Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบอุดมศึกษาไทยให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, รศ.นพ. พิทยา จารุพูนผล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ แนวทางการพัฒนาระบบอุดมศึกษาไทยให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนในศตวรรษที่21 รศ.ดร.นพ.พิทยา จารุพูนผล การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนา ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาเป็นอันดับจ านวนต้นๆ ของภูมิภาค แต่ผลสัมฤทธิ์ไม่สอดคล้องกับการลงทุนดังผลการประเมินทั้งภายในและภายนอก การศึกษา ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ลึก ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านวิชาการ วิชาชีพ และด้านบริหารจัดการด้านการศึกษา เพื่อศึกษาทฤษฎีแนวคิด นโยบาย ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนา อุดมศึกษาไทย และเสนอแนวคิดการพัฒนาตามศตวรรษที่21 ผ่านการทบทวนและศึกษา ที่เกี่ยวข้อง พบว่าการศึกษาตามศตวรรษที่21นั้น มุ่งเน้นสหวิทยาการ นวัตกรรม และวิธีการเรียนรู้ เชิงรุก ผ่านเทคโนโลยี มีกระบวนการคิดเป็นระบบเพื่อเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการด ารงชีพ การปรับเปลี่ยนต้องปรับทั้งระบบ โดยมีครูเป็นหัวใจของการพัฒนา ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจน ปัจจัยเรื่องการด ารงชีพและเทคนิคการเรียนการสอน การเรียนในศตวรรษที่21 ให้ความส าคัญต่อความรู้ พื้นฐานด้าน Health , Economics ,Environment , Civil Society ร่วมกับIT Skills ผ่านกระบวนการ คิดอย่างเป็นระบบ เช่นการมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด สร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยปัญญา และการคิด วิเคราะห์ประเมินการพัฒนาสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองในเรื่องเทคโนโลยี ทักษะโลก ทักษะการ วิเคราะห์ ทักษะชีวิต และค่านิยมเอเซีย เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน ในศตวรรษที่21มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติ ผ่านกระบวนการ ท างานเป็นทีม การเป็นผู้น าและผู้ตาม และการลงมือท า ความรับผิดชอบและมีคุณธรรม ทั้งนี้ปัจจัยแห่ง ความส าเร็จคือ ภาวะผู้น า การมีส่วนร่วม การออกแบบนวัตกรรม และการลงทุนด้านการเงินและ ทรัพยากรที่เอื้อต่อการพัฒนา การพัฒนาจากต้นทุนที่หลากหลายผ่านการก าหนดนโยบายที่ชัดเจน มีการ ก าหนดเป้าหมายตามความพร้อมในแต่ละส่วน เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การปรับค่านิยมเรื่องใบปริญญามาเป็นทักษะที่ท าได้จริง พร้อมด ารงอยู่กับพลวัตสังคมโลก มีการรณรงค์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน มั่นคง และมั่งคั่ง

abstract:

Abstract Direction to Develop the Higher Education System Align with 21st Century Learning Skills Assoc .Prof. Dr. Phitaya Charupoonphol Education is important for development . Thailand invested a huge budget for education but the evaluation result was not reflected the efforts. This study is designed as qualitative in-depth interview among key informants with high professional skills, high academic backgrounds and high experiences in administrations. Documentary reviewed on theory, concept, policy, pros and cons factors in development of higher education system in Thailand and propose the result of the study to align the concept of 21st century skills. The 21st century skills focused on interdisciplinary, innovation, transformative learning, via technology support. Problem based learning is encouraged for essential skills of living in particular. The teacher is a change agent, so qualified and enough numbers should be realized. Basic knowledges should cover Health, Economics, Environment, Civil Society, and IT Skills via systematic thinking, innovative wisdom and critical evaluation. The parents and community people should be informed the concept of 21st century skills which included the topics IT technology, global skills, analytical and evaluation skills, and Asian value . Problem based solving via teamwork, leader and team's member, learning by doing and high responsibility with morality's attitude. The key success factors were revealed which included leadership, participation, Innovation design, and resource. To deploy the 21st century learning skills need fit and firm policy at national level. Tailor along with the context of particular areas problem and capital is encouraged. Calling local authorities and private sectors to support the mobilization of change in education is preferred. Emphasizing, the positive attitude on skills base more than diploma base is campaigned for sustainable, security and prosperity changes respectively.