เรื่อง: นโยบายปฏิสัมพันธ์ทางทหารในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท สิทธิพล นิ่มนวล
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2557
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดยอ
เรื่อง นโยบายปฏิสัมพันธทางทหารในประชาคมการเมืองและความมั่นคง
อาเซียน
ลักษณะวิชา การเมือง
ผูวิจัย พลโท สิทธิพล นิ่มนวล หลักสูตร วปอ. รุนที่ ๕๗
เอกสารวิจัยเรื่อง “นโยบายปฏิสัมพันธทางทหารในประชาคมการเมืองและความมั่นคง
อาเซียน” ฉบับนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาสภาวะแวดลอมดานความมั่นคงในอาเซียน รวมทั้งศึกษา
ยุทธศาสตรการเขาสูประชาคมการเมืองและความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม และ ใหขอเสนอแนะ
นโยบายปฏิสัมพันธทางทหารเพื่อสนับสนุนการเปนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ผูวิจัย
มุงเนนการเสนอนโยบายปฏิสัมพันธทางทหารภายในกรอบประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ในความรับผิดชอบของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เปนนโยบายการปฏิบัติเมื่อเริ่มเขาสูการเปน
ประชาคมอาเซียนแลวคือตั้งแตมกราคม ๒๕๕๙ เปนตนไป สําหรับขอบเขตการวิจัยเนนเฉพาะ
ประเทศอาเซียนที่มีเขตแดนติดกับประเทศไทย เปนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย
ศึกษาคนควาจากเอกสาร (Documentary Research) ทั้งขอมูลทุติยภูมิจากการคนควาเอกสารนโยบาย
เอกสารวิจัย เอกสารทางวิชาการ และบทความตางๆที่เกี่ยวของ และขอมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ
และสอบถามความคิดเห็นจากผูทรงคุณวุฒิและจากบุคคลที่เกี่ยวของ จากนั้นจึงนําขอมูลตาง ๆ ที่
รวบรวมไดมาวิเคราะหและสรุปผล
ผลการวิจัยพบวา ปญหาสําคัญในการบรรลุเปาหมายการเปนประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียน คือการสรางคานิยมรวมกันโดยคํานึงถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมการเมือง
และการปกครองของประเทศสมาชิก ซึ่งตองอาศัยการสรางความไวเนื้อเชื่อใจระหวางกันใหมากยิ่งขึ้น
กระทรวงกลาโหมจึงกําหนดแนวทางการปฏิบัติเมื่อเขาสูประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
เนนการสรางปฎิสัมพันธทางทหารอยางตอเนื่องในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ผูวิจัย
พบวาการดําเนินการที่เปนรูปธรรมและยั่งยืน จะไดมาจากการสรางความไวเนื้อเชื่อใจโดยการมี
ปฏิสัมพันธในรูปแบบตางๆ เพื่อนําไปสูการมียุทธศาสตรรวมกัน ข
ผูวิจัยไดใหขอเสนอเชิงนโยบายในการปฏิสัมพันธทางทหารที่อยูในศักยภาพของ
กระทรวงกลาโหม และตอบสนองผลประโยชนของชาติในการเขาสูประชาคมการเมืองและความมั่นคง
อาเซียนในสามดาน คือ ๑. ดานการสงเสริมความมั่นคงทางทะเลอาเซียน ไดแก การจัดตั้งกองกําลัง
ทางเรืออาเซียน ๒. ดานการเสริมสรางศักยภาพในการปฏิบัติการทางทหารรวมไทย – เมียนมา ไดแก การ
ลาดตระเวนทางทะเลรวม ไทย – เมียนมา และ ๓ .ดานการเสริมสรางศักยภาพในการปฏิบัติการทาง
ทหารรวมกันของอาเซียน ไดแก การจัดตั้งกองกําลังรักษาสันติภาพอาเซียน
abstract:
ABSTRACT
Title Defence Interaction Policy towards ASEAN Political and Security
Community
Field Politics
Name Lieutenant General Sittipol Nimnuan Course NDC Class 57
Objective of this research is to study ASEAN’s security circumstance,
Ministry of Defence (MOD)’s strategy toward ASEAN Political and Security Community,
and to recommend Defence Interaction Policy toward ASEAN Political and Security
Community. Scope of the research is in the area of responsibility of the Office of
Permanent Secretary for Defence. The recommended policy is to be adopted in
2016, the beginning year of APSC. This is the qualitative research comprising of
documentary research, and interviewing of qualified persons and concerned person.
Result of the research is that main obstacle to be perfect APSC is lack of
shared political value among member countries. Comprehensive confidence building
measures are critically needed. As the result, MOD managed to determine a
guideline on the entry of APSC focusing mainly on continuous defence interaction in
line with ADMM’s approved concept of action.
The research’s recommendations are defence interaction policies to
facilitate solid and sustainable confidence among member countries of APSC. These
recommended policies will response to national interest toward APSC. Three
example policies are Establishment of ASEAN Maritime Force, Thai – Myanmar Joint
Sea Reconnaissance, and Establishment of ASEAN Peace Keeping Force.
๒