduce the risk from explosive in the
unrest of affecting the security of the country have two dimensions. The pre-accident
dimension must focus on a "preventive approach" that emphasizes awareness,
relevant knowledge and excerpts "cost or funding" that the government would be the
mechanism force for driving the immediate reconstruction of government agencies or
organizations. The good effect of reconstruction are about the ability to provide
immediate response and supportive capital equipments and supplies for planning to
against the future terrorist incidents. The 2nd dimension is in the during incident.
This dimension needs personal skilled and qualified, methods for defending the
people, the technology using for reduce the risk effectively and the involved agency.
In addition, the EOD unit must be allocated the materials, budget for develop all
tools. Finally, the EOD unit must develop the "knowledge" for population and raise
awareness among them with the correct understanding about "Improvise Explosive
Device"