เรื่อง: การพัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย พรพจน์ เพ็ญพาส
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2557
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่องการพัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตของกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายพรพจน์ เพ็ญพาส หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๗
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตของกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการข้อมูลข่าวสารในภาวะวิกฤตแนวทางการสื่อสาร
ข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤต และพัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตของหน่วยงานให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในระดับบริหาร ๔ คน และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ๔ คน
การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)จากค าสั่งและชิ้นงานข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
โดยยึดแนวคิดเกี่ยวกับหลักการสื่อสาร ลักษณะของภาวะวิกฤต การสื่อสารในภาวะวิกฤต หลักการจัดการข้อมูล
ข่าวสารในภาวะวิกฤต เป็นกรอบในการวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ซึ่งมีผลการวิจัย ดังนี้ ๑.การจัดการข้อมูล
ข่าวสารเพื่อการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีการจัดตั้ง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน ภายใต้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ท าหน้าที่
ในการก าหนดประเด็นเนื้อหาและเผยแพร่ข้อมูลภัยพิบัติผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ๒.การสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติ
ในภาวะวิกฤตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หน่วยงานไม่มีแผนการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤต
ประเด็นการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติ แยกเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย ประเด็นสารที่เป็นข้อมูลข่าวสาร (Public
Information) และประเด็นสารที่เป็นการเสริมสร้างความรู้(Public Education) โดยด าเนินการสื่อสารข้อมูลภัย
พิบัติผ่านช่องทางสื่อมวลชน พร้อมบูรณาการการใช้ช่องทางสื่ออื่นๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของการสื่อสาร
ข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤต ส าหรับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตของกรมป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย ผู้วิจัยได้เสนอแนะดังนี้ การจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะ
วิกฤต เสนอให้มีการพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลภัยพิบัติเพื่อการสื่อสารในภาวะวิกฤตให้เป็นระบบมากขึ้น
การประเมินความเสี่ยงเพื่อจัดเตรียมข้อมูลภัยพิบัติในการสื่อสารให้สอดคล้องกับทิศทางการน าเสนอข่าวของ
สื่อมวลชน และความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารภัยพิบัติของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติ
ในภาวะวิกฤต เสนอให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม (Joint Information Center : JIC) การจัดท าแผนการสื่อสาร
ข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤต การก าหนดประเด็นการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติในภาวะวิกฤตให้สอดคล้องกับ
ห้วงระยะเวลาการเกิดภัย ทิศทางการน าเสนอข่าวของสื่อมวลชน และความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของ
สาธารณชน การเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติเชิงกลยุทธ์ พร้อมจัดให้มีโฆษกสื่อสารข้อมูลภัยพิบัติ
ในภาวะวิกฤต ภายใต้การน าแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงและการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารเชิงกลยุทธ์
(Issue Management) มาใช้เป็นเครื่องมือส าคัญในการบริหารจัดการภาวะวิกฤต ซึ่งให้ความส าคัญกับ
การน าเสนอและเผยแพร่ข้อมูลภัยพิบัติที่ครอบคลุมในทุกประเด็น
abstract:
Abstract
Research Title: Development of Guideline for Disaster-Related Crisis Communication for
Department of Prevention and Mitigation (DDPM)
Subject Title: Social Psychology
Researcher: Mr.Pornpoth Penpas, Thailand National Defense Course, Class 57
The objective of this qualitative research is to study the management of
information during crises and how the communication during disaster-related crises has been
undertaken. This study aims to help develop the guideline for a more effective disaster-related
crisis communication. In this research, 8 government officials - 4 at executive level and 4
operational level- were interviewed. The researcher also used documentary analysis method in
this study. Documents studied by the researcher include directives and various types of public
relations documents. The analysis and conclusion of this research are based on
communication principle, characteristics of crisis, crisis communication and the crisis
information management principle. The findings can be summarized as follows: (1) When a
crisis happens, the public relation unit will be setup under the National Disaster Prevention
and Mitigation Command Center. This public relation unit is responsible for identifying
prioritized issues and dissemination of information to the public; (2) It is found that DDPM
has no contingency plan for disaster-related crisis communication. In terms of disaster-related
crisis communication, it is found that there there are 2 types of information namely public
information and public education. Channels for communication include public media and
other channels that would enhance the effectiveness of crisis communication. To improve the
effectiveness of disaster-related crisis communication it is suggested that DDPM should: (1)
develop disaster information database and link up with the database with disaster-related
crisis management; (2) conduct pre-crisis risk assessment in order to provide the information
as required by the media and the target group. Regarding disaster-related crissis
communication, it is suggested that DDPM: (1) establish Joint Information Center (JIC); (2)
formulate a plan for disaster-related crisis communication; (3) identify the issues for
communication that must be in right timing, not conflicting with the public media report
direction and must meet the demand of information of the public; (4) select a strategic
chennels for communication; and (5) appoint a spokeperson for crisis communication. It is
important that the principle for risk management and issue management should be used as a
main tool for disaster-related crisis communication to ensure that presentation and
information dissemination cover all critical issues.
-----------------------------