Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครในฐานะมหานครระดับโลก

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง เสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครในฐานะมหานครระดับโลก ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางเสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๗ กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของ ประเทศ ท าให้กรุงเทพมหานครเติบโตเป็นมหานครและเป็นเมืองที่มีบทบาทส าคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้และระดับโลกโดยมีปัจจัยที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของการเป็นมหานครระดับโลก อย่างไรก็ตามด้วยกระแสการ เคลื่อนตัวและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งใน ด้านความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น การปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมากขึ้นแต่มีเวลาน้อยลงกรุงเทพมหานครต้อง เป็นองค์กรหลักในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นเพื่อให้มีความชัดเจนและเข้าใจในการจัดบริการสาธารณะในฐานะมหานครระดับโลก ผู้วิจัยจึง ได้ก าหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ ดังนี้ คือ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของจัดบริการสาธารณะของ กรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครเพื่อ ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครในฐานะมหานครระดับโลกและเพื่อ เสนอแนะแนวทางต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครโดยวิธีการวิจัยการ รวบรวมข้อมูลด าเนินการในสองส่วนคือ ข้อมูลทุติยภูมิ เรื่องผลการด าเนินการของกรุงเทพมหานครตามแผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร จากข้อคิดเห็นในการจัดท าวิสัยทัศน์ ๒๕๗๕ ซึ่งได้จากการประชุมกลุ่มย่อยกับประชาชนกลุ่ม ต่างๆ และ ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก กับผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ถึงความคาดหวังและ แผนที่ก าหนดไว้ในการจัดบริการสาธารณะในฐานะมหานครระดับโลก ทั้งในส่วนของผู้ก าหนดนโยบายหลัก ซึ่งจะ เป็นส่วนของข้าราชการการเมือง และส่วนของผู้ก าหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนของหน่วยงาน ที่จะตอบสนองต่อ นโยบายต่างๆ ซึ่งจะเป็นส่วนของผู้บริหารฝ่ายข้าราชการประจ า รวมทั้ง การวิเคราะห์ข้อมูล ด าเนินการโดยการ ประมวลแผน อ านาจหน้าที่ แนวนโยบาย เปรียบเทียบกับมหานครระดับโลก ซึ่งได้แก่ มหานครนิวยอร์ก มหานคร โตเกียวและกรุงโซล และปัญหาอุปสรรคที่เกดขึ้น ซึ่งสรุปผลการวิจัยกรุงเทพมหานครมีอ านาจหน้าที่และภารกิจที่ก าหนดตามกฎหมายที่ต้อง จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านการจัดการรักษาความ สะอาดและสิ่งแวดล้อม การจัดการจราจรและขนส่ง และการจัดการด้ายกายภาพต่างๆ โดยกรุงเทพมหานครมี แผนงานและงบประมาณที่ชัดเจนในการด าเนินการปัญหาในการจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เกิดจาก กระบวนการบริหารจัดการการประสานความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในเรื่องความร่วมรับผิดชอบ ของประชาชน ความตระหนัก ทัศนคติและความเข้าใจของประชาชน ปัญหาเรื่องข้อจ ากัดด้านงบประมาณ และ ปัญหาเรื่องความสามารถเฉพาะทางของเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครซึ่งหากจะให้การจัดบริการสาธารณะของ กรุงเทพมหานครมีประสิทธิผลจะต้องให้ความส าคัญกับหลักประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมของ ประชาชนและอ านาจหน้าที่ที่ชัดเจน เพิ่มศักยภาพขององค์กรในการน าระบบสารสนเทศมาใช้อย่างจริงจัง โดยมี ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือเรื่องการแก้ไขข้อกฎหมายและระเบียบต่างๆ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่เรื่องการ สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชน การประสานแผนการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ และ ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมควรจะมีการศึกษาเจาะลึกเพื่อการด าเนินการทางปฏิบัติในเรื่องการบุคลากรของ กรุงเทพมหานครและ การสร้างตระหนักของประชาชน

abstract:

ABSTRACT Title Public Services of Bangkok Metropolitan Administration as a World-class Metropolis Field Social - Psychology Name Mrs. Saowapark Krajangyooth Course NDC Class 57 Bangkok is the capital city and economic, social and political domination of the country. This causes the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) to grow into a metropolis and a city with a major role in the Southeast Asian region and globally with the factors that demonstrate the characteristics of a world-class metropolis. However, with the current movement and rapid changes, the BMA is an authority that faces direct impacts in terms of increased public demand and complicated operating systembut less time. The BMA, however, must be the main authority of public services to the people in Bangkok. Therefore, to be clear and understandable to the public services as a world-class metropolis, researcher has set the objectives of this piece of research which are to study the generality of public services of the BMA that are currently available; to study the problems in public services of the BMA; to study the appropriateness of public services of the BMA as a world-class metropolis; and to propose guidelines to the relevant authorities that involve with public services of the BMA. The research method of data collection conducted in two parts. Firstly, the secondary data is for the overall outcome of the implementation of the development plan of the BMA from the comments in the preparation of Bangkok Vision 2032, which was a result of workshops with various groups of people in Bangkok. Secondly, the primary data is in-depth data collection from the BMA executives, both policy makers which are political officials and strategy and plan makers which are permanent officials, on the expected and planned public services as a world-class metropolis. Including data analysis that is from the processing of plan, administrative power, policy, and problems compared to other world-class metropolises such as New York, Tokyo, and Seoul. As a result of this research, the BMA has powers and tasks defined by law in order toprovide public services to the people of Bangkok in many ways, especially in terms of cleanliness and environmental management, traffic and transportation management, and various physical services management. For the purpose these duties, the BMA has a precise plan and budget for the operation. Nevertheless, the problems of public services of the BMA still remain. They are from (i) the management process, (ii) the cooperation, (iii) the participation of citizens in responsibility, awareness, attitude and understanding, (iv) budgetary constraints, and (v) technical capabilities of the officials of the BMA. Consequently, public services of the BMA require effective management, explicit participation and duty of citizens, and implementation of information system. There are many suggestions for this research. The policy suggestion is to modify laws and regulations. The practical suggestion is to provide the awareness and participation of the citizens, and coordinate with relevant authorities. And the suggestion for further studies is to do in-depth study of personnel management of the BMA, as well as creating public awareness.