Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: วารสารวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2564

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
หน่วยงานเจ้าของ:
สำนักการศึกษาทหาร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
144
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทบรรณาธิการ สวัสดีทุกท่าน สืบเนื่องจากปกหน้าด้านใน “5 ตุลาคม วันนวัตกรรมไทย” คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2549 ให้ดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม โดยการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ประโยชน์ ทางการเกษตรได้ ด้วยกรรมวิธี “แกล้งดิน” ดังนี้ 1. เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” 2. ให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” แนวพระราชดำรินี้ เนื่องมาจากเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และ ทรงได้มีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ “โครงการแกล้งดิน” ที่ไม่มีใครทำมาก่อน และ ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ “คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร” สำหรับ ที่จะใช้พัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ต่อไป (ข้อมูลจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://dev1. colorpack.net/most/main/th/knowledge/sciencehits/150-open-innovation/2385-national-innovation-day สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2564) จะเห็นว่า นวัตกรรมมีความสำคัญทั้งต่อการพัฒนาองค์กร ท้องถิ่น และประเทศ ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการให้บริการ ด้านการจัดการ หรือด้านการตลาด โดยการที่องค์กรจะสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง จะต้องเกิดขึ้นจากการมีนวัตกรรม องค์กรที่สามารถนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้ ย่อมทำให้องค์กรนั้นมีความพร้อมและสามารถที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้ จากแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมดังกล่าว ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้นำมาประยุกต์เป็นเจตนารมณ์ ที่มุ่งให้กองทัพไทยมีนวัตกรรมที่ทันสมัย และมีการพัฒนากำลังพลให้มีคุณลักษณะของการเป็นนวัตกร โดยมอบให้สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถกำลังพลกองทัพไทยในการ สร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาทางทหาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้กำลังพลของกองทัพไทยทุกระดับ รวมถึงนักเรียนทหาร ได้พัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกทักษะในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งสถาบันวิชาการป้องกันประเทศก็ได้มีการตอบสนองนโยบาย โดยจัดโครงการพัฒนาขีดความสามารถ กำลังพลกองทัพไทยในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาทางทหาร เมื่อช่วงกันยายน-ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดขอเชิญทุกท่านอ่านได้ในบทความพิเศษ รวมทั้งชมวีดิทัศน์ในการจัด กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการพัฒนาขีดความสามารถกำลังพลกองทัพไทยฯ โดยการสแกน QR Code ท้ายบทความ ในวารสารฉบับนี้ ยังมีบทความวิชาการและบทความวิจัย ที่น่าสนใจอีกมากมาย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ด้านความมั่นคงแบบองค์รวมในหลายสาขา ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และการศึกษา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงาน และสิ่งแวดล้อม การทหารและการป้องกันประเทศ ทางกองบรรณาธิการฯ หวังว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับความรู้ไปใช้ประโยชน์เป็นอย่างดี และหากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่จะช่วย พัฒนาวารสารฯ กองบรรณาธิการฯ พร้อมรับและจะยินดีอย่างยิ่ง บรรณาธิการ วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ---------------------------บทความพิเศษ การดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถกำลังพลกองทัพไทย ในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาทางทหาร กองวิทยาการ สำนักการศึกษาทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ บทความวิชาการ • วิกฤต COVID-19 กับความมั่นคงของอาเซียน ธำรงชัย หนุนภักดี และ นิตยา งานไว การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยสู่ยุคเมตาเวิร์ส อานนท์ ทับเที่ยง Edtech เทรนด์การศึกษายุคใหม่: การนำมาใช้ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ท่ามกลางปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล สิริมาส จันทน์แดง บทความวิจัย • การพัฒนาแผนปฏิบัติการกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของกรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ชาญชัย ประมูลเฉโก และ วคิณ ชูประยูร • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของนักบินและช่างอากาศยานในศูนย์การบินทหารบก สุทธิเกียรติ คอทอง และ ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษา กรมพลาธิการทหารบก ทัตยา ดวงจรัส และ พัฒน์ พิสิษฐเกษม • การพัฒนาอุปกรณ์ใช้ในห้องปฏิบัติการโรงเรียนนายเรือเพื่อติดตามการตกอิสระของวัตถุควบคุม ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์และสมาร์ทโฟน วีระ บุญผุด และ ประเสริฐ แป้นหยูรัตน์ • ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์ คำแนะนำในการเตรียมบทความ ภาพกิจกรรมสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ .

abstract:

-