เรื่อง: เยาวชนบางขุนเทียนรักษ์ป่าชายเลน
|
หมวดหมู่:
|
งานวิชาการ
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
คณะผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ ๑๒๔ กลุ่มที่ ๔
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2567
|
จำนวนหน้า:
|
81
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง เยาวชนบางขุนเทียนรักษ์ป่าชายเลน
ผู้
วิจัย คณะผู้เข้ารับการอบรม หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ ๑๒๔ กลุ่มที่ ๔
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ยิ่งทวีความรุนแรงและเป็นภัยคุกคามของโลก และมวลมนุษยชาติ เป็นความท้าทายจนถือได้ว่าเป็นวาระแห่งโลกที่ทุกประเทศจะต้องช่วยกันยับยั้งสถานการณ์ โลกเดือด (Global Boiling) ไม่ให้รุนแรงจนไม่สามารถเยียวยาได้ แนวทางหนึ่งที่หลายประเทศต่างเห็นร่วมกัน จนเกิดเป็นเป้าหมายสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG) และ ข้อตกลงร่วมกันในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) ที่ร่วมกันกำหนดทิศทางและกรอบการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของโลก นั่นคือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เพราะป่าชายเลนเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนได ออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศได้มากกว่าป่าบกถึง ๔ เท่า และทับถมตะกอนลงสู่ ชั้นดิน เรียกว่า Blue Carbon และยังช่วยป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่นลมแรง ลดความเสี่ยงจากภัย พิบัติทางธรรมชาติได้
งานวิชาการ เรื่อง เยาวชนบางขุนเทียนรักษ์ป่าชายเลน เริ่มต้นจากการเล็งเห็นความสำคัญของป่า ชายเลน โดยเมื่อพิจารณาพื้นที่ป่าชายเลน ๑.๗๓ ล้านไร่ของประเทศไทย พบว่า เขตบางขุนเทียนของ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย มีพื้นที่ป่าชายเลนที่ควรจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่กลับ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดความตื่นตัวและรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายช่วยกัน แก้ปัญหาดังกล่าวกับภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดสามารถชะลอการกัดเซาะชายฝั่งได้ แต่ป่าชายเลนบาง ขุนเทียนยังเสื่อมโทรมมีความหนาแน่นเพียง ๕๐ เมตรจากดัชนีความสมบูรณ์ที่ ๓๐๐ เมตร และน้ำเน่าเสียจาก ขยะมูลฝอยและขยะทะเลทำให้ป่าชายเลนไม่สามารถเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำได้ส่งผลกระทบต่อการประกอบ อาชีพของชุมชน อีกทั้ง “ขยะ” โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ติดอยู่กับรากของต้นไม้ในป่าชายเลน ทับถมจนเกิดความ เสียหาย รากไม้หายใจไม่ได้ ส่งผลให้ต้นไม้ในป่าชายเลนอ่อนแอและตายในที่สุด เครือข่ายสภาเด็กและเยาวชน เขตบางขุนเทียนมีความตระหนักถึงปัญหาขยะและต้องการส่งต่อแนวคิดให้กับเด็กและเยาวชนบางขุนเทียนด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโครงการการศึกษานี้ร่วมกัน และเกิดเป็นกิจกรรม “ทิ้งง่าย เก็บยาก” ที่จะเป็น ต้นแบบให้กับเด็กและเยาวชนบางขุนเทียนได้เรียนรู้และขยายผลต่อไป โดยการศึกษา เรื่อง เยาวชนบางขุนเทียน รักษ์ป่าชายเลน มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับเยาวชนในการรักษ์ป่าชายเลนบางขุนเทียน และเพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษา และฟื้นฟูป่าชายเลนบางขุนเทียนอย่างยั่งยืน การดำเนินการการศึกษา ครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและใช้เครื่องมือวิจัย คือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) เป็นหลัก นอกจากนี้ ในการดำเนินกิจกรรม “ทิ้งง่าย เก็บยาก” เป็นการปฏิบัติการจิตวิทยา (Psychological Operations: PSYOP) ณ ชุมชนโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน โดยใช้ยุทธศาสตร์ KING ประกอบด้วย ๑) Key Message ๒) Influencing Activity ๓) No Barriers และ ๔) Generations
