เรื่อง: แนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก กฤช ปี่ทอง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พันเอก กฤช ปี่ทอง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหนี้สินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมี
ภารหนี้สินของข้าราชการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย ความรู้ความเข้าใจและการใช้แนวทางในการ
บริหารจัดการหนี้สิน ประกอบด้วย ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านความมีภูมิคุ้มกัน
ที่ดี และเงื่อนของของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความรอบรู้และ ความมีคุณธรรม พร้อมทั้ง
เสนอแนวทางในการบริหารจัดการหนี้สินโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับข้าราชการ
ส าหรับประชากรกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย
ตั้งแต่ชั้นยศสิบตรี -จ่าสิบเอก (พิเศษ) หรือเทียบเท่า ที่มีภาวะหนี้สิน โดยมีแบบสอบถาม (Questionnnaire)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
ปริมาณ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะหนี้สิน ระดับความรู้และการใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงในการบริหารจัดการหนี้สิน ทั้ง ๕ ด้าน รวมทั้งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีภาวะหนี้สิน
ประกอบด้วย ความต้องการที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีภาวะหนี้สิน และพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อ
การมีภาวะหนี้สิน ผลการศึกษาพบว่าภาวะหนี้สินของข้าราชการอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีแหล่งเงินกู้
จากสหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้งเงินกู้นอกระบบ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ส าหรับ
เรื่องความรู้ความเข้าใจเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงข้าราชการส่วนใหญ่มีความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นอย่างดี แต่ไม่ได้น าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการหนี้สิน
หรือใช้ในชีวิตเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตามจากผลการวิจัย ยังพบว่ามีข้าราชการจ านวนหนึ่งที่น าหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการหนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากรู้จักน าหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในแต่ละครอบครัวให้มีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือยสมาชิก
ในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ -รายจ่ายในครอบครัวของตนเองสามารถรักษา
ระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เป็นหนี้ การพัฒนาตนเองให้สามารถ"อยู่ได้อย่างพอเพียง"ด าเนินชีวิตโดยยึดหลัก
ทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุลจะท าให้มีความสุขที่แท้ส าหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระ
หนี้สินจะเป็นในเรื่องของความต้องการพื้นฐาน และความต้องการจากภายในของตนเอง ในส่วนของ
ความต้องการจากภายในของตนเองนั้นหากสามารถยับยั้งได้ก็จะท าให้หนี้สินของข้าราชการ
กองบัญชาการกองทัพไทยลดลงด้วย
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Debt Management by Using the Philosophy of Sufficiency
Economy of Military Personnel of the Royal Thai Armed Forces
Headquarters
Field Socio-Psychology
Name Col.GRICH PEETHONG NDC Class 59
The research was to study debt status and factors related to having debt of
military personnel of the Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF HQs), knowledge,
understanding and using debt management guidelines of moderation, reasonableness,
self - immunity, together with two conditions of the Philosophy of Sufficiency Economy :
appropriate knowledge and ethics & virtues, as well as recommendations for debt
management by using the Sufficiency Economy Philosophy to the RTARF HQs personnel,
from the ranks of Lance Corporal to Sergeant Major or equal, who had debt.
Questionnaires were used as a tool for data collection while data analysis was done
through quantitative method about demographic data, debt, levels of knowledge and using
guidelines of the 5-principle Sufficiency Economy Philosophy to managing debt as well as
factors, concerning needs and behaviors, related to having debt.
The research findings found that the debt status of the military personnel was
rather in a high level with sources of loans from savings cooperatives and various financial
institutions including shark loans from non-financial institutions. The majority of the military
personnel had knowledge and understanding well about the Philosophy of Sufficiency
Economy but they did not apply the Philosophy well enough to manage their debt and
lives; however some military personnel could apply the Philosophy well. If the Philosophy
of Sufficiency Economy was applied in each family for moderation management without
spending money extravagantly and each family member knew him/herself, such as income
and expenses data in his/her own family by maintaining expenses’ level without having
debt as well as self-development for sufficient living and moderation life, it would bring
about sustainable happiness. Factors related to having debt were basic needs and self
internal needs. If the self internal needs were prohibited, debt of the RTARF HQs
personnel would be reduced.