เรื่อง: เจตคติประชาชนด้านความเสมอภาคหญิงชายกับการพัฒนาสถานภาพสตรีไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สมศักดิ์ อัศวศิริศิลป์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2557
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง เจตคติประชาชนด้านความเสมอภาคหญิงชายกับการพัฒนาสถานภาพสตรีไทย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายสมศักดิ์ อัศวศิริศิลป์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 57
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ การท าความเข้าใจต่อเจตคติของประชาชน
ด้านความเสมอภาคหญิงชายในสังคมไทยในมิติครัวเรือน/ครอบครัว มิติสังคม มิติทางเศรษฐกิจ และ
มิติการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยน าเสนอแนวทางการพัฒนามาตรการ กลไกและแผนงานเพื่อการ
พัฒนาสถานภาพสตรีไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บ
ข้อมูลจากตัวอย่างใน 5 ภูมิภาคหลักของประเทศไทยได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบพื้นที่ตัวแทน และใช้
ความน่าจะเป็น ผู้วิจัยได้แบบสอบถามตอบกลับทั้งสิ้นจ านวน 1,058 ฉบับ
ผลการวิจัยความเสมอภาคหญิงชายด้านครัวเรือนหรือครอบครัวพบว่า ผู้หญิงยังถูก
ก าหนดให้มีบทบาทหน้าที่ในครัวเรือนมากกว่าชายอย่างมีนัยส าคัญ และต้องรับบทบาทและหน้าที่ใน
และนอกครัวเรือน เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้หญิงต้องออกจากบริบทของครัวเรือนเพื่อประกอบอาชีพ
นอกครัวเรือน
ด้านความเสมอภาคหญิงชายในมิติสังคม ผลการวิจัยชี้ว่า สถานภาพผู้หญิงไทยด้านสังคม
ยังคงด้อยกว่าผู้ชายอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ เนื่องจากอคติของสังคมต่อเพศหญิงในฐานะวัตถุทางเพศ
โอกาสการเป็นผู้น าทางสังคม ปัญหาการถูกท าร้ายร่างกาย และปัญหาโอกาสการเป็นผู้น าด้านจิต
วิญญาณทางศาสนา
ด้านความเสมอภาคหญิงชายในมิติเศรษฐกิจ ผลการวิจัยชี้ว่า ผู้หญิงจ านวนไม่น้อย
เผชิญปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน ผลตอบแทนและสวัสดิการ โอกาสในการเข้าเป็น
แรงงานเมื่ออายุมากขึ้น สังคมยังมีอคติและภาพเหมารวมด้านอาชีพแบ่งแยกตามเพศที่ไม่เป็นธรรมต่อ
ผู้หญิงอีกด้วย
ด้านความเสมอภาคหญิงชายในมิติการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผลการวิจัยชี้ว่า1ห ผู้
หญิงไทยยังมีบทบาทในเวทีการเมืองน้อยกว่าผู้ชายอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ เนื่องจากอคติของสังคม
ต่อผู้หญิงในการเป็นผู้น า การเปิดโอกาสทางการเมือง การครอบง าเวทีการเมืองของผู้ชาย ปัญหาการ
ขาดตัวแบบที่ดีทางการเมือง
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาความแตกต่างของระดับเจตคติของประชาชนด้านความเสมอ
ภาคหญิงชายในทุกมิติมีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างใกล้ชิดกับตัวแปรด้านประชากร กล่าวคือ ระดับ
การพัฒนาของทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติด้านความเสมอภาคหญิงชายของ
ประชาชนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยได้น าเสนอ 5 มาตรการหลักในการพัฒนาสถานภาพสตรีไทยเพื่อก้าวสู่
สังคมที่มีความสมดุล เที่ยงธรรม ยั่งยืน และตอบสนองต่อมิติหญิงชายในสังคมไทย
abstract:
ABSTRACT
Title Public Attitudes On Gender Equality and Development Of Women’s
Status in Thailand.
Field Social - Psychology
Name Mr. Somsak Assavasirisilp Course NDC Class 57
This study attempts to understand the public attitudes of gender equality in Thai context
from the dimensions of family, social, economic and political participation and also to recommend
measures to improve and develop the Thai women’s status. The study is a quantitative research which
adopts questionnaire as an instrument of the research. Samples are from 5 main regions of Thailand.
The study has applied the Selected Area Random Sampling. The returned questionnaires are 1,058
sets for statistical processing.
The research results on gender equality in family indicate that Thai women are still
bound within domestic sphere and viewed to be responsible for domestic chores more than men with
a statistical significance. At present, women are confronting a double-burdened work but also they
need to manage the domestic work of the family too. On gender equality in social dimension, Thai
women’s status is still socially inferior to men due to social prejudice. Thai women still significantly
face the problem of physical and domestic violence, have significantly lower opportunities to become
social and spiritual leader than men. On economic dimension of gender equality, many Thai women
are facing discrimination against fair employment and fair compensation level. Moreover, Thai
society has a clear delineation of professions according to gender. On political participation
dimension, Thai women are viewed as having minor and insignificant roles in political context due to
social bias and stereotype against women as having lower leadership skills and domination of male
politicians. Thai women still lack a good role model for being a good political leader.
In addition, this study has discovered that public attitudes towards the above 4
dimensions of gender equality in Thai context have positive and significant relationships with the
demographic factors at 0.05. This is to say that the more human resource is highly “developed”, the
better the attitudes of Thai people on gender equality. Based upon the research results, the researcher
has proposed 5 recommendations for policy actions that would bring about gender-balanced, fair,
reasonable and sustainable gender-responsive society.