Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๕ (เหยี่ยว)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
104
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม โดย : นักศึกษาหลักสูตรวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๕ อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก (พชร คุณงาม) กรกฎาคม ๒๕๖๗ ในสภาวการณ์ปัจจุบันภัยคุกคามด้านความมั่นคงมีความแตกต่างจากเดิม และมีความ ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี ทุกประเทศทั่วโลก พัฒนาแนวทางต่าง ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากภัยคุกคามเหล่านั้น ประเทศไทยมีกองทัพไทย เป็นหน่วยงานความมั่นคงหลักในการรับมือกับภัยคุกคามด้านความมั่นคง ร่วมกับภาครัฐและเอกชน การปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทย จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคง ร่วมกันของหน่วยงานในประเทศ ซึ่งหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม ได้ถูกจัดทำขึ้น เมื่อปี ๒๕๕๐ อาจจะไม่รองรับกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา ปัญหาและอุปสรรคของการใช้งานหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม ปี ๒๕๕๐ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม โดยการศึกษา แนวคิดด้านยุทธศาสตร์ทหาร แนวความคิดด้านการบูรณาการ แนวความคิดหลักนิยมด้านการยุทธการร่วม แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องด้านยุทธการร่วม หลักนิยมการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม ปี ๒๕๕๐ JP 3-0, Joint Operations, USA เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยกลุ่มประชากรเป็นผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม ผลการวิจัยพบว่าปัญหาและ อุปสรรค์ของการใช้งานหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม ปี ๒๕๕๐ แบ่งเป็น ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างและระบบ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านกฎหมายและ ระเบียบ และด้านการรับมือภัยคุกคามที่ยังไม่ครอบคลุม เช่น ภัยด้านไซเบอร์ ภัยด้านอวกาศ การวิจัย ครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม โดยควรปรับเพิ่มเนื้อหาให้มีความขัดเจนของโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่ตามภารกิจของหน่วยงานและ ผู้บังคับบัญชารวมถึงฝ่ายเสนาธิการ และเพิ่มมิติการปฏิบัติการทางทหารขึ้น ๒ มิติ ได้แก่ มิติด้านไซเบอร์ (Cyber Dornain) และมิติด้านอวกาศ (Space Domain) เพื่อรองรับภัยคุกคามในสภาวการณ์ปัจจุบัน ต่อไป คำสำคัญ : กองทัพไทย, การปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านยุทธการร่วม

abstract:

ABSTRACT Subject: Manual Development for Joint Operations of Royal Thai Armed Force By : Joint War College Class 65 Research Advisors: Captain (Pachara Khunngarm) July 2024 In the current environment, security threats are different from the past and are becoming increasingly complex due to changes in the environment, society, and technology. All countries around the world are developing various approaches to prevent and mitigate the impact of these threats. Thailand has the Royal Thai Armed Forces as its main security agency to deal with security threats, together with the government and private sectors. Joint Operations of the Royal Thai Armed Forces are therefore an important tool used to jointly address security threats by agencies within the country. The Joint Operations Doctrine of the Royal Thai Armed Forces was drafted in 2016, but it is only a draft for review and has not yet been tested, trained according to the doctrine development process. This research aims to establish the key problems related to the joint Operations of the Royal Thai Armed Forces and to propose a guideline for developing a joint Operations manual for the Royal Thai Armed Forces. The research includes the study of ideas of strategic development at many levels. The results of the study found that there are five main problems of the Joint Operations Doctrine consisted of structure and system, human resources, budget, rules and laws, and the ways to deal with new threats such as cyber and spaces domain. In addition, they also suggested adding two more domain of military operations: the cyber domain and the space domain to cope with threats in the current situation. Keywords: Royal Thai Armed Forces, Joint Operations, Joint Operations Doctrine