Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: วารสารวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2564

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
หน่วยงานเจ้าของ:
สำนักการศึกษาทหาร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
132
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทบรรณาธิการ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งถือเป็น ภัยคุกคามต่อทุกคนบนโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม อันทำให้ต้องมีการปิดเมือง เพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของโรคฯ การปิดสนามบิน จนทำให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต้องลดพนักงาน เลิกจ้าง หรือปิดตัวเองลง การระบาดในวงกว้างของ COVID-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็นถึง ความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ มากขึ้น ภาครัฐ และภาคธุรกิจ ต่างก็ตระหนัก ถึงการต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและปรับตัว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในเชิงรุก รวมถึงลดความเสี่ยง ในการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ในอนาคตให้มากขึ้น จากสถานการณ์นี้มีคนจำนวนมากที่ได้รับ ผลกระทบ โดยคนไทยในทุกภาคส่วนต่างก็ได้มาช่วยเหลือกัน ในส่วนของทหารนั้น ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการดำเนินการช่วยเหลือดังกล่าว เช่น ศูนย์ประสานงานต้านภัย COVID-19 การเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว สำหรับการช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้สถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ของประเทศ คลี่คลายเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกันปฏิบัติตนตาม มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดฯ โดยเคร่งครัด ในส่วนของบทความในวารสารฯ ฉบับนี้ มีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย ทั้งบทความพิเศษ บทความ วิชาการ และบทความวิจัย โดยวารสารฯ ได้นำเสนอบทความพิเศษ 2 เรื่อง เกี่ยวกับกระบวนการคิด STAR STEMS เพื่อปฏิวัติ Mindset ของคนไทยให้สร้างกระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดที่เหมาะสม กับสังคมไทยในยุค New Normal และบทความพิเศษด้านการทหารที่กล่าวถึงความเป็นทหารอาชีพ ของกองทัพไทย ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ว่า ทหารเป็นอาชีพที่สำคัญและมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากอาชีพอื่น เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ดำรงรักษา เอกราช อธิปไตย อิสระ เสรีภาพ ของประเทศชาติและประชาชน ที่ถือเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันเป็นรัฐชาติของคนในสังคม นอกจากนั้น วารสารฯ ฉบับนี้ ยังได้นำเสนอบทความด้านการศึกษา ที่กล่าวถึงการนำนวัตกรรมด้านการศึกษาไปใช้ การนำวัฏจักร การเรียนรู้และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการเรียนการสอนต่าง ๆ บทความด้านเทคโนโลยี ที่กล่าวถึง สงครามไซเบอร์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวางยุทธศาสตร์สงครามในยุคที่ 5 และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: Al) ที่สามารถช่วยส่งเสริมกิจการของกองทัพไทยเพื่อรองรับสงคราม ในอนาคตได้ และบทความด้านสังคม ซึ่งได้กล่าวถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย และการจัดการเชิงสุขภาวะในเรือนจำระหว่างผู้ต้องขังกะเทยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมด มีประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ หากท่านผู้อ่านมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ประการใด ที่จะช่วยพัฒนาปรับปรุงวารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบรรณาธิการวารสาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ พร้อมรับและจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง บรรณาธิการ วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ---------------------------บทความพิเศษ • STAR STEMS ปฏิวัติ Mindset ใหม่ นำไทยข้ามวิกฤต พหล สง่าเนตร ความเป็นทหารอาชีพของกองทัพไทย วิชัย ชูเชิด บทความวิชาการ สงครามยุคที่ 5: การก่อการร้ายไซเบอร์ พิศาล อมรรัตนานุภาพ • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: Al) กับจุดเปลี่ยนของสงครามในอนาคต ธำรงชัย หนุนภักดี และ ศิวลีย์ สิริโรจน์บริรักษ์ นวัตกรรมทางการศึกษาและการนำไปใช้งาน พิมพ์กาญจน์ วสุวงศ์ • เรือนจำสุขภาวะมิติใหม่ราชทัณฑ์ไทยต่อความมั่นคงของสังคม: ปฏิสัมพันธ์ของการจัดการ เชิงสุขภาวะของผู้ต้องขัง “กะเทย” และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ใจเอื้อ ซีรานนท์ บทความวิจัย • รูปแบบการจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ณญาดา เผือกขำ อุษณากร ทาวะรมย์ และ กิจฐเซต ไกรวาส ความต้องการจำเป็นในการใช้ดิจิทัลของนักเรียนเตรียมทหาร ศิริรัตน์ บุญเขียว และ วัลลภา เฉลิมวงศาเวช การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน เตรียมทหาร ชั้นปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) และรูปแบบ SSCS โชติ จันทร์วัง การคาดการณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ โรงเรียนนายเรือ ด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบจากการประยุกต์ใช้หลักการของแบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคุณ ศศิธร คงอุดมทรัพย์ และ พงศิษฎ์ ทวิชพงศ์ธร คำาแนะนำาในการเตรียมบทความ ภาพกิจกรรมสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

abstract:

-