ผลการศึกษา ๑) เด็กและเยาวชนของชุมชนโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เขตบางขุนเทียน แสดงพฤติกรรมของการตระหนักรู้ในการรักษ์ป่าชายเลน สังเกตได้จากการให้ความสนใจในการร่วมกิจกรรมและ ตอบคำถามได้ถูกต้อง และ ๒) เด็กและเยาวชน รวมถึงคนในชุมชนมีความกระตือรือร้นและมีส่วนในการรักษาป่า ชายเลนให้กลับมามีสภาพที่ดีขึ้น โดยเด็กและเยาวชนแสดงพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการเข้าร่วม กิจกรรมและแข่งขันตามกติกาที่กำหนด มีความเข้าใจและสามารถจัดการกับขยะที่เก็บได้จากป่าชายเลนได้ถูกต้อง ตลอดจนสามารถสร้างรายได้จากการผลิตภัณฑ์จากขยะได้อีกด้วย นอกจากผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ การส่ง ต่อและขยายผลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเมื่อการศึกษาเริ่มต้นจากเครือข่ายสภาเด็กและเยาวชนเขตบางขุน เทียน การดำเนินการกิจกรรม “ทิ้งง่าย เก็บยาก” จึงประสานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาชน มาร่วมกิจกรรมพร้อมกับเด็กและเยาวชนของชุมชนโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เพื่อเป็นเครือข่าย ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีพลังในทุกระดับที่จะขับเคลื่อนและดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน อีกทั้ง การประชาสัมพันธ์ผ่านรายการ “รักเมืองไทย” ของสถานีโทรทัศน์ช่อง TNN2 จะสามารถกระตุ้นให้ผู้สนใจ และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงผลกระทบของพฤติกรรมและการกระทำในการทิ้งขยะได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะเพื่อให้ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ได้แก่ ๑) กองการศึกษาของสำนักงานเขตทั้ง ๕๐ แห่งของกรุงเทพมหานครควรบรรจุกิจกรรม “ทิ้งง่าย เก็บยาก” ที่ใช้ ยุทธศาสตร์ KING เป็นกิจกรรมที่บูรณาการรายวิชาต่าง ๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และลูกเสือ/จิตอาสา เป็นต้น ๒) สำนักงานเขตบางขุนเทียนควรมีการจัดกิจกรรมหรือการ รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลป่าชายเลนให้กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ๓) สำนักงานเขตบางขุนเทียนควรนำแนวคิดของกิจกรรมทิ้งง่าย เก็บยาก และยุทธศาสตร์ KING ไปขยายผลสู่ชุมชน ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้ตระหนักถึงผลของพฤติกรรม “ทิ้งง่าย” ที่ส่งผลต่อป่า ชายเลน และ ๔) สำนักงานเขตบางขุนเทียนควรส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนและต้นโกงกาง ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดรายได้ให้กับชุมชน
abstract:
Abstract
Title Bang Khun Thian Youth and Mangrove Forest Conservation and Restoration
Name Group 4, Class of 124, Institute of Security Psychology
Climate change is getting increasingly severe, posing a threat to the Earth and humanity. It is a challenge that can be regarded as a worldwide agenda, and all countries must contribute to halting the global crisis, known as "Global Boiling, which should not be so serious that it cannot be treated. One approach on which many countries agreed regarding Goal 13 of the Sustainable Development Goals (SDGs), as well as the consensus reached at the Conference of the Parties (COP) to the United Nations Convention on Climate Change, which jointly set the direction and framework for addressing the world's climate change problems, is the conservation and restoration of mangrove forests, which can store four times more carbon dioxide and greenhouse gases from the atmosphere. Reduce the occurrence of natural disasters.
