Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาการข่าวกรองทางทะเล เพื่อตอบสนองความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของชาติ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี กาญจน์ ดีอุบล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาการข่าวกรองทางทะเล เพื่อตอบสนองความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของชาติ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลเรือตรีกาญจน์ ดีอุบล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ ในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมทั้งในระดับโลก และในระดับภูมิภาคได้เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมอย่างรวดเร็ว โดยภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้น มีทั้งภัยคุกคามรูปแบบเดิม และภัยคุกคามใน รูปแบบใหม่ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบนบกเพียงอย่างเดียว แต่มีหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเล เช่น การก่อการร้าย การกระท าอันเป็นโจรสลัด การลักลอบค้ายาเสพติด การลักลอบค้าอาวุธสงคราม การค้ามนุษย์ และการกระท าผิดอื่นๆ ทั้งนี้ในการรักษาความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเลยังคงเป็นเป้าหมายหลักของชาติที่จะต้องด ารงไว้ ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องเน้นหนักในการ ปฏิบัติงานด้านการข่าวทางทะเลเพื่อสนับสนุนงานด้านยุทธการของหน่วยงานด้านความมั่นคง ทางทะเลด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า หน่วยงานที่มีส่วนในการด าเนินงานด้านการข่าว ทางทะเล เช่น กองทัพเรือ กรมประมง กรมศุลกากร ต ารวจน้ า เป็นต้น ยังมีขีดความสามารถในการ ด าเนินงานและการปฏิบัติการที่จ ากัด โดยข่าวที่ได้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นในลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือข่าวบางข่าวยังไม่สามารถเป็นข่าวเชิงลึก ซึ่งจะน าไปใช้ให้เกิดผลในการปฏิบัติได้ และยังไม่ได้มี การเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข่าวกันอย่างเป็นรูปธรรมทั้งกับหน่วยงานภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งการประเมินสถานการณ์และภัยคุกคามทางทะเลในอนาคต รวมถึงยังไม่มีหน่วยงานใดที่จะ รับผิดชอบงานด้านการข่าวกรองทางทะเลโดยรวมของประเทศอย่างชัดเจน ซึ่งท าให้อาจส่งผลกระทบ ต่อการปฏิบัติในการรักษาอธิปไตยและความมั่นคงทางทะเลของชาติได้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีการบริหารจัดการหน่วยงานด้านการข่าวกรอง ทางทะเลที่จะติดตามเฝ้าระวังผลประโยชน์ทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังรับผิดชอบในลักษณะแยกส่วน ขาดการบูรณาการและเอกภาพในการบริหารจัดการ โดยมีปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ปัญหาโครงสร้าง องค์กร ปัญหาด้านก าลังพลผู้ปฎิบัติหน้าที่งานด้านการข่าว และปัญหาด้านงบประมาณ ซึ่งท าให้การ ท างานด้านการข่าวกรองทางทะเลในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในภาพรวมยังไม่ ตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จะต้องแก้ปัญหาในภาพรวมในทุกๆ ส่วน ด้วยการจัดตั้งศูนย์ข่าวกรองทางทะเล เพื่อท าหน้าที่ในการรวบรวม ประเมินและวิเคราะห์แนวโน้ม ภัยคุกคาม ใน ๓ บทบาท ได้แก่ บทบาทด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค บทบาทด้านรักษา กฎหมาย และภัยพิบัติทางทะเลในประเทศ และบทบาทด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศ ในภูมิภาค พร้อมก าหนดส่วนงานที่รับผิดชอบในงานทั้งสามบทบาทนั้น โดยรวมเจ้าหน้าที่ที่มีความ ช านาญในงานด้านการข่าวกรองทางทะเลในด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่มาท างานร่วมกัน ส าหรับข้อเสนอแนะควรให้สมช. มีมติเห็นชอบในหลักการจัดตั้งศูนย์ข่าวกรองทาง ทะเลภายใต้การก ากับดูแลของ ศรชล. ตามรูปแบบและน าเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติเห็นชอบ แต่งตั้งคณะท างานเริ่มก่อตั้งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยต่างๆ ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม และข ความสามารถ ในระดับนโยบายเห็นควรให้มีคณะกรรมการนโยบายในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเล (Maritime Interests Policy Board) มีหน้าที่ก าหนดนโยบาย ก ากับการพิจารณาจัดสรร งบประมาณให้กับศูนย์ข่าวกรองทางทะเล (ผ่าน ศรชล.) ให้มีการปรับปรุงกฎหมายด้านข้อมูลข่าวสาร ที่ครอบคลุมอ านาจแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการขอข้อมูลในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ทางทะเลของหน่วยงานใน ศรชล. ให้อ านาจตามกฎหมายแก่ศูนย์ข่าวกรองทางทะเล เพื่อการรวบรวม ข่าวสาร และบูรณาการข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระที่รัฐให้ การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการส าหรับน าเสนอแนวทางหลักการทางวิชาการ ให้ค าปรึกษาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้ง จัดตั้งองค์กร ภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม เพื่อช่วยเหลือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เช่น กลุ่มไทย อาสาป้องกันชาติทางทะเล (ทสปช.ทางทะเล) เป็นการสร้างจิตส านึกให้ประชาชนมีความรู้สึกหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติ

abstract:

ABSTRACT Title The Development of Maritime Intelligence to Meet the Stability and Sustainability Field Military Name Rear Admiral Khan Deeubol Course NDC Class 59 At present, the situations both in provincial part and worldwide has been changed increasingly. The threats occurring in provincial parts consist of the ones in the same ways, and the new types of threats which are not only on ground, but also in the seas such as terrorism, pirates, drug trafficking, arms trafficking, human trafficking, and other wrongdoing. To maintain the security and the nation’s interests are still the main objectives; therefore, maritime intelligence is required to be focused on to support the operations of maritime security units. Nonetheless, it is found that the organizations concerned with the maritime intelligence such as Royal Thai Navy, Customs Department, Fisheries Department, and Marine Police have limited performances to operate. Intelligences received mostly were already happened, or some of them were not in enough details to be practical, and not able to be linked and estimate the situations with the domestic and international organizations. Moreover, there is no a unit which is directly responsible for maritime intelligence at large for the country. This can affect the operations of security and sovereignty protection. According to the study, it is found that there is not managing of units concerned with maritime intelligence in Thailand to efficiently follow up the maritime interests. Besides, the units work individually, not connecting together. The main problems are about organizations’ structures, personnel, and budget. These problems make the maritime intelligence not able to respond the threats efficiently much. To solve the problems, the center of maritime intelligence is required to be established to collect, measure, and analyze the tendency of threats in three roles: roles of maritime security in provincial parts, roles of law enforcement, and maritime disasters. It is required to gain experts of maritime intelligence to work together. It suggests that Office of the National Security Council approve to form the center of maritime intelligence working under Thailand Maritime Enforcement Coordination Center (MECC), and propose to the cabinet to approve the center which consists of skillful and moral representatives. In policy level, there should be Maritime Interests Policy Board to specify policies and control the budget for the 2 MECC. Laws about information over information exchange, information inquiry, and every activity of MECC should be revised. MECC should be entitled to compile and integrate information efficiently, and be an independent organization which receive budget from the government to be an academic advisor in terms of maritime interests. There also should be public organizations to participate and assist the units with the nation maritime interest protection such as Thai Volunteer for Thai Maritime Protection. This can instill conscious in Thai people to highly value natural resources.