เรื่อง: แนวทางในการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของไทย แบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย กมล เชียงวงค์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางในการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของไทยแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายกมล เชียงวงค์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การศึกษาแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของไทย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา พื้นที่จังหวัดน่าน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์
แบบเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับการวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์และผลการศึกษา ดังนี้
๑. การศึกษาสภาพปัญหาการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
โดยเน้นกรณีศึกษา พื้นที่ป่าจังหวัดน่าน ในห้วง พ.ศ.๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ๔
ด้าน ได้แก่ (๑) การก าหนดแนวนโยบายในระดับชาติ (๒) ข้อระเบียบกฎหมาย และการบังคับใช้
กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐในทุกระดับ (๓) การส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพ
ของประชาชนในพื้นที่ และ (๔) การสร้างความยั่งยืนในการอนุรักษ์และฟื้นฟู การบริหารจัดการเชิงพื้นที่
ที่ขาดเอกภาพ
๒. การศึกษาแนวทาง ยุทธศาสตร์ ในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของไทย โดยการมีส่วนร่วม
ของประชาชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยใช้จังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษาพบว่า รูปแบบ
การมีส่วนร่วมควรส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบูรณาการทุกภาคส่วนในรูปแบบ
ประชารัฐ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดนี้ จะเป็นตัวแสดงส าคัญ
ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและครบวงจ
๓. ตัวแบบ (Role Model) ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ
ต่อไป พบว่าได้พัฒนาตัวแบบ “ประชารัฐพัฒนาป่าเมืองน่านอย่างยั่งยืน”โดยมี หลักการส าคัญ ๓ ด้าน
คือการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้
โดยผ่านกิจกรรมตามโครงการ “เมนูทางเลือก การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจังหวัดน่าน ๑๔ เมนู + ๔” ซึ่งเป็น
การบูรณาการกิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของจังหวัดน่าน โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
การศึกษานี้น าเสนอข้อเสนอแนะใน ๓ ระดับ ได้แก่ (๑) ข้อเสนอระดับชาติกฎหมาย ระเบียบนโยบาย
เน้นการสร้างจุดสมดุลในเชิงนโยบายระหว่างการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะป่าต้นน้ าในจังหวัดน่าน
และทิศทางการพัฒนาพื้นที่และส่งเสริมอาชีพประชาชน (๒) ข้อเสนอแนะในระดับพื้นที่เน้นการสร้าง
ระบบการบริหารจัดการที่มีเอกภาพการส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชน และในระดับชุมชนบทบาทของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ (๓) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
abstract:
Abstract Abstract
Title The study management anagement anagement approach pproach pproach to forest restoration estoration estoration in
Thailand Thailand by participation of all sectors for sustainable by participation of all sectors for sustainable
development development
Field Science and Technology Science and Technology Science and Technology
Name Mr. Kamol C Mr. Kamol C Mr. Kamol Chiengwong hiengwong hiengwong Course NDC Class NDC Class NDC Class 59
This is a study of public participation for sustainable development on forest
restoration in Thailand; a case study of Nan Province. This is a qualitative study which
adopts the methodology of in-depth interviews and documentary analysis. The objectives
and results can be explored as follows.
1. The problems of conservation and restoration of forest in Nan province
from 2007 were defined. They have been focused on 4 factors which consist of national
policy formation, legal provisions and law enforcement of public officials at all levels,
the promotion of people’s well being by developing people’s occupation, and the
building of sustainability in conservation and comprehensive management.
2. This research explored the strategic approach for restoring Thailand’s forest
area by employing the case study of Nan province. This tries to promote the quality of life
of local people basing on people’s participation for sustainable development.
It is founded that participatory patterns should stress on public participation and the
integration of all stakeholders. This means that the “Pracha Rat” model; the collaboration
among public and private sector, people participation, and local administration units, plays
a key role for solving the problem.
3. The role model of “Pracha Rat for sustainable development in Nan
province”has been established. This model bases on three principles which are presented
in terms of forest restoration, public participation and sustainable development on quality
of life. From this way, the concept of “alternative menu for encouraging green area in Nan
province; 14+4 programs” has been implemented. It is the form of integration of forest
conservation activities in Nan province by engaging all sectors.
This study presents three levels of recommendations. Firstly, in the national
level, the policy setting and law enforcement should relate with the direction of local area
development and the promotion of people's careers. Secondly, in the area level, it should
focus on creating a unified management system and promoting the role of people.
In this way, local administration units should be taken place. Finally, it shows suggestions
for further research.