The initiative "Bang Khun Thian Youth and Mangrove Forest Conservation and Restoration" began with an emphasis on the value of mangrove forests. Thailand contains roughly 1.73 million rai of mangrove forest, with a portion of that area located in the Bang Khun Thian district of Bangkok, Thailand's capital. Despite the fact that Bang Khun Thian possesses mangrove forest regions that could assist prevent coastal erosion, the people have been subjected to continual coastal erosion for more than 30 years, hurting their jobs and ways of living. This has raised community awareness and led to the formation of a network to assist in the ongoing resolution of such issues with the government. Eventually, coastal erosion can be slowed down. However, the Bang Khun Thian mangrove forest remains degraded, with a density of only 50 meters compared to the density index of 300 meters, and polluted water from community waste and marine debris prevents the mangrove forest from serving as a nursery for aquatic animals, jeopardizing the community's livelihood. The roots of the tree are unable to breathe in addition to "waste," particularly plastic waste that is stuck to the roots of trees in mangrove forests. The mangrove forest's trees become weaker and eventually die as a result. The Bang Khun Thian District Children and Youth Council Network was aware of the waste issue and wished to share the idea with the local teens as well. As a consequence, it marked the start of the collaborative effort and has evolved into an activity known as "Easy to Throw Away, Difficult to Collect that will serve as a model for the youth in Bang Khun Thian to learn from and improve upon the outcomes. The objectives of this study are two-fold: 1.) To raise awareness among young people about the conservation and restoration of the Bang Khun Thian mangrove forest; and 2.) To engage young people in caring for the mangrove forest, protecting and restoring it in a sustainable manner. This study was carried out using qualitative research methods such as documentary research, semi-structured interviews, and participation observation. Furthermore, the Psychological Operations (PSYOP) activities at Klong Pittayalongkorn School Community in Bang Khun Thian District deployed the KING method, which consists of 1) Key Message, 2) Influencing Activity, 3) No Barriers, and 4) Generations.
The results are: 1.) Youth from the Klong Pittayalongkorn School community in Bang Khun Thian district showed awareness of mangrove forest conservation; and 2.) Youth and community members were enthusiastic about restoring mangrove forests to a better condition. The youth showed a strong desire to participate in activities and compete in accordance with the rules. They understand and can handle garbage collected from mangrove forests properly. They can additionally generate profit from waste products. Moreover, the scalability of the project's results is very significant. The "Easy to Throw Away, Difficult to Collect" activity, with its coordinated network partners from the government, private sector, and public sector, joined the activity with the youth of the Klong Pittayalongkorn School community to form a community network with power at all levels to drive and implement such problems appropriately and sustainably. In addition, publicity through the program "Rak Muang Thai on the TNN2 TV channel. will be able to urge interested people and the general public to be aware of the impact of littering behavior and actions, thereby saving the mangrove forest community throughout the world. More importantly, the recommendations for the study's findings can be an ongoing and sustainable process, as follows: 1.) The Education Division of Bangkok's 50 district offices should include the activity "Easy to Throw Away, Difficult to Collect" using the KING strategy as a learning activity that can integrate various subjects such as Science, Environment, Thai language, Foreign languages, Scouting/Volunteering, and etc. 2.) The Bang Khun Thian District Office should arrange activities or campaigns to teach young people about waste management and encourage participation in mangrove forest conservation on a regular basis. 3.) The Bang Khun Thian District Office should adopt the KING strategy and "Easy to Throw Away, Difficult to Collect" activity as a model for scaling up the impact on the community, entrepreneurs, and tourists to be aware of the consequences of their behaviors; and 4.) The Bang Khun Thian District Office should promote products from mangrove forests and mangrove trees, which are local wisdom, to generate income for the community as a way forward in sustaining conservation.